ที่มา
https://www.facebook.com/1030548200366605/photos/a.1031137236974368.1073741828.1030548200366605/1169858023102288/?type=3
https://www.facebook.com/1030548200366605/photos/a.1031137236974368.1073741828.1030548200366605/1171716329583124/?type=3
https://www.facebook.com/1030548200366605/photos/a.1031137236974368.1073741828.1030548200366605/1172110069543750/?type=3
https://www.facebook.com/1030548200366605/photos/a.1031137236974368.1073741828.1030548200366605/1172981662789924/?type=3
https://www.facebook.com/1030548200366605/photos/a.1031137236974368.1073741828.1030548200366605/1169858023102288/?type=3
https://www.facebook.com/1030548200366605/photos/a.1031137236974368.1073741828.1030548200366605/1171716329583124/?type=3
https://www.facebook.com/1030548200366605/photos/a.1031137236974368.1073741828.1030548200366605/1172110069543750/?type=3
https://www.facebook.com/1030548200366605/photos/a.1031137236974368.1073741828.1030548200366605/1172981662789924/?type=3
ถ้าถามผมว่ามีประวัติศาสตร์ไทยยุคไหนน่าเอาไปทำทีวีซีรี่แบบเกาหลีญี่ปุ่น ผมคิดว่า ยุคสมัยของ จอมพล ป. + ปรีดี นั้นสนุกที่สุด
เริ่มต้นด้วยยุคเศรษฐกิจตกต่ำ ปลายสมัยสมบูรณาญาสิทธิราช
คนหนุ่มลูกหลานสามัญชนกลุ่มแรกๆที่ได้ไปเรียนเมืองนอก และได้เห็นว่าสยามล้าหลังขนาดไหนเป็นครั้งแรก ไปนั่งวางแผนเปลี่ยนแปลงประเทศกัน เป็นครั้งแรกที่นายทหาร กับนักวิชาการกฎหมาย ที่จะเป็นทั้งศัตรูและมิตรได้พบกัน
เริ่มไคลแม็กซ์ครั้งแรกที่การปฏิวัติเปลี่ยนการปกครอง ด้วยแผนของพระยาทรงฯ
(ฉากพีค คือตอนฝ่ายคณะราษฎรคนหนึ่งไปจับขุนนางชั้นผู้ใหญ่ ขุนนางสาปแช่งว่าเดี๋ยวพวกคณะราษฎรก็จะฆ่ากันเองเหมือนพวกคณะปฏิวัติของฝรั่งเศส / ฝ่ายคณะราษฏรตอบว่า ถ้ามันเป็นกงล้อขอประวัติศาสตร์ก็ให้มันเป็นเช่นนั้น แต่ประเทศของเราต้องก้าวต่อไป)
พวกคณะราษฎรฝ่ายที่มีอายุ (เช่นพระยาพหลฯ)ไม่เด็ดขาดแต่เป็นผู้กุมกำลัง มุ่งจะประณีประนอมกับฝ่ายขุนนาง เลยเอาฝ่ายขุนนางที่น่าจะคุยกันได้มาเป็นนายกฯ
ความสำเร็จของการปฏิวัติที่ไม่เด็ดขาด ทำให้เริ่มการต่อสู้ทางการเมืองระหว่าง คณะราษฎรกับกลุ่มขุนนางเก่า นำไปสู่การกดดันทางรัฐสภาพยายามปฏิวัติกลับด้วยวิธีทางการเมือง ด้วยการค่อยๆ ตัดถอนกำลัง ส่งปรีดีไปเรียนต่อ ส่งพระยาทรงไปเป็นทูตเมืองนอก จนถึงขั้นปิดรัฐสภา และยกเลิกรัฐธรรมนูญบางมาตรา โดยฝ่ายขุนนาง
ในที่สุดคณะราษฎรฝ่ายที่มีอายุก็ยอมคนหนุ่มและตอบโต้ขุนนางด้วยกำลัง ทำให้ฝ่ายขุนนางก่อกบฏบวรเดช และเกิดสงครามกลางเมืองขนาดเล็ก ซึ่งเป็นไคลแม็กซ์ที่สอง แต่หัวเมืองต่างๆ กลับสนับสนุนฝ่ายรัฐสภา เรื่องจึงจบลงด้วยชัยชนะอย่างเด็ดขาดโดยการบัญชาการรบ ของ ป. (เพราะพระยาทรงไม่อยู่)
นำไปสู่การอัญเชิญในหลวงที่ทรงพระเยาว์ และทรงนิยมความคิดแบบตะวันตก อย่าง ร.8 ขึ้นครองราช
จากนั้นก็เป็นการต่อสู้กันเองระหว่างเหล่าคณะราษฎรเพื่อตัดสินว่าทิศทางของประเทศจะไปทางไหน
ไคลแม็กซ์ที่ 3 เมื่อ จอมพล ป. ขึ้นสู่อำนาจ ด้วยการกำจัดมิตรที่ร่วมก่อการกันมาและเป็นนักยุทธศาสตร์ที่เก่งที่สุดอย่างพระยาทรงฯ
ทำให้เหลือกลุ่มที่ต่อสู้กันสองฝ่าย ระหว่างปีกนักวิชาการ+สังคมนิยม ของปรีดี กับฝ่ายทหาร ชาตินิยม + นายทุน ของ ป.
