Friday, April 25, 2025

ปริศนาสุดท้ายของถั่วเมนเดลได้ถูกไขแล้ว

สรุปสั้นๆ การศึกษาจีโนมของถั่วเมนเดล ได้ทำให้รู้ลักษณะสุดท้ายสามอย่าง ว่า ควบคุมโดยยีนใด

ลักษณะสามอย่างนั้นคือ สีของฝักถั่ว การเรียงตัวของดอก และ ฝักนั้นจะกินได้หรือไม่ 

ในข่าวอธิบายสั้นๆว่า สีของฝักถั่ว ควบคุมโดยยีนที่สร้างคลอโรฟิลล์ ถ้าไม่มีหรือเป็นลักษณะด้อยจะทำให้ฝักเป็นสีเหลือง

ข่าวเต็ม และบทความวิชาการที่เกี่ยวข้อง อ่านได้ด้านล่าง 

 

ที่มา

https://www.science.org/content/article/massive-pea-study-solves-last-genetic-riddles-famed-friar?utm_source=sfmc&utm_medium=email&utm_content=alert&utm_campaign=SCIeToc&et_rid=17103467&et_cid=5597924 

https://www.nature.com/articles/s41586-025-08891-6

https://www.nature.com/articles/s41588-019-0480-1

https://www.nature.com/articles/s41588-024-01867-8

https://nph.onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1111/nph.19800


Massive pea study solves last genetic riddles of famed friar

DNA sequencing reveals basis of traits studied by Gregor Mendel—and gives breeders new ways to improve the crop

Generations of high school students have learned how the 19th century Austro-Hungarian friar Gregor Mendel discovered basic principles of genetics by studying peas, which he planted by the thousands in the garden of his abbey. After cross-pollinating varieties and noting the proportions in which traits such as flower color occurred in their offspring, he revealed the mathematical patterns of recessive and dominant inheritance—a fundamental breakthrough in genetics. But, working decades before genes were identified as the mechanism of heredity, Mendel knew nothing about the molecular basis of his seven traits, which remained “seven riddles,” says Shifeng Cheng, an evolutionary geneticist at the Agricultural Genomics Institute at Shenzhen (AGIS).

In recent decades, researchers have gradually mapped those traits onto DNA sequences, identifying the genes behind four of them. Now, in the largest genomic study of peas yet, published this week in Nature, Cheng and his colleagues reveal the genes associated with the remaining three, as well as many other genes that pea breeders could use to improve the plants. “This is another milestone in plant genomics,” says Aureliano Bombarely, a plant genomicist at the Institute of Molecular and Cellular Biology of Plants who wasn’t involved in the work.

The first of Mendel’s traits to be linked to a gene was seed shape. Some pea varieties have seeds that wrinkle if dried and taste sweet when served fresh. Mendel showed they have recessive “wrinkled” alleles. Peas with a dominant “round” allele stay smooth when dry and are less sweet, often going to soup or animal feed. In 1990, researchers at the John Innes Centre (JIC) identified the responsible gene, which codes for an enzyme that helps convert sugars to starch. Its dominant form packs the seeds with starch and keeps them smooth, whereas the recessive allele makes an inactive enzyme that leaves more sugar in the seeds. Scientists at JIC and elsewhere subsequently discovered the genes behind three other traits: plant height, and flower and seed color.

The large size of the pea genome and a general emphasis on higher profile crops such as wheat, maize, and rice slowed further progress. “Peas don’t get a whole lot of attention,” says Rebecca McGee, a plant scientist at Washington State University. But as sequencing costs fall, that’s changing.

The entire pea genome was sequenced in 2019. Researchers in China went on to sequence 237 kinds of peas and compile their genetic differences into a map, published last year. This diversity allowed them to identify 29 million genetic markers, called single nucleotide polymorphisms (SNPs), that pea breeders can use to guide and accelerate crop improvement.

Now, Cheng has partnered with colleagues at JIC to vastly expand the catalog of variations. JIC has a historic connection to Mendel: In the early 20th century its first director, pioneering geneticist William Bateson, helped disseminate Mendel’s findings and prioritized research on pea genetics. Since then it has collected several thousand varieties of pea, including from the Middle East, where the crop was domesticated, and from Ethiopia and the Himalayas, two other hot spots of diversity, amassing a large and varied collection.

Together, AGIS and JIC sequenced nearly 700 pea varieties, spanning the diversity of the collection. This yielded 155 million SNPs that they correlated with physical traits of the plants, allowing them to narrow down the location of important genes. “It is a great accomplishment for the pea,” says Tom Warkentin, a plant breeder at the University of Saskatchewan.

