เรียบเรียงจาก http://www.lynnemctaggart.com/blog/174-true-believers
ความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์อยู่ในสันดานของมนุษย์หรือไม่ ถ้าใช่แล้วมีอยู่แค่ไหน และ ฝังอยู่ส่วนไหนของจิตมนุษย์ แล้วคนที่ไม่มีศาสนาหละ มีความเชื่อนี้อยู่ด้วยหรือเปล่า
งานวิจัยใหม่สองงานที่เพิ่งได้รับการตีพิมพ์ได้ช่วยตอบคำถามนี้ งานแรกจาก University of Otago in New Zealand เพิ่งตีพิมพ์ใน the Journal of Experimental Social Psychology จากกลุ่มของ Associate Professor Jamin Halberstadt พบว่า เมื่อคนที่เชื่อในศาสนา (ศาสนาใดก็ได้) คิดถึงความตายของตนเอง พวกเขาจะยิ่งศรัทธาในศาสนาของตัวเองมากขึ้นทั้งระดับจิตสำนึำกและจิตไร้สำนึก ขณะที่อีกด้านหนึ่ง สำหรับคนที่ไม่มีศาสนา เมื่อพวกเขาคิดถึงความตายของตนเอง เขาอาจจะเพิ่มความปฏิปักษ์ต่อศาสนาในระดับจิตสำนึก แต่ในระดับจิตใต้สำนึกพวกเขาเริ่มมีความลังเลและเริ่มสนใจศาสนา
โดยนักวิจัยได้ทำการทดลองสุ่มตัวอย่างจากถามนักศึกษามหาวิทยาลัยจำนวน 265 คน ว่าเป็น คนที่มีศาสนา หรือ คนไม่มีศาสนา โดยใช้การกดปุ่มเลือก ซึ่งในแต่ละกลุ่มจะมีการสุ่มให้นักศึกษาบางคน ต้องคิดและเขียนถึงเรื่องความตายของตนเอง ส่วนในกลุ่มควบคุมให้แค่ดูโทรทัศน์ทั่วไป ผลการทดลองสำหรับ กลุ่มที่บอกว่าตัวเองมีศาสนา พบว่า กลุ่มนี้จะยิ่งรู้สึกมีความเชื่อต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ตัวเองนับถึือ อย่างแรงกล้ากว่าปกติ ถ้าได้คิดถึงความตาย ขณะที่กลุ่มที่บอกว่าตัวเองไม่มีศาสนาก็จะรู้สึกชัดยิ่งขึ้นว่าไม่เชื่อในศาสนาต่างๆ
แต่ที่น่าสนใจอย่างยิ่งคือ ในกลุ่มที่บอกว่าตัวเองไม่มีศาสนา เมื่อนับเวลาการกดปุ่มยืนยันว่ายอมรับการมีของสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือ พระเจ้า เปลี่ยนไป โดยคนที่ต้องคิดและเขียนเกี่ยวกับความตายของตัวเอง จะใช้เวลาในการกดปุ่มมากกว่าปกติ (กลุ่มที่มีศรัทธาในศาสนาก็จะกดปุ่มยืนยันเร็วขึ้น) ซึ่งนักวิจัยได้สรุปว่า นี่คือ ความเปลี่ยนแปลงของความรู้สึกในระดับจิตใต้สำนึก ที่ลึกๆก็อาจมีความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์
การค้นพบนี้ช่วยยืนยันว่า ศาสนาเป็นส่วนประกอบสำคัญและหยั่งรากลึกของสังคม มนุษย์เกือบทุกคนจะกลัวความตาย ความเชื่อทางศาสนาจะช่วยมนุษย์ในการจัดการความรู้สึกนี้
นอกจากงานวิจัยนี้ ยังมีงานวิจัยอื่น ที่พิสูจน์เช่นเดียวกันว่า ความเชื่อต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นสิ่งที่มีอยู่เสมอในการรับรู้ของมนุษย์ทุกคน ซึ่งโมเดลของการประมวลผลการรับรู้ของคนมีอยู่สองแบบ คือ ระบบคิดเเบบเหตุผลเป็นเส้นตรง (1+1 เท่ากับ 2) แ่ละระบบคิดแบบการหยั่งรู้ (intuition) ที่เป็นการคิดแบบปิ๊งแว๊บ "ว้าว"
นักวิจัยกลุ่มของ Associate Professor Ara Norenzayan จาก University of British Columbia ได้ขอให้กลุ่มตัวอย่างทำโจทย์แก้ปัญหา เช่น ทำแบบสอบถามยากๆ หรือ เหนี่ยวนำให้คิดวิเคราะห์ ก่อนตอบคำถามเรื่องความเชื่อในศาสนา ผลคือ ความเชื่อในศาสนาของกลุ่มตัวอย่าง ลดลงเมื่อต้องทำงานแบบคิดวิเคราะห์ยากๆ อย่างน้อยก็เป็นระยะเวลาชั่วคราว ซึ่งก็เข้ากันได้ดีกับผลวิจัยของกลุ่มอื่นที่ได้พิสูจน์ว่า ระบบคิดแบบการหยั่งรู้นั้นเชื่อมโยงกับความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์
แม้ว่าโมเดลนี้จะเป็นแค่ตัึวอย่างง่ายๆอย่างลดทอนที่มีข้อโต้แย้งมากมาย แต่มันก็ได้ชี้ให้เห็นว่า มีสิ่งที่เหนือไปกว่า โลกวัตถุล้วนๆนี้ ที่ฝังอยู่ในจิตของมนุษย์ทุกคนอย่างรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว