Wednesday, March 17, 2010

Et tu Brute เจ้าก็เอากับเขาด้วยหรือ บรูตัส

เดือนมีนาคม ภาษาอังกฤษเรียกว่า March ตามชื่อเทพแห่งสงครามดาวอังคาร จึงคาดว่าเดือนนี้จะมีเหตุการณ์นองเลือดเกิดขึ้น
ในประวัติศาสตร์ที่ค้นไปได้ เหตุการณ์นองเลือดแห่งเดือนมีนาคมที่โด่งดังที่สุคครั้งหนึ่งก็คงเป็นเหตุการณ์ที่ จูเลีัยส ซีซ่าร์ ถูกลอบสังหารโดยคณะรัฐประหารที่มีลูกบุญธรรมของเขา บรูตัส ร่วมอยู่ในนั้นด้วย เลยเป็นที่มาของวลีประวัติศาสตร์ "Et tu Brute เจ้าก็เอากับเขาด้วยหรือ บรูตัส" หลังจากนั้นบรูตัสก็ได้ขึ้นสู่อำนาจแต่อยู่ได้ไม่นานก็โดนลอบสังหารเช่นกัน และเป็นจุดเริ่มการนองเลือดและการเสื่อมถอยของอาณาจักรโรมันตั้งแต่หลังรัฐประหารครั้งนั้นเป็นต้นมา
ตั้งแต่นั้นคติความเชื่อเรื่องนี้ (The Ides of March) ก็หลอกหลอนผู้ศึกษาประวัติศาสตร์โลกหัวฝรั่งตลอดมา ในประเทศไทยคตินี้ก็เหมือนจะใช้ได้เพราะเลือดได้หลั่งชโลมแผ่นดิน เปรีัยบดั่งสัญญาณนำทางไปสู่ความรุนแรง แต่เคราะห์ดีที่ในเดือนมีนาคมนี้ยังไม่มีคนเสียชีวิตเพราะเป็นเพียงพิธีกรรมหลั่งเืลือดบูชายัญทางการเมืองเพื่อเป็นสัญลักษณ์เท่านั้น

ทั้งหมดนั่นเป็นเรื่องไกลตัวแต่อยู่ในประเทศ พอมาเป็นเรื่องของตัวเองที่อยู่นอกประเทศเข้าหน่อย ก็เหมือนจะกระอักเลือดขึ้นมาได้

เดือนนี้แม้จะไม่มีเหตุการณ์นองเลือดของตัวเอง แต่ก็เป็นเดือนที่หนักหนา ถ้าจะหาไพ่ยิปซีเป็นตัวเเทนคงเลือกไพ่ Death ให้แก่ตัวเองได้ไม่ยากนัก ตามตำราเขาว่าใครที่ได้ไพ่ใบนี้จะมีเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงที่สำคัญและเด็ดขาด สำหรับเราที่เจอแล้ว death คาที่แน่ๆก็เช่น งานวิจัยที่ทำมาเป็นปี ผลสุดท้ายก็ตีพิมพ์ไม่ได้เพราะมีคู่แข่งแย่งตีพิมพ์ไปก่อน หนำซ้ำยังมาพบข้อผิดพลาดในข้อมูลที่ทำมาเป็นปีจนข้อมูลนั้นอาจจะไร้ค่าไปในทันใด แต่นั่นก็ยังไม่เท่าไหร่ หรือว่าต้องเดินสายไปสอบสัมภาษณ์มาราธอนที่โคตรทรหด ก็พลาดไปเกือบหมดเช่นกัน แต่เรื่องนี่ก็ไม่เท่าไหร่ แม้จะยังมีที่คาใจนิดๆที่ำำตำแหน่งที่น่าจะได้กลับไม่ได้แต่ที่ไม่น่าได้กลับได้มากกว่า

แต่นั่นก็ไม่น่าเศร้าใจกว่าการที่เห็นคนที่เคารพรักอย่างหัวหน้าที่ทำงานหนักแต่เช้ายันดึก ทิ้งเพื่อนฝูง ทิ้งครอบครัวมาทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยกลับต้องพลาดโอกาสในชีวิตเพราะงานนี้ถูกตีพิมพ์แย่งไปก่อน แม้เขาไม่บอกและยังใจถึง พูดให้ฟังว่า เพราะเราทำมาถูกทาง ก็เลยมีคนทำผลได้เหมือนๆกันแค่เราช้าไปหน่อยแค่นั้น แต่สายตาและน้ำเสียงนั่นบ่งบอกถึงความเหนื่อยใจอย่างบอกไม่ถูก ชีวิตนักวิจัยที่นี่แข่งขันกันสูงมาก พลาดไปนิดเดียว โอกาสก้าวหน้าในวิชาชีพอย่างที่ใฝ่ฝันก็ผ่านเลยไปในทันใด

เขาว่าชีวิตนักวิจัยจริงๆเริ่มต้นเมื่อจบ ป เอก อย่างเรานี่เป็นแค่ผู้ฝึกวิจัยยังไม่สิ้นกลิ่นน้ำนม หัวหน้าเราเมื่อจบ ป เอก ก็ทำ post-doc แล้วก็มาเป็น Group leader ต่อไปที่พัฒนาเป็นได้ มีหนึ่งคือ เป็นโปรเฟสเซอร์ ซึ่งเป็นทางที่ดีที่สุด สองคือ ไปทำงานในบริษัทเอกชน ซึ่งได้เงินดีกว่า แต่ไม่ท้าทาย และสาม อาจเรียกได้ว่าเป็นวิถีของผู้แพ้บนเส้นทางสายนี้ คือต้องเลิกงานด้านนี้ไปทำอย่างอื่น เช่น ครูมัธยม คนประสานงาน(เบ๊ดีๆนั่นเอง) หรือ แม้แต่เป็น เจ้าหน้าที่คุมเครื่อง อนาคตของหัีวหน้าเรา ถ้าไม่มีงานตีพิมพ์ก็คงมาทางนี้ นับว่าเสียดายความรู้ความสามารถของเขามาก เพราะเขาทั้งสอนเก่ง ถามก็อะไรก็รู้ไปหมดเหมือนอับดุล เอ้ย! ตามาหรือยัง:-)

ไม่รู้สิ เรื่องของตัวเองแม้จะปวดหัวแล้ว (โดยเฉพาะเรื่องที่เรียนต่อ) ก็ยังโอเค แต่เรื่องแย่ๆของคนที่เราเคารพรัก นี่แหละที่ทำให้เราเศร้าใจจริงๆ บางทีนี่อาจเป็นจุดเริ่มต้นของชีวิตใหม่ที่อาจจะดีกว่าของเขาก็ได้กระมัง เห็นชีวิตหัวหน้าแบบนี้ นักวิจัยคงไม่เหมาะกับ life style ที่เราต้องการ ชีวิตต้องออกแบบได้ ใช่ไหม:-)

เก็บเรื่องไม่พึงปรารถนาไว้ก่อน หวังว่าจะกลับบ้านมาพักกายพักใจ คุึณปู่เจ้าของบ้านที่คุ้นเคยกันก็เข้ามาบอกว่า
"เพราะมีคนรู้จักของปู่เขาอยากได้ห้อง ขอให้คุณหลานย้ายออกไปก่อนฤดูร้อนปีนี้!"

โอ้! Et tu Brute! บรูตัส! เจ้าก็เอากะเขาด้วยหรือนี่!

HAHAHA