Saturday, February 26, 2011

Synchronicity หรือ เหตุผลเบื้องหลังความบังเอิญ

เรียบเรียงจาก "Schöpfungsakte in der Zeit: Synchronizität oder Der Sinn hinter dem Zufall" จาก วารสาร Zeitgeist 3/2001 โดย Dr. rer. biol. hum. Theodor and Angela Seifert และ วิกิพีเดีย

เหตุการณ์เช่นนี้น่าจะเกิดกับทุกคน คุณต้องการจะโทรศัพท์หาใครสักคนหนึ่ง แต่สายไม่ว่าง หลังจากนั้นคุณก็ได้ค้นพบที่หลังว่า เขาก็กำลังโทรมาหาคุณเหมือนกัน โดยที่เขาไม่ใช่คนที่คุณจะเจออยู่ทุกวัน แต่เป็นคนที่ไม่ได้เจอกันนานแสนนาน สิ่งเหล่านี้มันเกิดขึ้นได้อย่างไร หลังจากที่ได้พูดคุยกับเพื่อนที่จากกันแสนนาน คุณก็คงจะสงสัียความบังเอิญนี้ คุณอาจจะคิดว่าสิ่งนี้มีความหมายว่าอะไร คงไม่ใช่ความบังเอิญล้วนๆแน่นอน มันยังมีเหตุการณ์แบบนี้อีกมากมายที่ทำให้เราบางครั้งทำให้เราประหลาดใจ บางครั้งทำให้เราอมยิ้ม สะกิดความดีใจให้เราเบิกบาน แต่บางครั้งก็ทำให้เราถึงกับสั่่นไหว แล้วมันมาจากไหน มันฝากข้อความหรือหมายความว่าอย่างไร เเล้วใครที่จัดฉากแบบนี้ให้ ทุกคนได้เจอแบบนี้กันหรือเปล่า หรือแค่คนแปลกๆบางคนเท่านั้น

นายแพทย์และจิตวิทยา ชาวสวิส คาร์ล ยุง (Carl Jung, 1875-1961) เป็นคนแรกที่พยายามอธิบายปรากฏการณ์นี้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ เขาเชื่อว่านอกเหนือจากกฏแห่งเหตุและผลที่พิสูจน์ให้ประจักษ์ได้และแน่นอน (causal events) มันยังมีกฏอื่นที่เป็นความเชื่อมโยงที่กฏแห่งเหตุและผลทั่้วไป แต่เป็นเรื่องที่สามัญสำนึกบอกว่ามันเกี่ยวข้องกัน ห่วงโซ่แห่งเหตุการณ์นี้ ยุง เรียกมันว่า Synchronicity ที่พอแปลเป็นไทยได้ว่า เหตุการณ์ที่มีความพ้องกันของเวลาการเกิด (temporally coincident occurrences of acausal events) ซึ่งกว่าที่ ยุงจะตีพิมพ์งานชิ้นนี้ก็ใช้เวลานานมาก (คิดค้นประมาณ 1920 ตีพิมพ์ครั้งแรก 1952) เพราะว่ามันเป็นเรื่องที่ขัดกับเหตุแลผลของวงการวิทยาศาสตร์ที่เชื่อมันในสิ่งที่เห็นประจักษ์ได้เด่นชัดแน่นอน



แผนภาพอธิบายเหตุการณ์ในธรรมชาิติที่รวมซิงโครนิซิตี้ไ้ว้ด้วยกับเหตุการณ์ทั่วไปและปรากฏการณ์ทางควอนตัมฟิสิกส์ โดย คาร์ล ยุง และ โวล์ฟกัง เพาลี พลังงาานที่ถูกทำลายไม่ได้นี้เเทนพลังงานทั้งหมดที่เหลือจากในกระบวนการทางกายภาพ รวมถึงพลังงานที่เปลี่ยนจากวัตถุมาด้วย ซึ่งพลังงานนี้จะเผยตัววิวัฒน์บนกาลและอากาศ เป็นตัวที่สร้างซิงโครนิซิตี้ ที่เพิ่มช่วยอธิบายเหตุผลของการเกิดแต่ละเหตุการณ์ว่านอกจากการเกิดแบบเหตุผลทั่วไปอย่างประจักษ์ได้ (causal events)ยังมีเหตุผลของเหตุการณ์ที่เป็นแบบ acausal events (ซิงโครนิซิตี้) ด้วย