Among those genes are ones for the three remaining Mendel traits: the color of the pea pod, the arrangement of flowers, and whether the pods are edible. “We have finally provided an answer to this 160-year-old riddle,” Cheng says. The new details show, for example, that yellow pods occur in plants with DNA missing next to a gene involved in making chlorophyll. Cheng’s group believes the defective RNA transcribed from that DNA region interferes with chlorophyll synthesis, leading to pallid pods.

That particular insight might not lead directly to improved peas, but others likely will. Take the genetic basis for tendrils. By intertwining, these modified leaflets help pea plants stay upright and make harvesting much easier. In the 1980s breeders produced varieties with plentiful tendrils, a trait controlled by a gene called afila. But the same afila alleles that cause pea plants to grow more tendrils and fewer leaves can also lower yield by somehow deleting adjacent genes that influence the number and weight of seeds. By revealing exactly where on the genome the deletions start and stop, Cheng and colleagues hope to help breeders select afila alleles that don’t delete the flanking genes.

Many other traits in peas are determined by multiple genes, and there, too, genomic maps with plentiful markers will help breeders build on the heritage of Mendel, Warkentin says. “All these developments add to the toolbox of plant breeders.”



Thursday, April 10, 2025

สภาวะลักลั่นของทริฟฟิน (Triffin dilemma) และการแก้ปัญหาของทรัมพ์

 https://www.facebook.com/kornkitd/posts/pfbid0ydpSfDc7m99u6B8Fdwmb2amUXWat75ak8QiZpzvvoftAQ4wKeF5bS1eH2JEiEF4Ql

