ที่มา https://www.facebook.com/supalak.ganjanakhundee/posts/484967511697852
จากโพสต์ของคุณ supalak.ganjanakhundee น่าสนใจมากในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
Anarchy ภาษาไทยคืออนาธิปัตย์ การเมืองระหว่างประเทศนั้นต่างจากการเมืองภายในตรงที่ว่าโลกนี้ยังไม่มีสิ่งที่เราเรียกกันว่า "อำนาจศูนย์กลาง" (central authority) องค์การสหประชาชาติก็ยังไม่ใช่ ยังทำหน้าที่นี้ไม่ได้ รัฐแต่ละรัฐจึงต้องหาทางปกป้องตัวเอง ในแง่นี้รัฐใหญ่มีกำลังเยอะก็ได้เปรียบ
Balance of power ดุลยภาพแห่งอำนาจ อันนี้เป็นผลมาจากข้อแรกคือเมื่อไม่มีใครจะมาปกป้องคุ้มครอง รัฐแต่ละรัฐก็แสวงหาเพื่อนมิตรและพันธมิตร การวิ่งเต้นสร้างสมดุลนี่เองที่เป็นแก่นสารของการเมืองระหว่างประเทศทุกวันนี้ เพราะถ้าเสียสมดุลเมื่อไหร่มันจะอันตรายมาก
Comparative Advantage ตำราเศรษฐศาสตร์ของไทยแปลว่า ความได้เปรียบในเชิงเปรียบเทียบ อันนี้เป็นแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์หมายความว่าเราสามารถทำในสิ่งที่คนอื่นทำไม่ได้ ตัวอย่างสิงคโปร์ไม่คิดจะปลูกข้าวแข่งกับไทย เพราะเขาไม่มีพื้นที่เพียงพอ ไม่มีแรงงานมาก ไม่มีทักษะ ไม่มีชาวนา (เพราะไม่มีใครอยากจนดักดาน ฮา) แต่เนื่องจากรัฐสมัยใหม่ชอบก๊อบปี้กัน เลยทำอะไรได้เหมือนๆกัน ปัจจุบันเลยมามุ่งแสวงหา competitiveness คือความสามารถในการแข่งขันซึ่งก็ไม่ค่อยได้ผลหรอกเพราะว่าเดี๋ยวสักพักคนอื่นก็ทำได้เหมือนกัน เช่นเมื่อก่อนมีคนมาลงทุนในประเทศไทยเยอะเพราะค่าแรงถูก ตอนหลังเวียดนามถูกกว่า จีนถูกกว่า พม่าลดภาษีเยอะกว่า นักลงทุนแห่ไปโน่นหมด แต่ตรงกันข้ามถ้าประเทศไทยมีอะไรที่ประเทศอื่นไม่มีถือเป็นการได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบและนั่นมันยั่งยืนกว่ากัน
Misperception & Miscalculation คือเข้าใจผิดและประเมินผิต เรื่องจริงคือว่าผู้นำของโลกนั้นโง่เหมือนกันหมด บางทีพวกเขาพาประเทศเข้าสู่สงครามเพราะทึกทักเอาว่าอีกฝ่ายจะโจมตี หรือ ประเมินภัยคุกคามผิดพลาด มอลต์บอกว่า การเมืองระหว่างประเทศ (ก็เหมือนกับการเมืองภายใน) ถูกขับดันด้วย ความกลัว ความโลภและความโง่ สองอย่างแรกนั้นพอเข้าใจได้มันเป็นธรรมชาติมนุษย์แต่อย่างที่สามซึ่งก็สำคัญพอกันมันจะเกิดขึ้นได้อย่างไรเพราะผู้นำต้องฉลาดถึงจะขึ้นสู่อำนาจได้หรือต่อให้โง่ก็ควรจะแวดล้อมด้วยคนฉลาด มีความรู้ มีการข่าวทีดี ไม่มีทางเลยที่ผู้นำจะโง่ได้ แต่ผู้นำอาจจะทำอะไรโง่ๆได้เสมอเพราะพวกเขามักขี้ขลาด คิดถึงแต่ความก้าวหน้าของตัวเองและที่สำคัญไม่สามารถใช้เหตุผลได้อย่างสมบูรณ์ (perfect rationality) เรื่องพวกนี้อาจจะจำยาก ศาสตราจารย์มอลต์แนะนำว่า "จงจำไว้เสมอว่า ปกติแล้วคนที่อยู่ในอำนาจไม่ค่อยรู้ตัวว่ากำลังทำอะไรอยู่"
