Saturday, September 13, 2008

หมาก็เป็น ผู้ว่า กทม. ได้!

แม้วาการเมืองระดับประเทศจะเดือด แต่กทม.ก็กำลังจะมีการเลือกตั้งผู้ว่า
วันก่อนก็เพิ่งรับสมัครกันไป
เพิ่งได้ฟังรายการ ชูพิชญ์ทีวี เรื่องนี้ไปคิดว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจ
เลยถอดเทปสรุปมาให้อ่านกัน มีความคิดเห็นกันอย่างไรก็ว่ากันมาได้:-)

ถอดเทปสรุปจากรายการ บ้านเมืองไม่ใช่ของเรา ครั้งที่ 33

หมาก็เป็นผู้ว่า กทม. ได้!

ชูพิชญ์ คิดตามวัน

ประเด็นของ กทม. เป็นเรื่องที่ควรรับรู้ การรับสมัครและการบริหาร กทม. กทม. เป็นองค์กรทางการเมืองที่ขาดการรับผิด คือ ขาดสิ่งที่เรียกว่า accountability สูงมาก โดย หนี่งคือโครงสร้างกฏหมายของ กทม.มันกว้างมาก จะให้กทม.ทำงานก็ได้ไม่ทำก็ได้ ตามพระราชบัญญัติฉบับล่าสุด 2542 ในมาตรา 89 มีอำนาจถึง 27 อย่าง ตั้งแต่บำรุงสถานที่ต่างๆ การศึกษา วัด สุสาน ความปลอดภัย การกีฬา และอื่นๆ ทำมันซะทุกอย่าง ในหลักวิชาแล้ว ความรับผิดชอบ (responsibility) กับ ความรับผิด (accountability) ต่างกัน ทำครบคือรับผิดชอบ แต่ไม่ได้หมายความว่าทำได้ดี เช่น ข้อที่ว่าทำความสะอาด ถ้ามีคนกวาดถนนแค่สี่คน ก็ถือว่าทำแล้ว แต่ไม่มีการบอกว่าทำแล้วก็ได้ ไม่มีการควบคุม แม้ว่าจะมี สภากทม. ที่คนไม่สนใจ จะมีแค่สองสามอย่างที่ กทม. ต้องรับผิดชอบ ถ้ามีปัญหาคือ น้ำท่วม กับ ขยะ สองเรื่องถ้าทำไม่ถูกใจต้องโดนด่าแน่ แต่เรื่องอื่น อย่างโรงเรียน หรือ ทางหลวง รถติด จะไม่โดนด่า ถ้าโดนจะเป็นทางอ้อมมากกว่า

อันนี้เป็นวัฒนธรรม ที่เกิดจากโครงสร้างทางการเมือง

เรามีนโยบายประเทศที่ให้โตเดี่ยว เลี้ยงลูกคนโต หวังว่าลูกคนโตที่เป็นเมืองหลวงนี้จะเลี้ยงเมืองอื่นได้ แต่แทนที่จะเลี้ยงน้องคนอื่นกลับมีปัญหามากขึ้น ต้องอัดฉีดเงินมากขึ้น ปัญหากทม.มีตั้งแต่ 2500 แต่เริ่มมีผู้ว่า 2528 หมาจึงเป็นผู้ว่าได้ เพราะทำหน้าที่แค่สองอย่างหลักๆคือขยะกับน้ำท่วม เวลาหาเสียงก็ทำแค่สองอย่างก็พอ แล้วก็มาขายฝัน ไม่สนใจเรื่องอื่น ซึ่งไม่เป็นปัญหาของคนจริงๆ ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณประภัส ลง ก็มาแค่เอาใจประชาชน โดยการให้มีรถไฟฟ้าถึงทุกที่เป็นตัวขาย ไม่ใช่ขายเรื่องอื่น ไม่สนใจการอยู่ร่วมกันของชุมชน คนจน คนรวยอยู่ด้วยกันยังไง การอยู่ร่วมกันของชุมชน เช่น ชุมชนแออัด 1700 แห่ง ก็เป็นเรื่องของรัฐบาลไป

