Saturday, February 20, 2016

ไอน์สไตน์ผิดได้ไหม?

ขณะที่ งานวิจัยของ LIGO ที่ค้นพบคลื่นความโน้มถ่วงเป็นที่สนใจทั่วโลกเพราะสามารถพิสูจน์ทฤษฎีของไอน์สไตน์ได้ว่า ไอน์สไตน์นั้นคิดถูก

ก็มีบทความที่น่าสนใจ บอกว่า ทฤษฎีนี้ของไอน์สไตน์ผิดได้ไหม

ที่มา
http://www.npr.org/sections/13.7/2016/02/16/466109612/was-einstein-wrong?utm_source=twitter.com&utm_medium=social&utm_campaign=movies&utm_term=artsculture&utm_content=20160216


บทความเล่าถึง ดีเบต ของ ไอน์สไตน์ กับ เหล่านักปรัชญา ที่ปารีส

อองรี แบร์กซอง นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส บอกว่า ทฤษฎีเวลาของไอน์สไตน์เป็นแค่ ศึกษาว่า นาฬฺิกาทำงานแบบไหน เป็นแค่การวัด ไม่ใช่นิยามของเวลา

"เวลา" อันที่จริง มันมีความหมายมากกว่านั้น มันเกี่ยวกับประสบการณ์ เกี่ยวกับสภาพจิตรับรู้ ซึ่งไปไกลกว่า ฟิสิกส์ เป็นการตีความที่เรียกมันว่า เมตาฟิสิกส์

แบร์กซอง บอกว่า เขาไม่มีปัญหากับคณิตศาสตร์หรือหลักทางฟิสิกส์เลย แต่ถ้าเอาทฤษฎีของไอน์สไตน์มาตีความทางเมตาฟิสิกส์ เรียกง่ายๆว่า ถ้าทฤษฎีไอน์สไตน์ถูกมันจะแปลว่าอะไรได้บ้าง

เขาบอกว่า ถ้าทฤษฎีไอน์สไตน์ถูก เวลาในอดีต เวลาในปัจจุบัน เวลาในอนาคต จะเป็นเนื้อเดียวกันหมด ทุกอย่างถูกกำหนดมาหมดแล้ว "chrono-geo-determinism"

ถ้าบรรยายให้เห็นภาพคือ ในอดีตที่ไดโนเสาร์กำลังสูญพันธุ์ อาณาจักรโรมันกำลังรุ่งเรือง ฮิตเลอร์กำลังฆ่าล้างชาวยิว และ วินาทีที่อ่านบทความ รวมถึงเวลา ในอนาคต ที่คนๆนึงอาจกินกาเเฟนั้น เกิดขึ้นพร้อมกัน บนแกนเวลา ที่ทุกอย่างถูกกำหนดไว้แล้ว นี่คือคำอธิบายทางเมตาฟิสิกส์ที่อยู่เบื้องหลังทฤษฎีนี้ของไอน์สไตน์

แบร์กซอง บอกว่า ถ้าตีความแบบนี้ มันผิดแน่นอน ดังนั้น ทฤษฎีของไอน์สไตน์ ก็อาจจะผิดไปด้วย หรือ ต้องเปลี่ยนการตีความใหม่ ไอน์สไตน์สวนกลับว่า ไม่มีหรอก เวลาในความหมายของปรัชญาแบบนั้น
ถ้าคิดตามแบร์กซอง ทฤษฎีของไอน์สไตน์ก็อาจจะมีทั้งส่วนถูกและผิด ส่วนถูกคือ สมการ แต่ส่วนที่ผิดคือ เมตาฟิสิกส์ ที่เป็นพื้นฐานของโมเดล ซึ่งจะมีผลต่อการตีความทฤษฎีนั้นออกมา

บทความก็ยก แนวคิดของ นักฟิสิกส์ ชื่อ David Mermin บอกว่า สมการทางคณิตศาสตร์ สามารถบอกความจริงสำคัญได้ แต่ไม่ใช่ความจริงของทุกอย่าง

ในบทความเขาไม่ได้บอกอธิบายต่อว่า เวลาในนิยามของ แบร์กซอง คืออะไร บอกแค่ว่า ให้ไปดู หัวข้อชื่อ "elan vital" ที่แบร์กซองเชื่อว่ามันเป็นตัวผลักดันชีวิต และ วิวัฒนาการให้ดำเนินไป นอกจากนี้ยังแนะนำ หัวข้อทางปรัชญา phenomenology ที่ศึกษาเรื่องนี้พอดี หัวใจหลักของปรัชญานี้คือ

การคิดทฤษฎี หรือ การตรวจสอบมันมาหลังจาก ประสบการณ์ "being" หรือ "to be" ที่ นักวิทยาศาสตร์ไม่สามารถให้คำตอบได้
"scientific theorizing and investigation must come after the raw fact of our embodied experience"

ดังนั้น การที่จะคิดว่า วิทยาศาสตร์ให้คำตอบทุกอย่างนั้น น่าจะเร็วเกินไป และอาจจะผิดได้ (-แต่ตรงนี้ อาจจะเป็น ควอนตัมฟิสิกส์ ที่ ไอน์สไตน์เกลียดมาก อาจจะตอบได้- ผมเสริมเอง)

ลองอ่านดูครับ สนุกดี
ปล บทความนี้เขียนโดยศาสตราจารย์ด้านฟิสิกส์ Adam Frank จาก มหาวิทยาลัย Rochester