เรื่องจีเอ็มโอนี้ มี หลายประเด็น ซ้อนกันอยู่ เท่าที่คิดออก ก็มีประมาณนี้ครับ
1 เรื่องกินได้ หรือ ไม่ อันนี้ ยังดีเบตกันอยู่ แต่ดูแล้วน่าจะกินได้ ปลอดภัย ถ้าไม่ตัดอะไรมั่ว และมีการควบคุมมากพอ
2 เรื่องการปนเปื้อนดีเอ็นเอในธรรมชาติ ก็ยังดีเบตกันอยู่ว่า a. เปื้อนแล้วมีผลอะไร ทางชีววิทยา หรือ ไม่ b. ป้องกันได้หรือไม่ พบว่า สำหรับพืชบางชนิดถ้ารู้เวลา และ วิธี เเพร่เกสร ของมัน พอจะป้องกันได้
3 สิ่งที่จีเอ็มโอ โฆษณาว่า ช่วยลดยาฆ่าแมลง ไม่ได้ช่วยในระยะยาว หลายเจเนอเรชั่น และ อาจต้องเพิ่มยาฆ่าหญ้าที่ เป็นพิษน้อยกว่าแทน เช่น ฝ้ายบีที ต้องตัดต่อให้แรงขึ้นเรื่อยๆเพราะแมลงวิวัฒนาการ แต่ก็มี ประโยชน์ของจีเอ็มโอ ที่ทำออกมาแล้ว โดยเฉพาะ การผลิตยา แต่อันนั้น มัน เลี้้ยงแบคแล้ว มาเพียวริฟาย เอาเฉพาะสารเฉพาะ ไม่ได้กินทั้งหมด ซึ่งถ้าสิ่งมีชีวิตมีอะไรมากเกินไป มันอาจจะสร้างสารก่ออาการอักเสบมากขึ้นด้วย อาจจะเป็นพิษได้ (ดีเบตกันอยู่ และแน่นอนน่าจะแก้ได้) ส่วนกรณีข้าวสีทอง เท่าที่ตาม ยังไม่มีคนเช็กว่า กินแล้ว แก้อาการขาด วิตามินเอ ได้ไหม (อาจเพราะ โดนห้ามอยู่)
4 เรื่องสิทธิบัตร อันนี้เหี้ยมาก เท่าที่ดูเคส มันบัดซบกว่า ค่ายเพลงเก็บค่าลิขสิทธิ์เพลงอีกครับ เพราะถ้าปนเปื้อนออกไป เกษตรกรโดนเก็บเงินได้ด้วย แต่ถ้าทำจีเอ็มโอ แล้วเปิดเสรี ไม่เก็บสิทธิบัตร อาจจะพอรอรับได้ จริงๆ ควรเปิดเสรี เรื่องอาหารให้มากที่่สุด กันบริษัทใหญ่ๆผูกขาด
5 ถ้าเปิดจีเอ็มโอ ต้องคุมเข้มเรื่องการปนเปื้อนมากขึ้น เพราะ มีตลาดหลายที่ ห้ามจีเอ็มโอ หรือ เราใช้โควต้าว่า เราไม่มีจีเอ็มโอส่งเข้าไป เช่นในยุโรป (อันนี้ ต้องดูเทรนด์โลก แต่คิดว่า ยังไม่เปลี่ยนเรื่องความเข้มงวดต่อจีเอ็มโอ ในเร็วววันนี้ )
ความ เห็นส่วนตัวคือ อยู่เยอรมนี แล้ว มันมีทางเลือกเรื่องอาหารดีๆมาก เช่นพวกออร์แกนิก ตลาดโตทุกปี ขายดีมาก และผลิตพอ ผมว่า คนเยอรมัน ก็ไม่ได้คิดว่า เราต้องการจีเอ็มโอหนะครับ คือ มนุษย์เราสร้างของดีๆได้อยู่แล้ว (กรณีนี้ผมไม่มีตัวเลขมายืนยัน แต่ฟังข่าว ฟังคนพูดเอา)
สรุป คือ จีเอ็มโอ ดีหรือไม่ ยังดีเบตอยู่ แต่เยอรมนี มันโชว์ว่า ไม่ต้องจีเอ็มโอก็อาจจะอยู่ได้อะครับ (ยังต้องพัฒนาต่อ) และสิ่งที่ต้องทำเร่งด่วนสุดคือ ยกเลิกการผูกขาดครับ ถ้าจะใช้จีเอ็มโอจริง ก่อนทำต้องแก้ปัญหา ที่มีก่อนครับ โดยเฉพาะ เรื่องสิทธิบัตร