Social Construction การสร้างสรรค์สังคม เรื่องนี้ก็เป็นธรรมชาติมนุษย์ในฐานะสัตว์สังคม คือเราจะคิดสร้างและสร้างใหม่อยู่เสมอๆ การปฏิวัติ ปฏิรูป การเปลี่ยนแปลงรูปแบบของความสัมพันธ์ระหว่างรัฐเกิดขึ้นเสมอๆทุกเมื่อเชื่อวัน ผู้นำแต่ละประเทศวิ่งวุ่นพบปะกันที่โน่นที่นี่ ไม่ใช่แค่เพื่อ 4 อย่างแรก แต่ก็มีอย่างสุดท้ายคือ พวกเขาอาจจะทำลายระเบียบเขาแต่ก็คิดสร้างระเบียบใหม่ๆอยู่เสมอๆด้วยเช่นกัน
นึกถึงประเทศไทยและการต่างประเทศของไทยในตอนนี้ประกอบไปด้วยจะช่วยให้เข้าใจการเมืองระหว่างประเทศได้ถ่องแท้มากขึ้น แต่ทว่า 5 นาทีคงไม่จบหรอก แค่อ่านบทความนี้ก็ 15 นาทีเข้าไปแล้ว กว่าจะทำความเข้าใจและเขียนออกมาได้นี่ก็ร่วมชั่วโมงแล้ว (บังเอิญว่าอังกฤษไม่แตกฉานและตัวอย่างที่ยกก็ไม่ได้มีในบทความหรอกนะ เตือนไว้ก่อน) แต่ก็ถือว่าเป็นความคิดรวบยอดที่ดี
จากโพสต์ของคุณ supalak.ganjanakhundee น่าสนใจมากในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
จบปริญญาตรีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศใน 5 นาที
ศาสตราจารย์ สตีเฟ่น เอ็ม มอลต์ ซึ่งเป็นผู้เอกอุทางด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของฮาร์วาร์ด เขียนบทความชื่อนี้ในเวปไซต์ Foreign Policy ว่าหัวใจของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนั้นมีแค่ 5 ข้อ ได้แก่
Anarchy ภาษาไทยคืออนาธิปัตย์ การเมืองระหว่างประเทศนั้นต่างจากการเมืองภายในตรงที่ว่าโลกนี้ยังไม่มีสิ่งที่เราเรียกกันว่า "อำนาจศูนย์กลาง" (central authority) องค์การสหประชาชาติก็ยังไม่ใช่ ยังทำหน้าที่นี้ไม่ได้ รัฐแต่ละรัฐจึงต้องหาทางปกป้องตัวเอง ในแง่นี้รัฐใหญ่มีกำลังเยอะก็ได้เปรียบ
Balance of power ดุลยภาพแห่งอำนาจ อันนี้เป็นผลมาจากข้อแรกคือเมื่อไม่มีใครจะมาปกป้องคุ้มครอง รัฐแต่ละรัฐก็แสวงหาเพื่อนมิตรและพันธมิตร การวิ่งเต้นสร้างสมดุลนี่เองที่เป็นแก่นสารของการเมืองระหว่างประเทศทุกวันนี้ เพราะถ้าเสียสมดุลเมื่อไหร่มันจะอันตรายมาก