by Kornkit Disthan

ช่วงสองสามวันที่ผ่านมานี้ผมอ่านงานของ สตีเฟน ไมรัน (Stephen Miran) ที่ปรึกษาของทรัมป์ ซึ่งเขียนรายงานชิ้นหนึ่งที่เป็นพิมพ์เขียวในการขึ้นภาษีอย่างบ้าระห่ำในครั้งนี้
รายงานชิ้นนั้นตกผลึกเป็น 'ข้อตกลงมาร์อาลาโก' (Mar-a-Lago Accord) แล้วข้อตกลงนี้ก็นำไปสู่การปฏิบัติจริงเมื่อไม่กี่วันก่อน
เป้าหมายโดยผิวเผินคือการอ้างว่า ขึ้นภาษีประเทศที่ได้เปรียบดุลการค้า แต่ที่จริงแล้วมีเป้าใหญ่ที่ใหญ่กว่า คือ "การปรับสมดุลระบบการเงินดอลลาร์ที่นำโดยสหรัฐฯ"
สมมติฐานทั้งหมดมาจากการที่ สตีเฟน ไมรัน เห็นว่า สหรัฐฯ ในตอนนี้ตกอยู่ในสภาวะลักลั่นของทริฟฟิน (Triffin dilemma) นั่นคือการที่ประเทศที่เป็นเจ้าของสกุลเงินที่ประเทศอื่นใช้เป็นทุนสำรองระหว่างประเทศและเป็นสกุลเงินของการค้าโลก "จะต้องเผชิญกับการขาดดุล" อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
กลไกที่ว่านี้เกิดจากการที่ดอลลาร์เป็นสกุลเงินหลักของโลกมันจะแข็งค่าอยู่ตลอด ทำให้สหรัฐฯ นำเข้าได้ถูกลงแต่ก็มากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งขาดดดุลยืดเยื้อ ในเวลาเดียวกันเพราะดอลลาร์แข็ง ทำให้การลงทุนย้ายออกไปยังประเทศที่ต้นทุนต่ำกว่า ผลก็คือ เศรษฐกิจของสหรัฐฯ แย่ลงเรื่อยๆ แม้ว่าจะยังคงเป็น "เจ้าโลก" ในฐานะเจ้าของเงินดอลลาร์ก็ตาม
สหรัฐฯ จึงขาดดุลการค้าหนักขึ้น และกลายสภาพจากเจ้าหนี้เป็นลูกหนี้ แต่ลูกหนี้ก็ยังครองโลกด้วยดอลลาร์ และอ้างว่าประเทศที่ใช้ดอลลาร์ได้รับการคุ้มครอง (ทางการเงินและความมั่นคง) จากสหรัฐฯ
นี่คือความลักลั่นยอกย้อนของมัน
และนี่คือราคาที่ต้องจ่ายเมื่อคุณต้องการจะเป็น "จักรวรรดิ" หรือ "มหาอำนาจเดี่ยว" เพราะการเป็นจักรวรรดินั้นไม่ได้เอาแต่ขูดรีดอย่างเดียว แต่จะต้อง "เลี้ยงดู" ประเทศใต้อำนาจด้วยการที่ตัวเองยอมเสียบางอย่าง เพื่อให้มีอำนาจควบคุมโลกต่อไป
อำนาจของการครองโลกด้วยดอลลาร์นั้นมันเย้ายวนใจมากจนสละไม่ได้
บวกกับการที่ทุนนิยมอเมริกันกลายเป็น "คณาธิปไตย" (Oligarchy) เข้าไปทุกที แทนที่รัฐบาลจะรีบแก้ปัญหานี้เพื่อรักษาอำนาจของจักรวรรดิ แต่นักการเมืองก็ถูกพวกคณาธิปไตยล็อบบี้ไม่ให้รัฐแทรกแซงทุนนิยม ในขณะเดียวกันพวกคณาธิปไตยก็โยกย้ายทุกหนีออกไปประเทศที่ต้นทุนต่ำกว่า
ผลก็คือสหรัฐฯ ทรุดโทรมลงเรื่อยๆ แต่ในเวลาเดียวกัน พวกอีลีทอเมริกันก็โทษนานาประเทศว่าเป็นตัวการความเสื่อมนี้ หนึ่งในนั้นคือ สตีเฟน ไมรัน (ที่ปรึกษาเศรษฐกิจ) สก็อต เบสเซนต์ (รัฐมนตรีคลัง) และโดนัลด์ ทรัมป์
ทั้งๆ ที่มันมีวิธีแก้ปัญหาโดยไม่ต้องโยนบาปให้ใคร นั่นคือการลดอำนาจนำของเงินดอลลาร์ แล้วไปใช้ระบบทุนสำรองของโลก คล้ายๆ กับระบบ SDRs ของ IMF ที่ประกอบด้วยตะกร้าเงินสกุลต่างๆ ไม่ได้มีแค่ดอลลาร์
ถึงที่สุดแล้วก็ไม่สามารถเอาระบบอื่นมาแทนที่ได้
ในเมื่อไม่มีการแก้ไขระบบ มันจึงรอวันพัง แต่การพังของมันทำให้อเมริกันมองว่า "เป็นเพราะประเทศอื่นเอาเปรียบดุลการค้ากับเรา" ทั้งๆ ที่รู้ดีแก่ใจว่าการเอา "ดอลลาร์เป็นพระเจ้า" ของตัวเองนั้นเป็นเหตุความเสื่อมสลายแท้ๆ
แต่สหรัฐฯ ไม่ยอมลดสถานะนำของดอลลาร์ และไม่ยอมให้ตัวเองเสียดุลการค้าอีกด้วย พูดสั้นๆ คือ อยากเป็นจักรวรรดิที่เอาแต่ได้