สำหรับพื้นที่ แอฟริกา ที่แห้งแล้ง ไม่สามารถปลูกพืชชนิดอื่นได้ ยกเว้น จีเอ็มโอ ผมไม่มีปัญหาครับ ปล่อยให้ ประชาชนที่นั่น ทำประชามติ ไปเลย เขาเอาไม่เอาก็เรื่องของเขาอะครับ โดยหลักการและหลักฐานมันไม่ชัดเจนว่า จีเอ็มโอ อันตราย หรือ ปลอดภัย
ผมไม่ได้ต้านหัวชนฝานะครับ แต่ไอ้ข้อด้อยที่มี ขอให้จัดการให้เรียบร้อยก่อน ทำในแล็บก็ทำกันไปหนะครับ จะออกข้างนอกก็ทำให้ครบทุกเงื่อนไข ก็รับได้
ส่วน เรื่องสัตว์จีเอ็มโอ เรื่องไก่ ที่พี่ยกตัวอย่างนี่ มัน แค่ cross-breeding หรือว่า ตัดต่อยีนพิเศษเข้าไปครับ ถ้าแค่ cross-breeding นี่ ไม่นับเป็นจีเอ็มโอครับ แต่ไม่ว่าจะทำแบบไหนก็ต้องเช็คก่อนปล่อยมาให้คนกิน ถ้าเช็กแล้วไม่มีอะไรก็โอเคครับ
เรื่อง ประชากร ล้นเกิน ก็ตามนั้นครับ เท่าที่ดูมันมีสองตัวเลขที่ผมงงๆ ตัวเลขแรก ที่พี่บอก คือ ทรัพยากรอาหาร เราไม่พอต่ออนาคต อันนี้ก็เคลียร์กับการพยากรณ์นี้ แต่อีกตัวคือ ขยะอาหารที่กินได้ (แค่หมดอายุ) ในสังคมมันเยอะมาก จนทำให้หลายครอบครัวกินจากขยะก็อยู่ได้สบายๆไปเลย ผมเลยไม่แน่ใจว่า อะไรมันคือ สถานการณ์ที่แท้จริงหนะครับ ถ้ามีคนเทียบให้เห็นชัดๆก็ดีเลย เราอาจจะเพิ่มประสิทธิภาพ การเข้าถึงอาหาร ของแต่ละคน มันจะช่วยได้ไหม
อ้อ อีกอย่างที่ รู้สึกรำคาญใจกับ จีเอ็มโอ คือ เรื่องติดฉลาก กลัวอะไรกันนักหนา ออร์แกนิก นี่ ต้องติดฉลากทุกอันเลย แถมต้องเสียเงินเพิ่มด้วย ทำให้ต้นทุนเพิ่มมากขึ้น อีก ผมรู้สึกว่าไม่แฟร์เท่าไหร่ ถ้าติดฉลากแฟร์ๆ หรือ เพิ่มต้นทุนให้มีบริษัทอิสระ มาตรวจคุณภาพจีเอ็มโอเรื่อยๆ ผมว่า โอเค อยู่
Joe Gomain Hoyes เสริมว่า "ทุก เทคโนโลยี ก็มีด้านบวก และผลกระทบด้านลบ ไม่ใช่เฉพาะ GMO ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับวิธีที่ใช้และการควบคุม ปัญหาคือเรายังไม่มีระบบควบคุมตรวจสอบการใช้เทคโนโลยี และที่สำคัญ เมื่อมีผลกระทบเกิดขึ้นแล้ว การสืบหาผู้รับผิดชอบทำได้ยากมากจนถึงไม่ได้เลย ถึงทำได้การชดเชยความ เสียหายก็ต่ำ เช่นถ้าทำ GMO ข้าวโพดแล้วมีแมลงสุญพันธ์ จะคิดค่าเสียหายยังไง? คือถ้ารับประกันโดยรัฐได้ว่า การใช้เทคโนโลยีผิดพลาด จะต้องชดใช้ แม้ไม่ได้เจตนา จะทุนเล็กทุนใหญ่ก็ไม่กล้าใช้หรอก เพราะอาจไม่คุ้ม แต่นี่รัฐดำเนินนโบายตามที่เอกชนรายใหญ่แนะนำ มันจะไว้ใจอะไรได้ ทุกวันนี้รัฐไทยใช้ระบบอนุญาติ ในการควบคุม เมื่อได้รับอนุญาติไปแล้ว ทำเสียหายยังไงก็ได้ สุดท้ายก็เลยต้องรณรงค์ให้ ban ทั้งหมดไว้ก่อน"