Comparative Advantage ตำราเศรษฐศาสตร์ของไทยแปลว่า ความได้เปรียบในเชิงเปรียบเทียบ อันนี้เป็นแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์หมายความว่าเราสามารถทำในสิ่งที่คนอื่นทำไม่ได้ ตัวอย่างสิงคโปร์ไม่คิดจะปลูกข้าวแข่งกับไทย เพราะเขาไม่มีพื้นที่เพียงพอ ไม่มีแรงงานมาก ไม่มีทักษะ ไม่มีชาวนา (เพราะไม่มีใครอยากจนดักดาน ฮา) แต่เนื่องจากรัฐสมัยใหม่ชอบก๊อบปี้กัน เลยทำอะไรได้เหมือนๆกัน ปัจจุบันเลยมามุ่งแสวงหา competitiveness คือความสามารถในการแข่งขันซึ่งก็ไม่ค่อยได้ผลหรอกเพราะว่าเดี๋ยวสักพักคนอื่นก็ทำได้เหมือนกัน เช่นเมื่อก่อนมีคนมาลงทุนในประเทศไทยเยอะเพราะค่าแรงถูก ตอนหลังเวียดนามถูกกว่า จีนถูกกว่า พม่าลดภาษีเยอะกว่า นักลงทุนแห่ไปโน่นหมด แต่ตรงกันข้ามถ้าประเทศไทยมีอะไรที่ประเทศอื่นไม่มีถือเป็นการได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบและนั่นมันยั่งยืนกว่ากัน
Misperception & Miscalculation คือเข้าใจผิดและประเมินผิต เรื่องจริงคือว่าผู้นำของโลกนั้นโง่เหมือนกันหมด บางทีพวกเขาพาประเทศเข้าสู่สงครามเพราะทึกทักเอาว่าอีกฝ่ายจะโจมตี หรือ ประเมินภัยคุกคามผิดพลาด มอลต์บอกว่า การเมืองระหว่างประเทศ (ก็เหมือนกับการเมืองภายใน) ถูกขับดันด้วย ความกลัว ความโลภและความโง่ สองอย่างแรกนั้นพอเข้าใจได้มันเป็นธรรมชาติมนุษย์แต่อย่างที่สามซึ่งก็สำคัญพอกันมันจะเกิดขึ้นได้อย่างไรเพราะผู้นำต้องฉลาดถึงจะขึ้นสู่อำนาจได้หรือต่อให้โง่ก็ควรจะแวดล้อมด้วยคนฉลาด มีความรู้ มีการข่าวทีดี ไม่มีทางเลยที่ผู้นำจะโง่ได้ แต่ผู้นำอาจจะทำอะไรโง่ๆได้เสมอเพราะพวกเขามักขี้ขลาด คิดถึงแต่ความก้าวหน้าของตัวเองและที่สำคัญไม่สามารถใช้เหตุผลได้อย่างสมบูรณ์ (perfect rationality) เรื่องพวกนี้อาจจะจำยาก ศาสตราจารย์มอลต์แนะนำว่า "จงจำไว้เสมอว่า ปกติแล้วคนที่อยู่ในอำนาจไม่ค่อยรู้ตัวว่ากำลังทำอะไรอยู่"
Social Construction การสร้างสรรค์สังคม เรื่องนี้ก็เป็นธรรมชาติมนุษย์ในฐานะสัตว์สังคม คือเราจะคิดสร้างและสร้างใหม่อยู่เสมอๆ การปฏิวัติ ปฏิรูป การเปลี่ยนแปลงรูปแบบของความสัมพันธ์ระหว่างรัฐเกิดขึ้นเสมอๆทุกเมื่อเชื่อวัน ผู้นำแต่ละประเทศวิ่งวุ่นพบปะกันที่โน่นที่นี่ ไม่ใช่แค่เพื่อ 4 อย่างแรก แต่ก็มีอย่างสุดท้ายคือ พวกเขาอาจจะทำลายระเบียบเขาแต่ก็คิดสร้างระเบียบใหม่ๆอยู่เสมอๆด้วยเช่นกัน
นึกถึงประเทศไทยและการต่างประเทศของไทยในตอนนี้ประกอบไปด้วยจะช่วยให้เข้าใจการเมืองระหว่างประเทศได้ถ่องแท้มากขึ้น แต่ทว่า 5 นาทีคงไม่จบหรอก แค่อ่านบทความนี้ก็ 15 นาทีเข้าไปแล้ว กว่าจะทำความเข้าใจและเขียนออกมาได้นี่ก็ร่วมชั่วโมงแล้ว (บังเอิญว่าอังกฤษไม่แตกฉานและตัวอย่างที่ยกก็ไม่ได้มีในบทความหรอกนะ เตือนไว้ก่อน) แต่ก็ถือว่าเป็นความคิดรวบยอดที่ดี
No comments:
Post a Comment