ผู้ที่กุมทั้งอำนาจทหาร และการเมืองคือ ป. - แต่ ปรีดี มีฐานะเป็นผู้สำเร็จราชการ เป็นทั้งพระอาจารย์และพระสหายคนสนิท
แผนการสร้างชาติไทยของ ป. ที่ตัดสินใจทำทุกอย่างให้เป็นมาตรฐานเดียว กำหนดชุดความเป็นไทยขึ้นบังคับใช้ ลบความต่างระหว่าง ไทย จีน ลาว มอญ แขก และเผ่าต่างๆทั้งหมดไป
พร้อมทั้งใส่มาตรฐานของยุโรปเข้ามาในประเทศ โดยเปลี่ยนเอาแนวคิดของศาสนาพุทธเข้าไป จนกลายเป็นค่านิยมไทย ผ่านการเร่งสร้างโรงเรียนกระจายไปทุกภูมิภาค
แม้จะถูกต่อต้าน เกิดความไม่พอใจ แต่มันก็ก่อรูปร่างประเทศไทยในปัจจุบันขึ้น
ในที่สุดกระแสของสงครามโลกครั้งที่สองก็เข้ามาในประเทศไทย
สงครามอินโดจีนที่ไทยเอาชนะชาติตะวันตกได้เป็นครั้งแรกและครั้งเดียวของไทย
การเอาตัวรอดภายใต้มหาอำนาจสองฝั่ง เมื่อญี่ปุ่นเข้ามาในไทย
ระหว่าง ป. นายกฯ ที่เป็นพันธมิตรญี่ปุ่น / ปรีดี ผู้สำเร็จราชการ หัวหน้าเสรีไทย ที่เป็นพันธมิตรอังกฤษ-อเมริกา
ไคลแม็กซ์ที่ 4 เมื่อสงครามจบลงด้วยชัยชนะของสัมพันธมิตร ป. พ้นจากอำนาจ และปรีดีขึ้นสู่อำนาจแทน
ท่ามกลางความต้องการจะแบ่งครอบครองไทยของอังกฤษและฝรังเศส การเจรจาของปรีดีต่อประเทศฝ่ายสัมพันธมิตร ทำให้ไทยไม่แพ้สงครามและรักษาเอกราชได้ แลกกับการยกเลิกผลของสงครามอินโดจีน
แต่ฝ่ายทหารที่ใหญ่ขึ้นมากในช่วงส่งครามโลกครั้งที่สอง ก็ไม่พอใจนโยบายของปรีดี และไม่เข้าใจว่าเป็นการปกป้องเอกราชของชาติอย่างไร
ปรีดีตัดสินใจ ช่วยเหลือ ป. แทนที่จะประหารตามคำเรียกร้องของฝ่ายฝรั่งเศส
ไคลแม็กซ์ที่ 6 แผนโค่นล้มปรีดี การสวรรคต และการกลับมาอีกครั้งของ ป. ปรีดีต้องจากไทยไปตลอดกาล
เรื่องเข้าสู่ยุคสมัย ของ ป. ที่ถูกท้าทายด้วยอำนาจของลูกน้องตัวเองจากฝ่ายตำรวจ และฝ่ายทหาร
ป.พยายามจะสานสัมพันธ์กับฝ่ายนักศึกษาที่เป็นผู้สนับสนุนของ ปรีดี แต่ไม่สำเร็จ
ซึ่งจบลงที่ไคลแม็กซ์ที่ 7 คือป.ถูกหักหลังโดยลูกน้องของตัวเอง จบยุคสมัยของจอมพล ป.