ยุงรู้ถึงข้อจำกัดนี้ดีจึงรอให้เพื่อนร่วมงานของเขา Marie-Louise von Franz ตีพิมพ์หนังสือ Psyche und Materie (จิตและวัตถุ) ที่มีเนื้อหาสอดคล้องกันก่อน เพื่อจะได้พิสูจน์ทฤษฏีของเขาในหลายๆรูปแบบ ซึ่งหลังจากนั้น โวล์ฟกัง เพาลี นักควอนตัมฟิสิกส์ก็ได้ยืนยันว่าซินโครนิซิตี้นี้เกิดได้ในระดับอะตอมเช่นกัน (non-local process from Bell) และอธิบายว่าในระดับล่างสุดที่ไม่มีอนุภาคคงอยู่ มีความเป็นไปได้ของรูปแบบ (form) ที่สามารถทำให้เกิดความเป็นไปได้นี้ มันเหมือนกับการถ่ายทอดสัญญาณความคิด (นามธรรม) แบบเรียลไทม์โดยไม่ต้องถ่ายทอดสัญญาณทางกายภาพ (รูปธรรม) ไปด้วย

และด้วยเหตุนี้ เราจึงมั่นใจว่าเหตุการณ์นี้มีจริง มิใช่แค่เพ้อไป แต่เรายังไม่สามารถอธิบายมันได้ เมื่อเราพยายามจะอธิบายมันด้วยเหตุผลทางนามธรรมและความรู้สึก มันก็ชวนเราตั้งคำถามถึงเหตุผลของความบังเอิญนี้ ยุงและนักจิตวิทยาบำบัดคนอื่นๆพบจากการตรวจผู้ป่วยทางจิตว่า พวกเขาป่วยเมื่อเขาไม่สามารถหาเหตุผลในการมีชีวิตอยู่ได้ และเมื่อพวกเขาหาความหมายได้ ชีวิตเขาก็กลับมาเป็นปกติ ยุงจึงสรุปต่อไปว่า นอกจากซิงโครนิซิตี้มีจริงเกิดขึ้นได้ตามเหตุและผลแล้วแต่ละครั้งที่เกิดยังมีความหมายที่สำคัญอีกด้วย บทสรุปนี้ทำให้หลายคนปวดหัวจนถึงวันนี้ คุณสมบัิติแบบนี้ก็เกิดขึ้นกับวิทยาศาสตร์สาขาอื่นเช่นกัน อย่าง โรเจอร์ เพนโรสที่ค้นพบ รูปทรงเรขาคณิตใหม่ๆ หรือ อัลเิบิร์ต ไอน์สไตน์ที่คิดทฤษฎีฟิสิกส์อันโด่งดัง พวกเขาต่างบอกว่าพวกเขาไม่ได้ป็นผู้ค้นพบแต่ทฤษฎีเหล่านั้นแ่ต่เป็นทฤษฎีหรือสมการเหล่านั้นผู้เลือกให้พวกเขาเปิดเผยมันออกมา

ความหมายของซิงโครนิซิตี้แต่ละครั้งก็เช่นกัน ที่มีขึ้นก่อนแล้วแต่อยู่ห่างไกลออกไป ทันใดก็ผุดบังเกิดให้ความหมายกับชีวิตให้เราเคลื่อนต่อไป ในแต่ละคร้งที่เกิด มันจะให้ความหมายใหม่ๆกับชีวิตและมักจะให้สิ่งที่จำเป็นสำหรับเราที่สุดในวินาทีนั้น เป็นสิ่งที่เป็นของส่วนตัว เห็นได้ด้วยตัวเอง ไม่สามารถที่จะทำซ้ำกับคนอื่นได้ หรือกล่างอีกอย่าง ซิงโครนิซิตี้นำความสำคัญ ศักดิ์ศรี ของปัจเจกกลับมา ปลดปล่อยตัวเองออกจากกับดักของความเฉยชาที่เห็นตัวเองไร้ค่า ให้ความสดใหม่กับชีวิต มันเปิดพื้นที่แห่งเสรีภาพโดยการปลดเปลื้องพันธนาการของห่วงโซ่แห่งเหตุผลที่ประจักษ์ได้และความรู้สึกผิดที่ติดมาจากโลกอันน่าเบื่อออกไป