การโยนความผิดแบบนี้เท่ากับทำให้ประเทศอื่นซวยไม่เข้าเรื่อง แต่มีคนเห็นเค้ารางของมันมาก่อนหน้านี้แล้ว เช่น โจวเสี่ยวชวน อดีตผู้ว่าการธนาคารกลางของจีน ที่เสนอให้เสริมความแข็งแกร่งของ ระบบ SDRs ของ IMF เพราะเขามองว่า ภาวะลักลั่นของดอลลาร์คือต้นเหตุของ "ความโกลาหลทางเศรษฐกิจ"
โจวเสี่ยวชวน เสนอไว้เมื่อปี 2009 โดยตอนนั้นสหรัฐฯ ยังไม่มองจีนเป็นภัยคุกคามมากเท่าตอนนี้ แต่โจวคงมองเห็นว่าในอนาคตมันจะต้องเป็นปัญหากับจีนและโลกแน่นอน
แล้วก็เป็นปัญหาจริงๆ เพราะ ไมรัน และ ทรัมป์ มองว่าต้นเหตุของ Triffin dilemma คือการค้าขาดดุล วิธีแก้คือการขึ้นภาษีทั่วโลกเพื่อสหรัฐฯ ได้ดุลอีกครั้ง จากนั้นจะมีการ "เชิญ" (หรือบังคับ) ให้ประเทศที่ยอมศิโรราบกับสหรัฐฯ มาตกลงอัตราค่าเงินกันใหม่ให้ดอลลาร์ยังแข็งต่อไป แต่เป็นภัยกับเศรษฐกิจสหรัฐฯ น้อยลง
พูดง่ายๆ ก็คือ บังคับให้ประเทศต่างๆ ลดค่าเงินตัวเอง ส่วนการขึ้นภาษีนั้นโดยผิวเผินเหมือนกับหวังจะให้การผลิตกลับมายังสหรัฐฯ อีก แต่ผมดูแล้วว่ามันเป็นแค่ข้ออ้างเพราะในทางปฏิบัติทำแทบไม่ได้ เป้าหมายจริงอาจเป็น "การทำลาย" การผลิตในประเทศคู่แข่งด้วยซ้ำ
ในเวลาเดียวกัน ทรัมป์ เลือกที่จะไม่ให้สหรัฐฯ เป็น "จักรรวรรดิ" ที่เอื้ออารีกับรัฐมิตรสหายและรัฐบริวารอีก จึงเลือกวิธี "ล้างไพ่" แบบที่กำลังทำอยู่ เพราะเป้าหมายของเขาคือจีน ไม่ใช่คอยช่วยมิตรอื่นที่กำลังหากินกับจีน
และ "อ้างว่าประเทศที่ใช้ดอลลาร์ได้รับการคุ้มครอง (ทางการเงินและความมั่นคง) จากสหรัฐฯ" มีต้นทุนที่จะต้องจ่ายเช่นกัน นั่นคือต้นทุน "ภาษี" ที่ขึ้นไปล่าสุด
ในรายงานของ ไมรัน เน้นย้ำว่า เรื่องนี้เป็น "ความมั่นคง" และย้ำคำนี้หลายครั้ง การขึ้นภาษีและดัดแปลงค่าเงินตามใจชอบจึงไม่ใช่แค่การ "ฟื้นฟู" เศรษฐกิจสหรัฐฯ เท่านั้น แต่ต้องทำลายศัตรูด้วย นั่นคือ จีนที่ไม่เพียงเป็นประเทศที่ได้เปรียบดุลการค้าสูงเท่านั้น แต่ยังเริ่มสร้างระบบการเงินที่ปลอดจากดอลลาร์ และยังช่วงชิงพันธมิตรจากสหรัฐฯ
ดังนั้น การขึ้นภาษีจึงไม่ใช่แค่การปรับ Triffin dilemma ให้สมดุล (แบบผิดๆ ) เท่านั้น แต่ยังเป็นการทำลายคู่แข่งทางการเมืองด้วย เอาเข้าจริง ผมได้วิเคราะห์ว่า เรื่องนี้ใช้แนวคิดของไมรัน เป็นข้ออ้างเพื่อทำสงครามทางการเมืองด้วยซ้ำไปเพระาเหตุผลและสมการการคำนวณภาษีต่างๆ นานาล้วนแต่ไร้เหตุผลสิ้นดี
ส่วนประเทศที่ถูกใช้เป็น "ตัวแทนสงคราม" คือ พวกท็อป 5 ที่ถูกขึ้นภาษีสูงสุด รวมถึง ไทย
แง่มุมการเมืองในรายงานของไมรัน, การขึ้นภาษีทรัมป์จึงละเลยไม่ได้
ในทัศนะของผม สภาพของสหรัฐอเมริกาในเวลานี้คือ "จักรวรรดิ" ที่กำลังดิ้นรนเฮือกสุดท้ายเพื่อเอาตัวรอดจากความยอกย้อนของระบอบทุนนิยม
การดิ้นรนนี้ต้องมีสงครามเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย แม้ว่ามันจะไม่ใช่สงครามแบบที่เรารู้จักก็ตาม
หมายเหตุ - บทความนี้เขียนโดยสรุปจากสิ่งที่ผมเขียนมาตลอดหลายวันมานี้ เพื่อความเข้าใจที่ละเอียดมากขึ้น ผมขอแนะนำให้อ่านบทความเหล่านี้
1. มันสมองของการขึ้นภาษีและการแก้ระเบียบโลก รู้จัก Stephen Miran กับแผนการ Mar-a-Lago Accord
2. 'ไทย'ต้องเตรียมตัวไว้ นี่ไม่ใช่แค่สงครามการค้า แต่เป็นการเปลี่ยนระเบียบโลกใหม่
3. ประเทศที่ช่วยจีน "สมควรตุe" นี่คือเป้าหมายที่แท้จริงของการขึ้นภาษีทรัมป์