Sunday, May 29, 2016

อะไรความเป็นเยอรมัน โดย MARTIN WALSER

เรียบเรียงจาก
http://www.bild.de/politik/inland/grundgesetz/was-ist-deutsch-45913964.bild.html

วันที่ 23 พฤษภาคม 2016 เป็นวันครบรอบ 67 ปี รัฐธรรมนูญเยอรมัน ที่ใช้มาตั้งแต่ หลังสงคราม 1949 หนังสือพิมพ์บิลด์ลงบทความวิจารณ์ว่า อะไรคือ ความเป็นเยอรมัน โดยสรุปผู้เขียน บอกว่า ความเป็นเยอรมัน คือ การเรียนรู้จากประวัติศาสตร์ของประเทศ และ ก็จดจำบทเรียน
ประโยคแรกของรัฐธรรมนูญ „Die Würde des Menschen ist unantastbar.“ ที่แปลว่า ศักดิ์ศรีของมนุษย์เป็นสิ่งที่ละเมิดไม่ได้ เป็นการสรุปบทเรียนของเยอรมนี จนถึง ณ ตอนนี้ ให้อยู่ในรัฐธรรมนูญ
ในอนาคตผู้เขียนเสนอว่า ให้คงความเป็นเยอรมัน คือ "การเรียนรู้" ต่อไป และเสริมว่า ให้คิดอย่างในบริบทของทั้งยุโรป ที่มีความเป็นมนุษย์ มีเหตุผลอย่างธรรมชาติ และ มีความจริงจากความงาม
ข้อมูลเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ 1949
รัฐธรรมนูญเป็นสิ่งที่คุ้มครองความเป็นนิติรัฐ โดยจะทำให้ ประเทศเยอรมนี คงความเป็น ประชาธิปไตย ความเป็นรัฐสวัสดิการ ไว้ด้วย ในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีข้อตกลงตลอดกาลที่ห้ามเปลี่ยนแปลงคือ
1 ต้องปกป้องสิทธิมนุษยชน
2 อำนาจของรัฐต้องผ่านทางกฎหมาย
3 รูปแบบรัฐต้องเป็น สาธารณรัฐ เป็นประชาธิปไตย และเป็นรัฐสวัสดิการ
4 มีการแบ่งอำนาจออกเป็นสามส่วนคือ รัฐบาล รัฐสภา และ ศาล
5 สิทธิพื้นฐานสำหรับ ประชาชนทุกคนเช่น เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เสรีภาพในความเชื่อ (นับถือศาสนา)
รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ได้รับการประกาศใช้ เมือ 23 พฤษภาคม 1949 คอนราด อะเดเนา นายกรัฐมนตรีขณะนั้นเป็นคนเซ็นต์รับรอง รัฐธรรมนูญนี้ถูกร่างโดยคณะกรรมการของรัฐสภา ซึ่งประกอบด้วย ประธานของรัฐทั้ง 11 รัฐของเยอรมนี และ สมาชิกรัฐสภา โดยเป็นการร่างภายใต้คำสั่งของพันธมิตรตะวันตก คือ อังกฤษ ฝรั่งเศส และ สหรัฐอเมริกา
จวบจน ปี 1990 รัฐธรรมนูญนี้ มีผลใช้เฉพาะกับ เยอรมันตะวันตก หลังรวมประเทศ เยอรมันตะวันออกจึงใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ด้วย
ศัพท์จากข่าว
Würde แปลว่า ศักดิ์ศรี
Menschen แปลว่า มนุษย์
unantastbar แปลว่า ละเมิดมิได้

http://www.gesetze-im-internet.de/gg/index.html เว็บของรัฐธรรมนูญเยอรมัน

Thursday, May 12, 2016

หลักการการเมืองระหว่างประเทศอย่างย่อ

ที่มา https://www.facebook.com/supalak.ganjanakhundee/posts/484967511697852

จากโพสต์ของคุณ supalak.ganjanakhundee น่าสนใจมากในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

จบปริญญาตรีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศใน 5 นาที
ศาสตราจารย์ สตีเฟ่น เอ็ม มอลต์ ซึ่งเป็นผู้เอกอุทางด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของฮาร์วาร์ด เขียนบทความชื่อนี้ในเวปไซต์ Foreign Policy ว่าหัวใจของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนั้นมีแค่ 5 ข้อ ได้แก่

Anarchy ภาษาไทยคืออนาธิปัตย์ การเมืองระหว่างประเทศนั้นต่างจากการเมืองภายในตรงที่ว่าโลกนี้ยังไม่มีสิ่งที่เราเรียกกันว่า "อำนาจศูนย์กลาง" (central authority) องค์การสหประชาชาติก็ยังไม่ใช่ ยังทำหน้าที่นี้ไม่ได้ รัฐแต่ละรัฐจึงต้องหาทางปกป้องตัวเอง ในแง่นี้รัฐใหญ่มีกำลังเยอะก็ได้เปรียบ