ฉากจบของเรืองคือ จดหมายที่ ป. เขียนที่ญี่ปุ่น ถึง ปรีดีที่อยู่ที่ฝรั่งเศสว่า "ท่านอาจารย์ พวกเราได้ทำทุกอย่างที่เราเห็นควรว่าเพื่อประเทศชาติแล้ว ในโลกนี้คงจะมีเพียงท่านเท่านั้นที่เข้าใจข้าพเจ้า..."
เป็นความขัดแย้งระหว่างแนวทาง อนุรักษ์นิยมของขุนนาง - ชาตินิยมของ ป. - สังคมนิยมของปรีดี ทั้งหมดทำไปเพื่อประเทศชาติ และความอยู่ดีกินดีของประชาชน เพียงแค่มีความคิดและนิยามที่แตกต่าง
เป็นช่วงประวัติศาสตร์ที่เต็มไปด้วยตัวละครที่มีสีสัน การต่อสู้ทั้งสงครามและการเมือง การปะทะกันของอุดมการ มิตรภาพระหว่างศัตรู ความพยายามสร้างชาติ การเปลี่ยนแปลงหรือเก็บรักษา และจบลงด้วยความอนิจจังของชีวิต
น่าเสียดายที่มันถูกพยายามไม่พูดถึง ทั้งๆที่จริงๆแล้ว มันมีความอีพิคด้วยตัวของมันเองมากๆเลยครับ
.
.
.
ทำเป็นละครซีรี่ได้ 13 ตอน
1. การพบกันของคนหนุ่ม - ปัญหาเศรษฐกิจ และความล้าสมัยของสยาม - จบด้วยการตกลงเตรียมปฏิวัติ
2. การวางแผนและปฏิวัติจริง ลุ้นตอนปฏิวัติ - จบด้วยความสำเร็จ
3. ความพยายามประนีประนอมของคณะราษฎรสายมีอายุ - การต่อต้านของฝ่ายขุนนาง การสั่งปิดรัฐสภาของฝ่ายขุนนาง - ความตึงเครียด - จบด้วยคณะราษสายมีอายุเชื่อคนหนุ่มตัดสินใจรัฐประหารคืนอำนาจให้รัฐสภา
4. ความไม่พอใจทนไม่ได้ของฝ่ายขุนนาง - นำไปสู่กบฏบวรเดช - การบัญชาทัพของ ป. - จบด้วยชัยชนะ
5. ร.8 เสด็จถึงไทยครั้งแรก - ความขัดแย้งกันทางความคิดของคณะราษฎร - ป.ตัดสินใจกำจัดพระยาทรงฯ - ความตายของพระยาทรงฯที่เขมร - ในขณะที่ ป. ขึ้นสู่อำนาจ
6. ความขัดแย้งระหว่าง ป. กับ ปรีดี - แผนสร้างชาติของ ป. - คนไม่พอใจต่อต้าน - เกิดกบฏปฏิเสธโรงเรียนรัฐในอีสาน - จบด้วยคำสั่งประหารกบฏของ ป. เพื่อยุคสมัยใหม่
7. เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มขึ้น ป.เริ่มรณรงค์รักชาติ ประวัติศาสตร์เสียดินแดน และประกาศสงครามโจมตีอินโดจีน - จบลงที่ญี่ปุ่นเข้าไกล่เกลี่ยและชัยชนะของไทยที่มีต่อฝรั่งเศส
8. ญี่ปุ่นเริ่มยิ่งใหญ่ และบุกเข้าตีไทย - ทหารไทยต่อต้านการยกพลขึ้นบก - การเปิดรัฐสภาประชุมเร่งด่วนกลางดึก - จบด้วยการตัดสินใจเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น
9. ไทยภายใต้การเข้ามาของญี่ปุ่น ปรีดีตั้งเสรีไทย นายพลโตโจของญีปุ่นมาเยือนไทย พบปรีดีและ ป. ที่ธรรมศาสตร์ โดยไม่รู้เลยว่าเป็นฐานใหญ่ของเสรีไทย (ลุ้นว่าโตโจจะจับได้มั้ยว่าทุกคนตรงนั้นเป็นพวกเสรีไทย)
