Saturday, December 16, 2006

Gedict auf dem Klo

Ich beherrsche diese Welt,
ich bin wunderbar,
ich bin nämlich bei Scheißen.
Oh! Gott! Das Leben ist schwer.
Oh! Mein Arschloch tut mir weh.

Kiffen Kiffen haha

Friday, December 01, 2006

Simple simple

1-
พระพุทธวจนะ
"ผู้ใดเห็นทุกข์ ผู้นั้นเห็นธรรม"
"ทุกข์" นั้นเป็นของดี ของประเสริฐ คนไม่มีปัญญาจะรังเกียจทุกข์ แต่คนมีปัญญาจะใช้ทุกข์นั้นเป็น "พลังเชื้อเพลิง" ขับเคลื่อนตัวเองไปสู่
ความเป็น "คนเหนือทุกข์"
แต่ต่อให้เป็นพระอรหันต์ เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า "ทุกข์" ก็ยังอยู่ เพราะ "ทุกข์" เป็นแค่สภาวธรรม ไม่มีตัวตนอะไรฆ่าให้มันตาย เป็นแค่ "สิ่งรู้ของจิต" เท่านั้น
ถึงโลกใบนี้แตกไป ทุกข์มันก็ยังอยู่ "ตามสภาวะ" ของมัน!
จง"รู้จักทุกข์" ว่าหน้าตามันเป็นอย่างนี้ มันมาได้อย่างนี้ มันอยู่ของมันอย่างนี้ และมันก็เป็น-ก็อยู่ของมันอย่างนั้น
เพราะนี่คือ "ธรรมชาติ" อย่างหนึ่ง
เมื่อเรารู้จักมันแล้ว คือวางจิตอยู่เหนือมัน พูดง่ายๆ คือมันมีอยู่ แต่เราไม่ทุกข์กะมัน แค่นั้นเราก็มี "จิตอริยะ" แล้ว
ทุกข์" คือสะพานสู่ "สุข" ข้ามสะพานทุกข์ไปถึงอีกฝั่งแล้ว หันหลังกลับไปมอง "สะพานทุกข์" มันก็ยังอยู่ของมันอย่างนั้น รอให้คนอื่นๆ ใช้เป็นเส้นทางข้ามไปสู่อีกฝั่ง ต่อๆ ไปไม่สิ้นสุด
ถ้าไม่มี "ตัวทุกข์" โลกนี้ก็เห็นทีจะไม่มีคำว่า "นิพพาน"!?

2-
วันๆ เราไป "นิพพาน" กันหลายๆ หน!?
โดยพื้นฐานปกตินั้นใจของมนุษย์ทุกคนมันว่างๆ เปล่าๆ ไม่สุข ไม่ทุกข์ ไม่ร้อน ไม่หนาว ไม่รัก ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง ไม่อะไรทั้งนั้น ตามภาษาธรรมท่านเรียก "จิตเดิมแท้" นี้ว่า
"จิตประภัสสร"
เวลาที่เรารู้สึกเฉยๆ ว่างๆ ไม่รุ่มร้อนด้วยสุข-ด้วยทุกข์ ช่วงขณะที่รู้สึก "ว่าง" อย่างนั้น
นั่นแหละ กำลัง "นิพพาน"!
เรียกว่า "ตทังคนิพพาน" คือ นิพพานชั่วขณะ นิพพานชั่วครั้ง-ชั่วคราว พอ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไปปะทะกับ รูป รส กลิ่น เสียง สิ่งสัมผัสทางกาย สิ่งสัมผัสทางอารมณ์
เจ้าตัว "กิเลส ตัณหา อุปาทาน" มันลากใจให้กระเจิงตามมันไปเท่านั้นแหละ
นิพพานหายไป นรกเป็นที่อยู่ของใจทันที!
"วิกขัมภนนิพพาน" คือภาวะจิตสงบเย็นที่ยาวนานต่อเนื่อง แล้วถ้าใครใช้ปัญญาญาณบริหารจิต ฟาดฟัน-ประหาร กิเลส ตัณหา อุปาทาน ให้ถอนรากถอนโคนขาดสะบั้นลงไปได้ จิตก็จะเข้าสู่ภาวะ
"นิพพานัง ปรมัง สุญญัง"
เป็นพระอรหันต์ อยู่เหนือโลก เหนือทุกข์ "สิ้นเหตุ-สิ้นปัจจัย" ไม่ต้องเวียนว่ายอยู่ในทะเลทุกข์ชนิด "ไม่จบ-ไม่สิ้น" อีกต่อไป!
ที่ว่า "สูญ" นั้น สิ่งที่สูญไป คือ
กิเลส คือ โลภะ โทสะ โมหะ
ตัณหา คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา
อุปาทาน คือ การยึดมั่น-ทึกทักใน "ตัวกู-ของกู" ไม่รู้จักความจริงที่ว่า ทุกอย่างไม่เที่ยง ทุกอย่างเป็นทุกข์ และทุกอย่าง..ไม่มีตัวตนอะไรให้ยึด
"ตัวยึด" คือ "ตัวอุปาทาน" อันเป็นตัวลมๆ แล้งๆ ด้วยความโง่เขลาเท่านั้นเอง!
ใครก็ตาม ถ้าไม่มี "อุปาทาน" นั่นหมายความว่าบรรลุแล้วซึ่ง "อริยสัจจะ" ความจริงแท้ที่ทำให้มนุษย์อยู่เหนือโลก ๔ ประการ "ความจริงแท้" นั้นคือ
ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และ มรรค
ใครอยากรู้ว่า ในเมื่อนิพพานไม่ได้สูญ ฉะนั้น ภาวะนิพพานคืออะไร เป็นอย่างไร?
เรื่องนี้ท่านว่า "เล่นไม่ยาก"
แค่ไปให้ถึง "ตามทาง"
จิตเข้าสู่ภาวะอริยะเมื่อไหร่
รู้ได้-สัมผัสได้ "เฉพาะตัว" ผู้นั้น-เมื่อนั้น ทันที!
ท่านใดไปถึงแล้ว ขออาราธนาตรงนี้ โปรดกรุณามา "โปรดสัตว์" ผู้ยาก "คือผม" ด้วยเถิด!

