ในโลกสมัยใหม่ ภาษาอังกฤษได้กลายเป็นภาษาสากลที่คนยอมรับใช้กันทั่วโลก เนื่องด้วย หนึ่งคือการเป็นมหาอำนาจต่อเนื่องยาวนานของประเทศที่ใ้ช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ อย่าง อังกฤษเมื่อร้อยปีที่แล้ว มาจนถึง สหรัฐอเมริกาในปัจจุบัน และสองคือ ความค่อนข้างง่ายของภาษาที่จะใำห้คนสื่อสารเข้าใจกันได้ในเรื่องที่ไม่ซับซ้อนมาก
การที่ภาษาอังกฤษได้ถูกนำไปใช้มาก โดยเฉพาะในประเทศที่่มีรากภาษา รากวัฒนธรรมอย่างอื่นทำให้การใช้ภาษาอังกฤษเปลี่ยนไปตามประเทศที่ใช้ เช่น ภาษาซิงกลิช ของสิงคโปร์ ที่เป็นภาษาอังกฤษผสมกับภาษาจีนกลาง เวลาคนพูดก็จะมีสำเนียง และ ศัพท์แสลงติดมาเช่น le ลงท้ายคำ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เมื่อไปดูในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเอง ก็มีสำเนียง ศัพท์ต่างกันไปตามถิ่นฐานเลย เช่น อังกฤษลอนดอน ก็ใช้ภาษาต่างกับ อังกฤษสก๊อตเเลนด์ ต่างกับ อังกฤษเท็กซัส อังกฤษแคนาดา เป็นต้น (ตัวอย่าง ความแตกต่างของสำเนียง http://www.youtube.com/watch?v=dABo_DCIdpM) ความแตกต่างแบบนี้นักวิชาการเรียกว่า Language interferece ดูเพิ่มได้ที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Language_transfer
และแน่นอน ในประเทศไทย ก็มีการใช้ภาษาอังกฤษตามใจชอบของคนท้องถิ่นที่พูดภาษาไทย ที่มีโครงสร้างภาษาต่างจากอังกฤษมาก เช่น ไม่มี tense และชอบซ้ำคำ ภาษาอังกฤษที่ใช้ในประเทศไทยจึงแตกต่างอย่างมีเอกลักษณ์จากที่อื่น จนคนเขาเรียกว่าเป็นภาษา tinglish แต่อย่างไรก็ตามยังไม่สามารถนำมาใช้ในทางการได้ เป็นแค่เพียงภาษาพูดเท่านั้น ดูเพิ่มได้ที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Tinglish
แต่เมื่อวัฒนธรรมมีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ทำให้ชาวตะวันตกที่เป็นผู้กำหนดกฏเกณฑ์ของภาษา เริ่มเข้าใจและยอมรับภาษาถิ่นแบบนี้มากขึ้น หลักไมล์ที่สำคัญของเรืืองนี้สำหรับภาษา tinglish คือ การตั้งชื่อภาพยนตร์เยอรมันที่พูดภาษาอังกฤษเรื่องหนึ่งว่า same same but different http://www.imdb.com/title/tt1368443/ แม้ว่าในเรื่องจะเป็นเรื่องที่เกิดในกัมพูชา แต่นักแสดงนำเป็นชาวไทยและใช้ทีมงานไทยส่วนหนึ่ง
สำำหรับคนไทยวลีนี้เป็นวลีที่คุ้นหูและติดปากของทุกคน แต่ถ้าถามฝรั่งอังกฤษ คงจะงงกันใหญ่ ที่คนไทยพูดแบบนี้เพราะ คนไทยชอบพูดซ้ำๆ และเหมือนจะเป็นวลีที่ใช้ขายของแก่ฝรั่งนักท่องเที่ยวเสียมากกว่า มันเหมือนๆกันนั่นแหละ แต่ก็ต่างกันนิดนึง วิธีคิดแบบนี้ คนไทยใช้บ่อย ฝรั่งก็คงเห็นดีด้วยเลยนำมาใช้เลย และล่าสุดที่น่าตกใจคือ แม้แต่วารสารวิชาการที่เคร่งครัดอย่าง molecular cell ของสำนักพิมพ์ cell ยังนำมาใช้ในการตั้งชื่อบทความปริทัศน์สำหรับการอธิบาย โครงสร้างคริสตัลของ โปรตีน-อาร์เอ็นเอ CRISPR-Cas complex ว่า ระหว่างการวิวัฒนาการ โครงสร้างของ complex นี้ เหมือนกันตลอดแทบไม่เปลี่ยนแปลง แต่ความแตกต่างของรหัสของ โปรตีนและ ดีเอ็นเอ เพียงเล็กน้อยก็ทำให้หน้าที่และรูปร่างของมันต่างกันมาก http://www.cell.com/molecular-cell/abstract/S1097-2765(13)00715-6?utm_source=ECE001&utm_campaign=&utm_content=&utm_medium=email&bid=EW9GE5F:I2SVF1F