อีกอย่าง การแก้ปัญหาจราจร ไม่ใช่การซื้อเฟอร์นิเจอร์เข้าเมือง อย่างรถไฟฟ้า รถไฟใต้ดิน แต่เขาแก้ปัญหาด้วยการปรับความสัมพันธ์ทางอำนาจของคน เช่น รถเมลล์ด่วน เป็นการจัดพื้นที่ในเมือง เป็นการบอกว่า คนจนต้องไปก่อน คนจนที่ขึ้นรถเมลล์ ต้องได้หนี่งเลน เท่าเทียมคนชั้นกลางและรวยที่มีรถ นี่คือปัญหาที่เราไม่คุยกัน เราไปคิดว่า เราต้องไปซื้อของเล่นอย่างรถไฟฟ้า มันเป็นการจัดการความสัมพันธ์ทางอำนาจ การมีรถไฟฟ้าไม่ใช่การแก้ปัญหาจราจร มันเป็นการเพิ่มราคาที่ดินในเมือง ไม่ให้ราคาที่ดินตกลง ที่กำลังเสื่อม ก่อนมีรถไฟฟ้า ห้างโตนอกเมือง แต่พอมีรถไฟฟ้า ห้างเต็มในเมืองเหมือนเดิม ตัวอย่างชัดเจนคือ รถไฟฟ้าในแคลิฟอร์เนีย ที่ห้างช่วยกันลงขันสร้างให้คนเข้ามา แต่ก็ไม่ใช่หมายความว่าไม่ดี แต่ไม่ได้แก้ปัญหาของคนจนที่ไม่มีเงิน ไม่มีปัญญาซื้อที่ดินติดถนนได้ ต่อไปจะมีการไล่รื้อที่คนจนเรื่อยๆ ตัวอย่างอย่างเช่น แถวพระขโนงถึงอุดมสุข ที่ตึกแถวสามชั้นเป็นยี่สิบชั้น ไล่คนจน ไม่ได้แก้ปัญหาเมือง แต่เพิ่มคนขึ้นเรื่อยๆ รถก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ประเด็นคือว่า ปัญหาของ กทม. คืออะไร คนในกทม. กินชีวิตกัน เช่นเรื่องแอร์ บ้านผมไม่ติดแอร์ บ้านอื่นเปิด เราก็ร้อนเพราะเขา กทม. เราไม่มีการจัดพื้นที่ความร้อน ผมก็ได้รับผลกระทบ แล้วมาพูดว่าจะเลิกโลกร้อน ทำเมืองสีเขียว เมืองอัจฉริยะ

ต้องเริ่มที่การตั้งหลักว่า ยอมรับว่าใครอยู่ในกทม. บ้าง มีความสัมพันธ์กันอย่างไร ทำให้ความต้องการของคนกลุ่มหนึ่งเป็นของคนอีกกลุ่มหนึ่ง โดยเฉพาะคนจนในเมือง ไม่มีใครพูดถึงเรื่องนี้ ทั้งที่เป็นคนจำนวนมาก ปกปิดปัญหาด้วยการขายฝันไปวันๆ

ในเมืองนอก การบริหารเมืองจะเป็นหลายๆแบบ บางเมืองที่มีการจัดการที่ดี มีสภาท้องถิ่น บางเมือง ผู้ว่า ก็เป็นตลกได้ แต่ สภา กทม. กระจุก หรือ ในบางเมือง ผู้ว่า เป็นอัยการเก่า ก็มาเพื่อแก้ปัญหาอาชญากรรม อย่างแบทแมน มาแก้ปัญหาได้ชัดเจน ไม่ได้มาขายฝัน อาจมีโครงการขายฝันบ้าง เพื่อ ส่งเสริมการท่องเที่ยว ส่วนเรื่องการจัดการขนส่งมวลชน เขามีหน่วยงานคุมเองของเมือง โดยที่ประชาชนในเมืองมีส่วนร่วมเสมอ ในละตินอเมริกาเขาไปไกลถึง Participatory budgeting ที่สภาไม่ได้จัดนโยบาย เขาแบ่งพื้นที่ย่อยให้คิดงบประมาณเอง ตามแยกตามโครงการหลักอย่าง การศึกษา หรือ สาธารณสุข ไม่ได้คิดจากบนลงล่าง ประชาชน เลือกคนมาเป็นสภาย่อยจัดการปัญหาให้เขา

ปัญหาใหญ่คือ ใครอยู่ในเมืองบ้าง ใครมีอำนาจในเมือง มีอย่างไร ถ้าไม่ถาม จะมีการปล่อยให้มีการขายฝัน ความฝันคนชั้นกลางจะบดบังความจริง ปัญหา ที่ว่าคนกินกัน เอาเปรียบกัน

ผมจึงบอกว่า หมาก็เป็นได้ เพราะ ไม่ต้องรับผิดอะไร คือทำตาม 27 ข้อ ก็รอดแล้ว แต่ไม่ได้ถามว่า โปร่งใส และทำพอไหม ไม่มีใครสนใจเรื่องจริงแบบนี้ การที่นักการเมืองมาลง กทม. ด้วยความเคารพ เพราะ เป็นการโปรโมทที่ถูกมาก ขายของดี ก็ได้ออนสปอตออกทีวี เป็นฐานเสียงตัวเอง

ปัญหากทม. ไม่ได้แก้ไขได้ด้วยการออกนโยบาย หรือ เฟอร์นิเจอร์ ไม่ใช่การคุยว่าคุณมีนโยบายอะไร แต่ต้องถามว่าได้มายังไง ด้วยความคิดแบบไหน จะออกมาจากไหน ไม่ใช่มาขายแพ็กเกจ ขายฝันแบบนี้ กทม.ไม่ใช่สินค้าของใครคนหนึ่ง

http://www.prachatai.com/tv/chupitchtv/?ep=33