Friday, January 13, 2017

อวัยวะครบ 32 คือ อวัยวะทางการทำสมาธิ ไม่ใช่ จำนวนอวัยวะจริง

อาการ ๓๒ เป็นหลักการในการเจริญกายคตาสติ พิจารณาอวัยวะต่างๆ เท่าที่จำเป็นแก่การใช้ในการเจริญกรรมฐาน ไม่ได้บอกว่าทั้งหมดของอวัยวะมนุษย์มีแค่๓๒ อย่าง ไม่ว่าศาสนาพุทธจะเป็นวิทยาศาสตร์หรือไม่(ซึ่งที่จริงก็ไม่ได้เป็นแบบนั้น) ศาสนาพุทธก็บอกแค่สิ่งที่จำเป็นต่อการปฏิบัติธรรมในเรื่องนั้นๆ
ที่จริงมิตรสหายท่านนั้นเองต่างหากที่มาหงุดหงิดห่าอะไรกับเรื่องไม่เข้าเรื่อง หลักการเขาก็บอกอยู่ว่า พิจารณาอาการ / อวัยวะ ๓๒ เพื่อการเจริญกรรมฐาน ไม่ได้พูดถึงอนาโตมี่มนุษย์เมื่อไหร่
อย่างเวลาบุดด้าพูดถึง "กายอันประกอบด้วยกระดูก๓๐๐ ท่อน" ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องมีแค่๓๐๐ ท่อนจริงๆ เพียงแต่พูดถึงเพื่อให้คนพิจารณา เรื่องมันก็มีเท่านี้เอง
อวัยวะที่พิจารณาเป็นอาการ ๓๒ ประกอบด้วย ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ตับ ม้าม ปอด หัวใจ ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ อาหารใหม่ (ของที่เพิ่งกินเข้าไป) อาหารเก่า (อุจจาระ) มันเหลว มันข้น มันสมอง ดี เสลด น้ำเหลือง เลือด เหงื่อ น้ำตา น้ำมูก ไขข้อ มูตร มิตรสหายท่านหนึ่ง 4 January at 18:28 ·
"เพิ่งจะรู้ว่าที่พูดๆกันว่า "อวัยวะครบ 32" จริงๆ แล้วไม่ใช่หลักการแพทย์ แต่เป็นหลักพุทธศาสนา
WTF! นี่กรูไปโง่มุดหัวอยู่ไหนมา ทำไมโดนหลอกอีกแล้ว โอ๊ย โมโห
เรื่องมีอยู่ว่า ทางการแพทย์เพิ่งจัดให้ mesentery เป็นอวัยวะชิ้นใหม่ของร่างกายมนุษย์ ทำหน้าที่ยึดลำไส้กับผนังช่องท้อง
เราก็เลยคุยกับน้องว่ามานับกันดีกว่าว่าอวัยวะ 32 อย่างที่มีอยู่เดิมอะมีอะไรบ้าง ----
นับไปไล่มามันเกิน 32 ว่ะ เอาแค่ตรง "คอ" เราจะนับว่าคอคือ 1 อวัยวะ หรือจะนับของในนั้นด้วย ซึ่งมีมากกว่า 1 แน่นอน ทั้งหลอดอาหาร หลอดลม เส้นเสียง กล่องเสียง คอหอย ลูกกระเดือก ทอนซิล ฯลฯ
จริงๆ คิดอยู่แล้วว่าของในร่างกายต้องเกิน 32 แน่ๆ แต่ก็คิดว่าการแพทย์คงมีการจัดกลุ่มแล้วนับได้ 32 มั้ง
งั้นเสิร์ชเน็ตเลยละกัน "อวัยวะ 32/ 32 human organs/ body parts"
...อ่าว แปลกๆ ทำไมมันรวมเอาเหงื่อ ฉี่ น้ำเมือก อะไรด้วยวะ
สักพักเห็นคำว่า "การทำสมาธิ" หืมมม
สรุปคือไอ่ 32 ที่ว่าเนี่ย คือการที่ร่างกายเกิดมาแล้วสามารถทำ function ได้ 32 อย่าง ซึ่งร่างกายของคนทั่วไปที่ไม่พิการสามารถทำได้ เช่น มองเห็น ได้กลิ่น คิด ไปจนถึง เหงื่อออก ฉี่ ตด อึ -----
32 ไม่ใช่จำนวนของอวัยวะ แต่เป็นอาการของร่างกาย ที่ศาสนาพุทธบอกให้คนพิจารณาเวลาทำสมาธิ แล้วจะได้ปลง ----
แสสสสสส ไม่ควรเอามาทำให้คนสับสนป่าววะ พูดไม่แยกแยะ อะไรศาสนาอะไรวิทยาศาสตร์
แท้จริงแล้วอวัยวะมนุษย์มี "ประมาณ" 78 อย่าง (จากเว็บ humanorgans.org) แบ่งเป็น 12 ระบบ โดยมีอวัยวะสำคัญอย่างมาก 5 อย่างคือ หัวใจ สมอง ตับ ปอด ไต (แต่ถ้ารวม mesentery เข้าไปด้วยก็คง 79 แล้วมั้ง)
โอย โหลด Gray's Anatomy มาอ่านด่วน" ปล บางคนจะไม่เรียกว่า อวัยวะ 32 แต่เรียกเป็น อาการ 32 ตลอด