1 เรื่องกินได้ หรือ ไม่ อันนี้ ยังดีเบตกันอยู่ แต่ดูแล้วน่าจะกินได้ ปลอดภัย ถ้าไม่ตัดอะไรมั่ว และมีการควบคุมมากพอ
2 เรื่องการปนเปื้อนดีเอ็นเอในธรรมชาติ ก็ยังดีเบตกันอยู่ว่า a. เปื้อนแล้วมีผลอะไร ทางชีววิทยา หรือ ไม่ b. ป้องกันได้หรือไม่ พบว่า สำหรับพืชบางชนิดถ้ารู้เวลา และ วิธี เเพร่เกสร ของมัน พอจะป้องกันได้
3 สิ่งที่จีเอ็มโอ โฆษณาว่า ช่วยลดยาฆ่าแมลง ไม่ได้ช่วยในระยะยาว หลายเจเนอเรชั่น และ อาจต้องเพิ่มยาฆ่าหญ้าที่ เป็นพิษน้อยกว่าแทน เช่น ฝ้ายบีที ต้องตัดต่อให้แรงขึ้นเรื่อยๆเพราะแมลงวิวัฒนาการ แต่ก็มี ประโยชน์ของจีเอ็มโอ ที่ทำออกมาแล้ว โดยเฉพาะ การผลิตยา แต่อันนั้น มัน เลี้้ยงแบคแล้ว มาเพียวริฟาย เอาเฉพาะสารเฉพาะ ไม่ได้กินทั้งหมด ซึ่งถ้าสิ่งมีชีวิตมีอะไรมากเกินไป มันอาจจะสร้างสารก่ออาการอักเสบมากขึ้นด้วย อาจจะเป็นพิษได้ (ดีเบตกันอยู่ และแน่นอนน่าจะแก้ได้) ส่วนกรณีข้าวสีทอง เท่าที่ตาม ยังไม่มีคนเช็กว่า กินแล้ว แก้อาการขาด วิตามินเอ ได้ไหม (อาจเพราะ โดนห้ามอยู่)
4 เรื่องสิทธิบัตร อันนี้เหี้ยมาก เท่าที่ดูเคส มันบัดซบกว่า ค่ายเพลงเก็บค่าลิขสิทธิ์เพลงอีกครับ เพราะถ้าปนเปื้อนออกไป เกษตรกรโดนเก็บเงินได้ด้วย แต่ถ้าทำจีเอ็มโอ แล้วเปิดเสรี ไม่เก็บสิทธิบัตร อาจจะพอรอรับได้ จริงๆ ควรเปิดเสรี เรื่องอาหารให้มากที่่สุด กันบริษัทใหญ่ๆผูกขาด
5 ถ้าเปิดจีเอ็มโอ ต้องคุมเข้มเรื่องการปนเปื้อนมากขึ้น เพราะ มีตลาดหลายที่ ห้ามจีเอ็มโอ หรือ เราใช้โควต้าว่า เราไม่มีจีเอ็มโอส่งเข้าไป เช่นในยุโรป (อันนี้ ต้องดูเทรนด์โลก แต่คิดว่า ยังไม่เปลี่ยนเรื่องความเข้มงวดต่อจีเอ็มโอ ในเร็วววันนี้ )
ความ เห็นส่วนตัวคือ อยู่เยอรมนี แล้ว มันมีทางเลือกเรื่องอาหารดีๆมาก เช่นพวกออร์แกนิก ตลาดโตทุกปี ขายดีมาก และผลิตพอ ผมว่า คนเยอรมัน ก็ไม่ได้คิดว่า เราต้องการจีเอ็มโอหนะครับ คือ มนุษย์เราสร้างของดีๆได้อยู่แล้ว (กรณีนี้ผมไม่มีตัวเลขมายืนยัน แต่ฟังข่าว ฟังคนพูดเอา)
สรุป คือ จีเอ็มโอ ดีหรือไม่ ยังดีเบตอยู่ แต่เยอรมนี มันโชว์ว่า ไม่ต้องจีเอ็มโอก็อาจจะอยู่ได้อะครับ (ยังต้องพัฒนาต่อ) และสิ่งที่ต้องทำเร่งด่วนสุดคือ ยกเลิกการผูกขาดครับ ถ้าจะใช้จีเอ็มโอจริง ก่อนทำต้องแก้ปัญหา ที่มีก่อนครับ โดยเฉพาะ เรื่องสิทธิบัตร