10. ไทยถูกฝ่ายสัมพันธมิตรโจมตีหนัก ญี่ปุ่นแพ้สงคราม ป.ตัดสินใจลาออก
11. ปรีดีขึ้นสู่อำนาจ เจรจาเพื่อให้ไทยเป็นเอกราช ตัดสินใจยกโทษให้ ป. - ปรีดีถูกรัฐประหารพ้นอำนาจ
12. ป.ขึ้นสู๋อำนาจรอบใหม่ และรู้ตัวว่าเป็นแค่หุ่นเชิด ไม่สามารถควบคุมลูกน้องไม่ให้คอรัปชั่นได้ เพราะอำนาจไม่อยู่กับ ป.แล้ว ตอนจบลูกน้องบอกกับ ป. ว่ายุคสมัยมันเปลี่ยนไปแล้ว - ป. คิดถึงตอนที่ตัวเองพูดกับพวกขุนนางตอนเป็นหนุ่ม
13. ป. พยายามสานสัมพันธ์กับนักศึกษา แต่ไม่เป็นผล คนต่อต้าน ป. และในที่สุดก็ถูกรัฐประหาร - ป. คิดถึงคนอื่นๆทุกคนที่เคยโดน ตัวเองเล่นงานไป - ฉากจบ คนญี่ปุ่นมารับตอนลี้ภัย และเขียนจดหมายถึงปรีดี
---------------------------------------------------------------------------
.
.
.
ทำเป็นละครซีรี่ได้ 13 ตอน
1. การพบกันของคนหนุ่ม - ปัญหาเศรษฐกิจ และความล้าสมัยของสยาม - จบด้วยการตกลงเตรียมปฏิวัติ
2. การวางแผนและปฏิวัติจริง ลุ้นตอนปฏิวัติ - จบด้วยความสำเร็จ
3. ความพยายามประนีประนอมของคณะราษฎรสายมีอายุ - การต่อต้านของฝ่ายขุนนาง การสั่งปิดรัฐสภาของฝ่ายขุนนาง - ความตึงเครียด - จบด้วยคณะราษสายมีอายุเชื่อคนหนุ่มตัดสินใจรัฐประหารคืนอำนาจให้รัฐสภา
4. ความไม่พอใจทนไม่ได้ของฝ่ายขุนนาง - นำไปสู่กบฏบวรเดช - การบัญชาทัพของ ป. - จบด้วยชัยชนะ
5. ร.8 เสด็จถึงไทยครั้งแรก - ความขัดแย้งกันทางความคิดของคณะราษฎร - ป.ตัดสินใจกำจัดพระยาทรงฯ - ความตายของพระยาทรงฯที่เขมร - ในขณะที่ ป. ขึ้นสู่อำนาจ
6. ความขัดแย้งระหว่าง ป. กับ ปรีดี - แผนสร้างชาติของ ป. - คนไม่พอใจต่อต้าน - เกิดกบฏปฏิเสธโรงเรียนรัฐในอีสาน - จบด้วยคำสั่งประหารกบฏของ ป. เพื่อยุคสมัยใหม่
7. เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มขึ้น ป.เริ่มรณรงค์รักชาติ ประวัติศาสตร์เสียดินแดน และประกาศสงครามโจมตีอินโดจีน - จบลงที่ญี่ปุ่นเข้าไกล่เกลี่ยและชัยชนะของไทยที่มีต่อฝรั่งเศส
8. ญี่ปุ่นเริ่มยิ่งใหญ่ และบุกเข้าตีไทย - ทหารไทยต่อต้านการยกพลขึ้นบก - การเปิดรัฐสภาประชุมเร่งด่วนกลางดึก - จบด้วยการตัดสินใจเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น
9. ไทยภายใต้การเข้ามาของญี่ปุ่น ปรีดีตั้งเสรีไทย นายพลโตโจของญีปุ่นมาเยือนไทย พบปรีดีและ ป. ที่ธรรมศาสตร์ โดยไม่รู้เลยว่าเป็นฐานใหญ่ของเสรีไทย (ลุ้นว่าโตโจจะจับได้มั้ยว่าทุกคนตรงนั้นเป็นพวกเสรีไทย)