เมื่อไปดูชื่อผู้เขียนบทความวิชาการนี้ ผู้เขียนบทความนี้เป็นคนเยอรมัน จึงสันนิษฐานได้ว่า ผู้เขียนคงจะได้ดูภาพยนตร์เรื่อง same same but different ที่ค่อนข้างได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศเยอรมนี หรือ อาจจะเคยได้มาเที่ยวเมืองไทยบ้างแล้วเจอกับวลีนี้ จึงทำให้ประทับใจจนนำมาตั้งชื่อบทความวิชาการแบบนี้ นี่ก็น่าจะเป็นความยินดีอย่างยิ่งที่ได้เห็นการยอมรับวัฒนธรรมที่ด้อยกว่าเข้ามาสู่ความเป็นทางการ แม้จะเป็นเพื่อลดบรรยากาศขึงขังตึงเครียดในวงวิชาการก็ยังดี
ปล 1 same same แปลเป็นอังกฤษว่า similar, as usual และ same same but different แปลว่า seems similar but different in some ways
ปล 2 บล๊อกนี้เีขียนเพื่อให้เห็นการสื่อสารแลกเปลี่ยนระหว่างวัฒนธรรมจนเกิดสิ่งใหม่ๆขึ้นมา การแช่แข็งวัฒนธรรมอย่างที่รัฐไทยจะออกกฏหมายออกมาจึงเป็นสิ่งที่ไม่สมควร
ปล 3 ผู้เขียนไม่ใช่นักภาษาศาสตร์ เป็นเพียงแค่ผู้สนใจที่มีข้อสังเกตต่อภาษาเท่านั้น หากมีความผิดพลาดประการใดได้โปรดชี้แจง จะเป็นพระคุณอย่างมาก
ปล 4 CRISPR-Cas complex เป็นระบบภูมิคุ้มกันตัวเองของสิ่งมีชีวิตพวก โปรคาริโอต (ไม่มีนิวเคลียส) นักวิทยาศาสตร์นำมาประยุกต์ใช้ในการ knock down ยีนในสิ่งมีชีวิตพวก ยูคารีโอต (มีนิวเคลียส) เหมือน RNAi ดูเพิ่มได้ที่ http://en.wikipedia.org/wiki/CRISPR
การที่ภาษาอังกฤษได้ถูกนำไปใช้มาก โดยเฉพาะในประเทศที่่มีรากภาษา รากวัฒนธรรมอย่างอื่นทำให้การใช้ภาษาอังกฤษเปลี่ยนไปตามประเทศที่ใช้ เช่น ภาษาซิงกลิช ของสิงคโปร์ ที่เป็นภาษาอังกฤษผสมกับภาษาจีนกลาง เวลาคนพูดก็จะมีสำเนียง และ ศัพท์แสลงติดมาเช่น le ลงท้ายคำ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เมื่อไปดูในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเอง ก็มีสำเนียง ศัพท์ต่างกันไปตามถิ่นฐานเลย เช่น อังกฤษลอนดอน ก็ใช้ภาษาต่างกับ อังกฤษสก๊อตเเลนด์ ต่างกับ อังกฤษเท็กซัส อังกฤษแคนาดา เป็นต้น (ตัวอย่าง ความแตกต่างของสำเนียง http://www.youtube.com/watch?v=dABo_DCIdpM) ความแตกต่างแบบนี้นักวิชาการเรียกว่า Language interferece ดูเพิ่มได้ที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Language_transfer
และแน่นอน ในประเทศไทย ก็มีการใช้ภาษาอังกฤษตามใจชอบของคนท้องถิ่นที่พูดภาษาไทย ที่มีโครงสร้างภาษาต่างจากอังกฤษมาก เช่น ไม่มี tense และชอบซ้ำคำ ภาษาอังกฤษที่ใช้ในประเทศไทยจึงแตกต่างอย่างมีเอกลักษณ์จากที่อื่น จนคนเขาเรียกว่าเป็นภาษา tinglish แต่อย่างไรก็ตามยังไม่สามารถนำมาใช้ในทางการได้ เป็นแค่เพียงภาษาพูดเท่านั้น ดูเพิ่มได้ที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Tinglish