บทวิเคราะห์ สื่อ กรณี สรยุทธ กลับมา เล่นบทสื่อในเฟซบุค

ที่มา
http://www.aec10news.com/%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9/%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88/item/5420-%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98-%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A2%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A2

โดย คุณ จุมพฎ สายหยุด

สรยุทธ สื่อเก่าไม่เคยตาย
การรีเทิร์น ของ คุณสรยุทธ สุทัศนะจินดา บนโซเชียลมีเดีย คือ จุดจบของแพลตฟอร์มสื่อเก่า ในรูปแบบของรายการเล่าข่าว คุยข่าว ใส่สีตีข่าว แล้วแต่จะเรียก ฯลฯ บนหน้าจอทีวี ที่ คุณสรยุทธ นั่นเองที่เป็นผู้ร่วมบุกเบิกขึ้นมา เมื่อราวๆ สิบปีก่อน

ข่าวล้มหายตายจากของสื่อเก่าขายดีเป็นพิเศษในช่วงปี 2559 ที่ผ่านมาแต่การมุ่งอยากเสพและเสนอ " จุดจบ " แบบสำเร็จรูปมากเกินไปทำให้เรามองข้ามจุดแข็งและโอกาสที่ยังคงดำรงอยู่ในสื่อเก่า
คนจาก " สื่อเก่า "  คือหนึ่งในจุดแข็งนั้น
สื่อเก่า คือ มรดกและบุญเก่าแห่ง Content คุณภาพและความคิดสร้างสรรค์
สื่อสิ่งพิมพ์เป็นวิชาชีพที่ลงหลักปักฐานในสังคมไทยมากว่าร้อยปี พอๆ กับกิจการธนาคาร เช่นเดียวกับกิจการและโทรทัศน์อนาล็อคที่ออนแอร์กันมาเกินห้าสิบปี จนเกิดการส่งต่อความรู้ ความเชี่ยวชาญ ในวิชาชีพมาอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะกระท่อนกระแท่น ไม่ราบรื่น เท่าใดนัก แต่ก็ถือว่าผ่านร้อนผ่านหนาวมาอย่างโชกโชน
ใครที่อยู่ในวงการสื่อไม่ว่าจะเป็นสิ่งพิมพ์โทรทัศน์หรือวงการโฆษณาย้อนหลังกลับไปเกิน 40 ปีคงจะพอจำได้ว่า "ยุคทอง" ของสื่อเกิดขึ้นในช่วงทศวรรษ 1980 และสิ้นสุดราวๆ ปี 1997 วงการโทรทัศน์เกิดการปฎิวัติวงการข่าวสารในช่วงกลางทศวรรษ 1980 โฆษณาที่มากด้วยคุณภาพการผลิตและความคิดสร้างสรรค์ ก็เกิดขึ้นในช่วงนั้น กิจการสื่อสิ่งพิมพ์โดยเฉพาะสื่อธุรกิจหลักๆ และนิตยสารรุ่นใหม่ ก็เกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน 
สิ่งสำคัญที่รองรับการขยายตัวด้านคุณภาพ และความคิดสร้างสรรค์ของสื่อคือ อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอัตรา 2  หลักในยุคนายกชาติชาย และบรรยากาศประชาธิปไตยที่ส่งเสริมการแสดงออกด้านความคิดเห็นในทุกมิติ ทั้งทางตรงและทางอ้อม
รวมถึงความสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในตลาดหลักทรัพย์ นอกเหนือจากการพึ่งพาพ่อค้าและแบงเกอร์ ส่งผลให้กิจการสื่อสามารถลงทุนในการพัฒนาคุณภาพและผลตอบแทนพอที่จะดึงดูดคนรุ่นใหม่ให้เข้าสู่วงการได้