Balance of power ดุลยภาพแห่งอำนาจ อันนี้เป็นผลมาจากข้อแรกคือเมื่อไม่มีใครจะมาปกป้องคุ้มครอง รัฐแต่ละรัฐก็แสวงหาเพื่อนมิตรและพันธมิตร การวิ่งเต้นสร้างสมดุลนี่เองที่เป็นแก่นสารของการเมืองระหว่างประเทศทุกวันนี้ เพราะถ้าเสียสมดุลเมื่อไหร่มันจะอันตรายมาก

Comparative Advantage ตำราเศรษฐศาสตร์ของไทยแปลว่า ความได้เปรียบในเชิงเปรียบเทียบ อันนี้เป็นแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์หมายความว่าเราสามารถทำในสิ่งที่คนอื่นทำไม่ได้ ตัวอย่างสิงคโปร์ไม่คิดจะปลูกข้าวแข่งกับไทย เพราะเขาไม่มีพื้นที่เพียงพอ ไม่มีแรงงานมาก ไม่มีทักษะ ไม่มีชาวนา (เพราะไม่มีใครอยากจนดักดาน ฮา) แต่เนื่องจากรัฐสมัยใหม่ชอบก๊อบปี้กัน เลยทำอะไรได้เหมือนๆกัน ปัจจุบันเลยมามุ่งแสวงหา competitiveness คือความสามารถในการแข่งขันซึ่งก็ไม่ค่อยได้ผลหรอกเพราะว่าเดี๋ยวสักพักคนอื่นก็ทำได้เหมือนกัน เช่นเมื่อก่อนมีคนมาลงทุนในประเทศไทยเยอะเพราะค่าแรงถูก ตอนหลังเวียดนามถูกกว่า จีนถูกกว่า พม่าลดภาษีเยอะกว่า นักลงทุนแห่ไปโน่นหมด แต่ตรงกันข้ามถ้าประเทศไทยมีอะไรที่ประเทศอื่นไม่มีถือเป็นการได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบและนั่นมันยั่งยืนกว่ากัน

Misperception & Miscalculation คือเข้าใจผิดและประเมินผิต เรื่องจริงคือว่าผู้นำของโลกนั้นโง่เหมือนกันหมด บางทีพวกเขาพาประเทศเข้าสู่สงครามเพราะทึกทักเอาว่าอีกฝ่ายจะโจมตี หรือ ประเมินภัยคุกคามผิดพลาด มอลต์บอกว่า การเมืองระหว่างประเทศ (ก็เหมือนกับการเมืองภายใน) ถูกขับดันด้วย ความกลัว ความโลภและความโง่ สองอย่างแรกนั้นพอเข้าใจได้มันเป็นธรรมชาติมนุษย์แต่อย่างที่สามซึ่งก็สำคัญพอกันมันจะเกิดขึ้นได้อย่างไรเพราะผู้นำต้องฉลาดถึงจะขึ้นสู่อำนาจได้หรือต่อให้โง่ก็ควรจะแวดล้อมด้วยคนฉลาด มีความรู้ มีการข่าวทีดี ไม่มีทางเลยที่ผู้นำจะโง่ได้ แต่ผู้นำอาจจะทำอะไรโง่ๆได้เสมอเพราะพวกเขามักขี้ขลาด คิดถึงแต่ความก้าวหน้าของตัวเองและที่สำคัญไม่สามารถใช้เหตุผลได้อย่างสมบูรณ์ (perfect rationality) เรื่องพวกนี้อาจจะจำยาก ศาสตราจารย์มอลต์แนะนำว่า "จงจำไว้เสมอว่า ปกติแล้วคนที่อยู่ในอำนาจไม่ค่อยรู้ตัวว่ากำลังทำอะไรอยู่"

Social Construction การสร้างสรรค์สังคม เรื่องนี้ก็เป็นธรรมชาติมนุษย์ในฐานะสัตว์สังคม คือเราจะคิดสร้างและสร้างใหม่อยู่เสมอๆ การปฏิวัติ ปฏิรูป การเปลี่ยนแปลงรูปแบบของความสัมพันธ์ระหว่างรัฐเกิดขึ้นเสมอๆทุกเมื่อเชื่อวัน ผู้นำแต่ละประเทศวิ่งวุ่นพบปะกันที่โน่นที่นี่ ไม่ใช่แค่เพื่อ 4 อย่างแรก แต่ก็มีอย่างสุดท้ายคือ พวกเขาอาจจะทำลายระเบียบเขาแต่ก็คิดสร้างระเบียบใหม่ๆอยู่เสมอๆด้วยเช่นกัน

นึกถึงประเทศไทยและการต่างประเทศของไทยในตอนนี้ประกอบไปด้วยจะช่วยให้เข้าใจการเมืองระหว่างประเทศได้ถ่องแท้มากขึ้น แต่ทว่า 5 นาทีคงไม่จบหรอก แค่อ่านบทความนี้ก็ 15 นาทีเข้าไปแล้ว กว่าจะทำความเข้าใจและเขียนออกมาได้นี่ก็ร่วมชั่วโมงแล้ว (บังเอิญว่าอังกฤษไม่แตกฉานและตัวอย่างที่ยกก็ไม่ได้มีในบทความหรอกนะ เตือนไว้ก่อน) แต่ก็ถือว่าเป็นความคิดรวบยอดที่ดี