แต่เมื่อวัฒนธรรมมีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ทำให้ชาวตะวันตกที่เป็นผู้กำหนดกฏเกณฑ์ของภาษา เริ่มเข้าใจและยอมรับภาษาถิ่นแบบนี้มากขึ้น หลักไมล์ที่สำคัญของเรืืองนี้สำหรับภาษา tinglish คือ การตั้งชื่อภาพยนตร์เยอรมันที่พูดภาษาอังกฤษเรื่องหนึ่งว่า same same but different http://www.imdb.com/title/tt1368443/ แม้ว่าในเรื่องจะเป็นเรื่องที่เกิดในกัมพูชา แต่นักแสดงนำเป็นชาวไทยและใช้ทีมงานไทยส่วนหนึ่ง
สำำหรับคนไทยวลีนี้เป็นวลีที่คุ้นหูและติดปากของทุกคน แต่ถ้าถามฝรั่งอังกฤษ คงจะงงกันใหญ่ ที่คนไทยพูดแบบนี้เพราะ คนไทยชอบพูดซ้ำๆ และเหมือนจะเป็นวลีที่ใช้ขายของแก่ฝรั่งนักท่องเที่ยวเสียมากกว่า มันเหมือนๆกันนั่นแหละ แต่ก็ต่างกันนิดนึง วิธีคิดแบบนี้ คนไทยใช้บ่อย ฝรั่งก็คงเห็นดีด้วยเลยนำมาใช้เลย และล่าสุดที่น่าตกใจคือ แม้แต่วารสารวิชาการที่เคร่งครัดอย่าง molecular cell ของสำนักพิมพ์ cell ยังนำมาใช้ในการตั้งชื่อบทความปริทัศน์สำหรับการอธิบาย โครงสร้างคริสตัลของ โปรตีน-อาร์เอ็นเอ CRISPR-Cas complex ว่า ระหว่างการวิวัฒนาการ โครงสร้างของ complex นี้ เหมือนกันตลอดแทบไม่เปลี่ยนแปลง แต่ความแตกต่างของรหัสของ โปรตีนและ ดีเอ็นเอ เพียงเล็กน้อยก็ทำให้หน้าที่และรูปร่างของมันต่างกันมาก http://www.cell.com/molecular-cell/abstract/S1097-2765(13)00715-6?utm_source=ECE001&utm_campaign=&utm_content=&utm_medium=email&bid=EW9GE5F:I2SVF1F
เมื่อไปดูชื่อผู้เขียนบทความวิชาการนี้ ผู้เขียนบทความนี้เป็นคนเยอรมัน จึงสันนิษฐานได้ว่า ผู้เขียนคงจะได้ดูภาพยนตร์เรื่อง same same but different ที่ค่อนข้างได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศเยอรมนี หรือ อาจจะเคยได้มาเที่ยวเมืองไทยบ้างแล้วเจอกับวลีนี้ จึงทำให้ประทับใจจนนำมาตั้งชื่อบทความวิชาการแบบนี้ นี่ก็น่าจะเป็นความยินดีอย่างยิ่งที่ได้เห็นการยอมรับวัฒนธรรมที่ด้อยกว่าเข้ามาสู่ความเป็นทางการ แม้จะเป็นเพื่อลดบรรยากาศขึงขังตึงเครียดในวงวิชาการก็ยังดี
ปล 1 same same แปลเป็นอังกฤษว่า similar, as usual และ same same but different แปลว่า seems similar but different in some ways
ปล 2 บล๊อกนี้เีขียนเพื่อให้เห็นการสื่อสารแลกเปลี่ยนระหว่างวัฒนธรรมจนเกิดสิ่งใหม่ๆขึ้นมา การแช่แข็งวัฒนธรรมอย่างที่รัฐไทยจะออกกฏหมายออกมาจึงเป็นสิ่งที่ไม่สมควร
ปล 3 ผู้เขียนไม่ใช่นักภาษาศาสตร์ เป็นเพียงแค่ผู้สนใจที่มีข้อสังเกตต่อภาษาเท่านั้น หากมีความผิดพลาดประการใดได้โปรดชี้แจง จะเป็นพระคุณอย่างมาก
ปล 4 CRISPR-Cas complex เป็นระบบภูมิคุ้มกันตัวเองของสิ่งมีชีวิตพวก โปรคาริโอต (ไม่มีนิวเคลียส) นักวิทยาศาสตร์นำมาประยุกต์ใช้ในการ knock down ยีนในสิ่งมีชีวิตพวก ยูคารีโอต (มีนิวเคลียส) เหมือน RNAi ดูเพิ่มได้ที่ http://en.wikipedia.org/wiki/CRISPR