คุณสรยุทธ ก็คือหนึ่งในกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ก้าวสู่วงการสื่อสารมวลชนในช่วงต้นทศวรรษ 1990
มันช่วงรอยต่อที่ คนข่าวรุ่นเก่า ยังทันที่เคี่ยวกรำ คนข่าวรุ่นใหม่
คนรุ่นเก่าในที่นี้ คือ คนรุ่นเจนเนอเรชั่น X ที่คาบเกี่ยวตั้งแต่รุ่นก่อนเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516-6 ตุลา 2519 มีประสบการณ์ในสนามข่าวและสนามชีวิตที่เข้มข้น
งานข่าวรายวัน  คืองานที่มี " เส้นตาย " ทุกวัน  แข่งขันกันหาข่าว เจาะข่าว พร้อมคำพิพากษาในวันรุ่งขึ้น ว่า ข่าวของใครดีกว่า เสียงก่นด่า จากหัวหน้าข่าว และบรรณาธิการข่าว เมื่อ เนื้อหาข่าวสู้ไม่ได้ เป็นเรื่องปกติมากๆ
คุณภาพความอัดแน่นเรื่อง คอนเทนต์ จึงเป็นมรดกสะสม มาถึงคนข่าว เจเนอเรชั่น Y ในยุคนั้น
ความเคี่ยวกรำ ด้าน Content ไม่จำเป็นต้องจำกัด อยู่เฉพาะหนังสือรายวันเท่านั้น ยุคทองของนิตยสาร แม็กกาซีนยุคคนั้น สร้างกองบรรณาธิการ นักเขียน คอลัมนิสต์ อีกจำนวนไม่น้อย สำหรับ คอนเทนต์ที่ไม่ใช่ข่าว หรือออกแนวไลฟ์สไตล์
เก็บเกี่ยว ไม่ลงทุน “ ยุคทอง ”  สิ้นสุดลงในปี 1997 พร้อมกับวิกฤติเศรษฐกิจแบบเฉียบพลัน การพัฒนาสื่อหลักประเภทสิ่งพิมพ์ก็ยุติลงนับแต่บัดนั้น โดยเฉพาะในด้านการพัฒนาบุคลากร หรือ แม้กระทั่งการลงทุนด้านเทคโนโลยี
สื่อหลักต่างๆ หันมาใช้ยุทธศาสตร์ เดียวกันหมด คือ “ ยุทธศาสตร์เก็บเกี่ยว ” คือ ไม่ลงทุนเพิ่ม  สื่อสิ่งพิมพ์ประคองตัวมาร่วมๆ 20 ปี ส่วนทีวีอนาล็อค ซึ่งยังมีการขยายตัว กลับไม่ใช้โอกาสนี้ในการลงทุนเพื่อปรับตัวสู่ดิจิทัล อย่างจริงจัง
ทีวีกลับใช้โอกาส ที่สื่อสิ่งพิมพ์อ่อนแรง ดึงบุคลากรคุณภาพ เข้ามาเสริมทัพยุทธศาสตร์เก็บเกี่ยว โดยไม่ได้มีการลงทุนเพิ่มแต่อย่างใด
ผู้บริหาร และทีวีช่อง 3 เรียนรู้อย่างรวดเร็วว่า รายการเล่าข่าว สไตล์สรยุทธ มีต้นทุนต่ำ สวนทางกับสปอนเซอร์โฆษณาที่ไหลมาเทมาก  โจทย์ใหญ่ของการทำรายการไม่ใช่การพัฒนาคุณภาพ แต่คือการสร้างเบล็กโฆษณา ให้เยอะที่สุดเพื่อรองรับการโฆษณา ในรูปแบบต่างๆ ให้มากที่สุด
เราได้เห็นคุณสรยุทธ ซึ่งครั้งหนึ่งคือ ผู้ทำข่าวในพื้นที่เอง เขียนข่าวเอง รายงานข่าวเอง ต้องมานั่งอ่านและคอมเมนต์ ข่าวจากหนังสือพิมพ์ ที่คนอื่นเขียน
ด้วยโมเดลนี้ ซึ่งใครๆ ก็ทำได้ เราจึงได้เห็นใคร ต่อใคร พาเหรดมาเล่าข่าวหน้าจอไปหมด ตามช่องต่างๆ