ตัวอย่างที่คลาสสิคจากรายงานผลการวินิจฉัยผู้ป่วยของยุง คือ สารจากแมงทับศักดิ์สิทธิ์ (scarabaeus) ยุงเขียนไว้ว่า “ในช่วงเวลาสำคัญของการรักษาผู้ป่วยหญิงสาวคนหนึ่ง เธอได้ฝันว่าได้แมงทับศักดิ์สิทธิ์สีทองเป็นของขวัญ ระหว่างที่เธอเล่าเรื่องนี้ ผมก็นั่งหันหลังให้หน้าต่างที่ปิดสนิท ทันใดนั้นผมก็ได้ยินเสียงเหมือนมีอะไรมาเคาะที่หน้าต่าง ผมหันหลังไปดูก็พบแมลงตัวหนึ่งกำลังบินชนหน้าต่างอยู่... มันเป็นดั่งภาพเหมือนอุปมา (analogy) ของแมงทับศักดิ์สิทธิ์นั้น ที่ต้องการสื่อสารกับเรา” ประสบการณ์นี้ไม่เพียงแต่เป็นประสบการณ์อันน่าตื่นตาของยุง แต่ยังเป็นความก้าวหน้าอันยิ่งยวดในการรักษาผู้ป่วยหญิงคนนี้ เธอมีอาการดีขึ้นและสามารถออกจากการดูแลพิเศษมาสู่การรักษาแบบปกติได้ การเชื่อมโยงภายในและภายนอกคือ กระบวนการหลักของซินโครนิซิตี้

่ยุงยังได้เสนอต่อไปว่า ซิงโครนิซิตี้เป็นหลักฐานสำคัญของแนวคิดของเขาเรื่อง ต้นแบบโบราณ (archetype) และ จิตไร้สำนึกร่วม (collective unconscious) ที่พยายามอธิบายทุกอย่าง โดยเฉพาะการเชื่อมโยงวิทยาศาสตร์สมัยใหม่กับคำสอนทางศาสนาทุกศาสนา เพราะซิงโครนิซิตี้สามารถอธิบายหลักการที่ควบคุมอยู่เบื้องหลังประสบการณ์ของมนุษย์ทั้งหมด รวมถึง ประวัติศาสตร์ สังคม อารมณ์ จิตวิทยาและจิตวิญญาณ ยุงเชื่อว่าเหตุการณ์บังเอิญต่างๆที่คิดตามเหตุผลทัึ่วไป (causual events) เป็นเหตุการณ์ที่เเสดงถึงกฏที่ควบคุมอยู่เบื้องหลังได้ ที่เขากับเพาลี เีรียกว่า "Unus mundus" ระเบียบระดับลึกที่นำไปสู่การหยั่งรู้ตนเอง เป็นเหมือนกับการตื่นทางจิตวิญญาณ (ปิ๊งเเว่บ หรือที่ เฮสเสเรียกว่า เสียงเรียกจากภายใน)

ยุงถือว่านี่เป็นการสร้างสรรค์ในเวลาชั่วขณะ (act of creation in the time) ที่มีส่วนร่วมในการวิวัฒนาการทางจิตใจของแต่ละบุคคล ซึ่งเทียบได้กับแนวคิด "ปัจจุบันอันเป็นนิรันดร์" ของมาสเตอร์ เอ็กฮาร์ดท์ (Master Eckehart) หรือ "ธรรมะจัดสรร" ในพุทธศาสนา ซึ่งกระบวนการนี้ของซิงโครนิซิตี้ยังสามารถอธิบายได้โดยทฤษฎี morphogenetic field (สนามสัณฐาณก่อรูป) และ morphic resonance (การสั่นพ้องก่อรูป) ของ รูเพิร์ต เชลล์เดรก ได้ว่า เมื่อเกิดการสั่นพ้องของอย่างน้อยสองสิ่งขึ้นมา จะเกิดการก่อรูปขึ้นมาใหม่จะทำให้เกิดพลังงานที่มีผลข้ามพื้นที่และเวลา ส่งผลให้เกิดสนามใหม่ได้ที่เป็นการสร้างสรรค์และเหมาะสมกับสิ่งนั้นมากขึ้น

โดยสรุป ซิงโครนิซิตี้ เหมือนคำเตือนให้เรากลับมาหาเหตุผลของการมีชีวิตอยู่ เป็นภูมิคุ้มกันความจำเจในความรู้สึกที่มนุษย์พัฒนาได้มากับวิวัฒนาการ เพื่อป้องกันอาการป่วยทางจิตวิญญาณ และที่สำคัญยังเป็นสัญลักษณ์สำคัญในการพัฒนาตัวเองไปสู่การหยั่งรู้ทางจิตวิญญาณที่เสมือนร่องรอยบอกทางในชีวิตได้







ล้อมกรอบ 1 อะไรคือซิงโครนิซิตี้

ซิงโครนิซิตี้ (Synchronicity) เป็นประสบการณ์ของเหตุการณ์ตั้งแต่สองเหตุการณ์ขึ้นไปที่เกิดขึ้นอย่างไม่เกี่ยวพันกันตามเหตุผลทั่วไป หรือ ไม่น่าจะเกิดขึ้นด้วยกันอย่างบังเอิญ ที่ถูกมองว่าการเกิดด้วยกันนั้นมีความหมาย แนวคิดนี้เริ่มต้นโดย คาร์ล ยุง (1875-1961) ช่วงปี 1920 (สมัยรัชกาลที่ 6) แนวคิดนี้ไม่ได้ตั้งคำถามหรือแข่งกับแนวคิดเรื่องเหตุผลทั่วไป แต่เพียงแต่จัดกลุ่มเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามความหมายของมัน เพราะความหมายเป็นระบบความคิดที่ซับซ้อนที่เกิดจากจิตสำนึกและจิตใต้สำนึก ดังนั้นไม่จำเป็นที่ทุกความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นของเหตุการณ์จะสามารถให้คำอธิบายได้ด้วยเหตุผลทั่วไป

ยุงได้แบ่งซิงโครนิซิตี้เป็นสามแบบ
1. เหตุการณ์ภายนอกที่ตรงกับประสบการณ์ภายใน
2. ฝันหรือนิมิตที่ตรงกับเหตุการณ์ภายนอก
3. ภาพภายในที่บอกอนาคต (เดจาวู)

ต่อมายุงก็พยายามขยายขอบเขตของซินโครนิซิตี้ไปสู่โหราศาสตร์และปรจิตวิทยา (parapsychology) อย่างไรก็ตาม ยุงไม่เคยสามารถแสดงสถิติที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับซิงโครนิซิตี้ได้เลย


ล้อมกรอบ 2 ซิงโครนิซิตี้ในสังคม

ซิงโครนิซิตี้นำพาเราไปสู่ประสบการณ์แปลกใหม่ที่มีคุณค่าทางจิตวิญญาณ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเอง แต่ที่ๆเราพบซิงโครนิซิตี้ได้บ่อยและคุ้นเคยที่สุดคงเป็นในภาพยนตร์ ที่เป็นศิลปะการรวมเหตุการณ์ ภาพ ดนตรี ต่างๆ สั่นพ้องพร้อมกันทำให้เกิดประสบการณ์ซิงโครนิซิตี้เสมือนจริงไ้ด้ จนถึงขนาดบางคนบอกว่า ภาพยนตร์ทำให้ชีวิตของคนเปลี่ยนไป บางทีนี่เป็นสาเหตุที่ธุรกิจภาพยนตร์เจริญรุ่งเรืองเพราะสนองความต้องการทางจิตวิญญาณของคนได้ นอกจากนี้ซิงโครนิซิตี้ยังถูกอ้างอิงในภาพยนตร์โดยตรงหลายเรื่องเช่น The eagle has landed (1976), Repo man (1984)

อนึ่งซิงโครนิซิตี้อาจถูกเร้าให้เกิดได้ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดโปร่งเช่น จากการสุนทรียสนทนา ที่เป็นวงเล่าเร้าพลัง ที่เปิดโอกาสให้ทุกความเป็นไปได้เพราะความคิดทั้งหมดในวงรวมทั้งจิตใต้สำนึกสามารถไหลเวียนระหว่างวงและผู้สนทนาในวงอย่างมีพลวัตร