3-
การปฏิบัติธรรม คือการทำงานอย่างคร่ำเครียด-คร่ำเคร่ง ชนิดไม่มีวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ไม่มีวันหยุดนักขัตฤกษ์ ไม่มีคำว่ากลางคืน ไม่มีคำว่ากลางวัน ไม่มีคำว่าร้อน ไม่มีคำว่าหนาว ไม่มีคำว่าหิว ไม่มีคำว่าอิ่ม ไม่มีคำว่าทุกข์-ทนไม่ได้ ไม่มีคำว่าสุข-จนล้นกระฉอก ไม่มีคำว่าฝนตก และไม่มีคำว่าแดดออก
เรียกว่า ตลอด ๒๕ ชั่ว ไม่มีเว้นแม่แต่วินาทีเดียวที่ "ผู้เคี่ยวกรำกิเลส" จะหยุดจากการทำงานในหน้าที่ของท่าน ทำงานด้วยเพียรพยายามโหมไฟเคี่ยวกรำประหารกิเลสให้มอดไหม้!
นั่ง-คือมหาสติปัฏฐาน พิจารณาลมหายใจเข้า-ออก จิตตามรู้อารมณ์ไม่คลาดคราแม้เสี้ยวของเสี้ยววินาที
เดิน-คือการเปลี่ยนอิริยาบถนั่งด้วย "จงกรม" จากจุดหนึ่งไปสู่อีกจุดหนึ่งในทางที่กำหนดวนรอบ "กลับไป-กลับมา" โดยสติไม่คลาดคราจากอารมณ์อยู่อย่างนั้นตลอดวัน ตลอดคืน
เมื่อจงกรมควรแก่การแล้ว ก็นั่งด้วยอานาปานสติ คือกำหนดลมหายใจเข้า-ออกตามมหาสติปัฏฐาน ซึ่งไม่ว่าจะอยู่ในอาการ นั่ง นอน กิน ดื่ม เดิน อานาปานสติ ตามหลักมหาสติปัฏฐาน
ไม่เคยขาดสายจากกันไปเลย!
นั่นคืองานทางจิตอันยิ่งยวดของพระอริยะ ดังที่สมเด็จพระจอมไตรบรมโลกนาถ "พระมหาสมณโคดม" ทรงกระทำต่อเนื่องตลอดวัน-ตลอดเวลา จนค้นพบ "อริยสัจจะ"
และทรงประกาศสอนเป็นสมบัติเพื่อมวลมนุษยชาติสู่ความเป็น "คนประเสริฐ" ตราบทุกวันนี้
นั่นคือ "ความสำเร็จ" อันโชติช่วงชัชวาลที่มาจาก "การทำงาน" โดยไม่ยอม "หยุดวัน-หยุดเวลา" ในการทำหน้าที่ของมนุษย์นั่นเอง!
เชื่อหรือไม่ "อริยสงฆ์" ร่วมยุค-ร่วมสมัยของเรา อย่างเช่น หลวงปู่มั่น เป็นต้นนั้น ท่านทำงานของท่านชนิดไม่มีอาหารตกถึงท้อง ชนิดไม่เคยเอนกายลงนอน
ติดต่อกันเป็นสัปดาห์ๆ หรือถึงเดือน!
ถึงแม้บางครา พระคุณเจ้าจะอยู่ในท่านอน นั่นก็อย่าว่าเข้าใจว่า "ท่านพักผ่อนนอนหลับ" ท่านเพียงแต่ให้ "กาย" อันเป็นที่อยู่ของจิตได้พักเท่านั้น
ขณะกายพัก จิตก็หาได้พักด้วยไม่ สติยังคุมจิตทำงานประหารกิเลสต่อเนื่องกันไปไม่หยุดหย่อน เหมือนน้ำตกที่ไหลโดยสายน้ำไม่เคยขาดตอน
ยิ่งตกก็ยิ่งสร้างพลังงาน ตกมากเท่าไหร่ พลังงานจิตก็ยิ่งเข้มข้น และจิตที่เข้มข้นนั้น คือ "ตัวแจ้งแห่งธรรม" ที่สว่างไสวไม่ขาดสายนั่นเอง
ถ้าสมเด็จพระจอมไตร และศิษย์ตถาคตผู้เป็น "พุทธบุตร" ทำงานแบบเช้าชาม-เย็นชาม เสาร์-อาทิตย์ก็หยุด หนาวนัก-ร้อนนัก ฝนตก-แดดออก ก็พักผ่อนนอนหลับ ป่านนี้..โลกจะไม่พบกับ "ธรรม"

4-
โลกนี้ มีแต่ "ทุกข์กับทุกข์" เป็นของแท้ เท่านั้น...!?

adapted from
http://www.thaipost.net/index.asp?bk=thaipost&post_date=2/Dec/2549&news_id=134245&cat_id=200