สวนทางกับบทบาทที่ลดลงของ นักข่าวภาคสนาม ซึ่งเป็นการลดต้นทุนไปในตัว ทั้งบุคลากร และกระบวนการเทคนิคที่เกี่ยวข้อง อาทิ ช่างภาพ ช่างตัดต่อ ค่าเดินทาง รถถ่ายทอด
ในช่วงปลายของคุณสรยุทธ์ ยังได้มีการนำวีดีโอคลิป จากสื่อดิจิทัล ซึ่งเป็นอีกหนึ่ง " ของฟรี " เข้ามาอยู่ในรายการเล่าข่าว เช่นเดียวกันทีวีช่องต่างๆ ไม่เว้นกระทั่งทีวีดิจิทัล ซึ่งเดิมเป็นความหวังในการสร้างคุณภาพใหม่ให้วงการข่าว
ไม่เพียงแต่พื้นที่ข่าวคุณภาพจากจอทีวี จะลดลงไปเท่านั้น  ความคิดสร้างสรรค์ที่ปรากฎในรายการโชว์ต่างๆ เป็นสิ่งที่แทบทั้งหมดสร้างสรรค์ขึ้นในช่วงทศวรรษ 80-90 ยกเว้นพวกเรียลลิตี้โชว์ และสตาร์ คอนเทสต์ ที่อิมพอร์ตไอเดียฝรั่งเข้ามา (ใช้คำว่า" แทบทั้งหมด " เพราะมีข้อยกเว้นกรณี เวิร์คพอยท์)
การรีเทิร์น ของคุณสรยุทธ รอบนี้ เป็นการขุดหลุมฝังระบบรายงานทีวีที่ถดถอยมานานแล้วจริงๆ 
ผู้ชมไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป ที่ต้องมานั่งรอรายการคุยข่าว ในเวลาที่กำหนดต่อไป แถมไม่ต้องทนเบื่อหน่ายกับการรอเบร็กโฆษณาครั้งแล้ว ครั้งเล่า ก่อนจะถึงข่าวไฮไลต์
คนข่าวสามารถนำเสนอข่าวได้ทุกที่ ทุกเวลา ไม่ได้ขึ้นอยู่กับผังเวลา อยากบอกอะไร ตอนไหนก็บอก แล้วบอกได้อย่างไม่มีข้อจำกัดเนื้อหาด้วย
ย้อนหลังไปไม่กี่ปีก่อน ที่การรายงานข่าวถ่ายทอดสด หมายถึงรถโมบายล์ มูลค่าหลายสิบล้าน พร้อมทีมงานนับสิบชีวิต วันนี้ถูกย่อเหลือ สมาร์ทโฟน 1 เครื่อง บวกความแรงสัญญาณ 4 จี ที่ครอบคลุมพื้นที่ประสบภัย
นึกถึงเคส ดร.สมเกียรติ  อ่อนวิมล เมื่อหลายสิบปีก่อน การสูญเสียพื้นที่หน้าจอทีวี คือ การสูญเสียอิทธิพลบนพื้นที่สื่อ แต่ไม่ใช่ในกรณี คุณสรยุทธ์ 
วิธีการ " เล่าเรื่อง " ของคุณสรยุทธ์  ได้รับการปลดปล่อยอย่างเต็มที่ ในการรายงานข่าวภาคสนามผ่านโซเซียลมีเดีย  ในแบบที่เราไม่ค่อยจะได้สัมผัสในระบบการทำข่าวแบบเดิม  มีชีวิต ชีวามากขึ้น เหมือนเพื่อนคุยกับเพื่อน  หรือเหมือนเรากำลังติดตามชีวิตของใครสักคน
รูปแบบการโฆษณาออนไลน์ เพื่อรองรับ "สรยุทธโมเดล"จะได้รับการพัฒนา ที่เห็นๆแล้ว คือ เคสร้านฟาสต์ฟู้ด ร่วมบริจาคช่วยผู้ประสบภัย อย่างทันอกทันใจ
เราจะได้เห็น " คนข่าวคุณภาพ "  ไหลไปทางนี้มากขึ้น ภายใต้เงื่อนไขว่า คุณภาพดั้งเดิมนั้น จะปรับให้เข้ากับแพลตฟอร์มใหม่อย่างกลมกลืน และมีพลังได้อย่างไร
ขณะที่เขียนบทความนี้ ผมก็ยังดู คุณสรยุทธ Live อยู่เลย
------------------------
บทความโดย จุมพฎ สายหยุด