สำหรับพื้นที่ แอฟริกา ที่แห้งแล้ง ไม่สามารถปลูกพืชชนิดอื่นได้ ยกเว้น จีเอ็มโอ ผมไม่มีปัญหาครับ ปล่อยให้ ประชาชนที่นั่น ทำประชามติ ไปเลย เขาเอาไม่เอาก็เรื่องของเขาอะครับ โดยหลักการและหลักฐานมันไม่ชัดเจนว่า จีเอ็มโอ อันตราย หรือ ปลอดภัย
ผมไม่ได้ต้านหัวชนฝานะครับ แต่ไอ้ข้อด้อยที่มี ขอให้จัดการให้เรียบร้อยก่อน ทำในแล็บก็ทำกันไปหนะครับ จะออกข้างนอกก็ทำให้ครบทุกเงื่อนไข ก็รับได้
ส่วน เรื่องสัตว์จีเอ็มโอ เรื่องไก่ ที่พี่ยกตัวอย่างนี่ มัน แค่ cross-breeding หรือว่า ตัดต่อยีนพิเศษเข้าไปครับ ถ้าแค่ cross-breeding นี่ ไม่นับเป็นจีเอ็มโอครับ แต่ไม่ว่าจะทำแบบไหนก็ต้องเช็คก่อนปล่อยมาให้คนกิน ถ้าเช็กแล้วไม่มีอะไรก็โอเคครับ
เรื่อง ประชากร ล้นเกิน ก็ตามนั้นครับ เท่าที่ดูมันมีสองตัวเลขที่ผมงงๆ ตัวเลขแรก ที่พี่บอก คือ ทรัพยากรอาหาร เราไม่พอต่ออนาคต อันนี้ก็เคลียร์กับการพยากรณ์นี้ แต่อีกตัวคือ ขยะอาหารที่กินได้ (แค่หมดอายุ) ในสังคมมันเยอะมาก จนทำให้หลายครอบครัวกินจากขยะก็อยู่ได้สบายๆไปเลย ผมเลยไม่แน่ใจว่า อะไรมันคือ สถานการณ์ที่แท้จริงหนะครับ ถ้ามีคนเทียบให้เห็นชัดๆก็ดีเลย เราอาจจะเพิ่มประสิทธิภาพ การเข้าถึงอาหาร ของแต่ละคน มันจะช่วยได้ไหม
อ้อ อีกอย่างที่ รู้สึกรำคาญใจกับ จีเอ็มโอ คือ เรื่องติดฉลาก กลัวอะไรกันนักหนา ออร์แกนิก นี่ ต้องติดฉลากทุกอันเลย แถมต้องเสียเงินเพิ่มด้วย ทำให้ต้นทุนเพิ่มมากขึ้น อีก ผมรู้สึกว่าไม่แฟร์เท่าไหร่ ถ้าติดฉลากแฟร์ๆ หรือ เพิ่มต้นทุนให้มีบริษัทอิสระ มาตรวจคุณภาพจีเอ็มโอเรื่อยๆ ผมว่า โอเค อยู่
Joe Gomain Hoyes เสริมว่า "ทุก เทคโนโลยี ก็มีด้านบวก และผลกระทบด้านลบ ไม่ใช่เฉพาะ GMO ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับวิธีที่ใช้และการควบคุม ปัญหาคือเรายังไม่มีระบบควบคุมตรวจสอบการใช้เทคโนโลยี และที่สำคัญ เมื่อมีผลกระทบเกิดขึ้นแล้ว การสืบหาผู้รับผิดชอบทำได้ยากมากจนถึงไม่ได้เลย ถึงทำได้การชดเชยความ เสียหายก็ต่ำ เช่นถ้าทำ GMO ข้าวโพดแล้วมีแมลงสุญพันธ์ จะคิดค่าเสียหายยังไง? คือถ้ารับประกันโดยรัฐได้ว่า การใช้เทคโนโลยีผิดพลาด จะต้องชดใช้ แม้ไม่ได้เจตนา จะทุนเล็กทุนใหญ่ก็ไม่กล้าใช้หรอก เพราะอาจไม่คุ้ม แต่นี่รัฐดำเนินนโบายตามที่เอกชนรายใหญ่แนะนำ มันจะไว้ใจอะไรได้ ทุกวันนี้รัฐไทยใช้ระบบอนุญาติ ในการควบคุม เมื่อได้รับอนุญาติไปแล้ว ทำเสียหายยังไงก็ได้ สุดท้ายก็เลยต้องรณรงค์ให้ ban ทั้งหมดไว้ก่อน"