10. ไทยถูกฝ่ายสัมพันธมิตรโจมตีหนัก ญี่ปุ่นแพ้สงคราม ป.ตัดสินใจลาออก
11. ปรีดีขึ้นสู่อำนาจ เจรจาเพื่อให้ไทยเป็นเอกราช ตัดสินใจยกโทษให้ ป. - ปรีดีถูกรัฐประหารพ้นอำนาจ
12. ป.ขึ้นสู๋อำนาจรอบใหม่ และรู้ตัวว่าเป็นแค่หุ่นเชิด ไม่สามารถควบคุมลูกน้องไม่ให้คอรัปชั่นได้ เพราะอำนาจไม่อยู่กับ ป.แล้ว ตอนจบลูกน้องบอกกับ ป. ว่ายุคสมัยมันเปลี่ยนไปแล้ว - ป. คิดถึงตอนที่ตัวเองพูดกับพวกขุนนางตอนเป็นหนุ่ม
13. ป. พยายามสานสัมพันธ์กับนักศึกษา แต่ไม่เป็นผล คนต่อต้าน ป. และในที่สุดก็ถูกรัฐประหาร - ป. คิดถึงคนอื่นๆทุกคนที่เคยโดน ตัวเองเล่นงานไป - ฉากจบ คนญี่ปุ่นมารับตอนลี้ภัย และเขียนจดหมายถึงปรีดี
---------------------------------------------------------------------------
ช่วงนี้เห็นมีข่าวคนพยายามจะล้มล้างผลพวงจากการเปลี่ยนแปลงของคณะราษฎร แล้วก็มีฝ่ายนิยมคณะราษฎรมาเถียงกันบ้าง
ฝ่ายที่บอกว่านิยมคณะราษฎร จริงๆแล้วไม่ใช่หรอก ต้องบอกว่าเป็นฝ่ายนิยมปรีดีมากกว่า
อันที่จริง คนในคณะราษฎรที่สร้างมรดกตกทอดมายังปัจจุบันมากที่สุดคือจอมพล ป. ครับ
จอมพล ป. เป็นนายกอยู่เกือบ 15 ปี สิ่งสำคัญที่สุดที่ ป. สร้าง ขึ้นคือ "ประเทศไทย" ครับ
จริงๆถ้าทุกคนไม่เกลียด ป. แกต้องได้เป็น Father of the Nation
ป. ทำอะไรไปบ้าง?
.
.
1. เปลี่ยนชื่อประเทศจากสยามเป็นไทย เปลี่ยนเพลงชาติ สั่งให้เคารพธงชาติทุกเช้า เป็นจุดเริ่มของความคิดชาติไทยในหัวทุกคน
.
.
2. สั่งให้ทุกเผ่าพันธุ์ในประเทศ กลายเป็นคนไทยให้หมด
.
.
1. เปลี่ยนชื่อประเทศจากสยามเป็นไทย เปลี่ยนเพลงชาติ สั่งให้เคารพธงชาติทุกเช้า เป็นจุดเริ่มของความคิดชาติไทยในหัวทุกคน
.
.
2. สั่งให้ทุกเผ่าพันธุ์ในประเทศ กลายเป็นคนไทยให้หมด
มันมีเรื่องเล่าคลาสสิคว่า แม่บ้านที่มาเรียนภาษาไทยของโครงการช่วยเหลือแรงงานคนหนึ่งบ่นให้อาจารย์สอนภาษาฟังว่า
"อาม่าเนี่ยชอบด่าหนูว่า พวกพม่า เผ่ากรุง ไว้ใจไม่ได้ หนูเถียงอาม่าไม่ได้ แต่อยากจะบ่นให้อาจารย์ฟังว่า อาม่า เนี่ย สมัยกรุงถูกเผาบ้านแกยังอยู่ซัวเถาอยู่เลย แล้วสำคัญคือหนูไม่ใช่พม่า หนูเป็นไทยใหญ่"
สมัยก่อนในประเทศเราแบ่งเป็น ไทย ลาว จีน ญวน มอญ ไทใหญ่ ภูไท ฯลฯ ทุกเผ่ามีภาษา มีวัฒนธรรมเป็นของตัวเอง
ถ้าใครเคยไป สิงคโปร มาเลเซีย จะเข้าใจครับ ว่าแต่ล่ะเผ่าจะอยู่แยกกันอยู่ มีชุมชนของตัวเอง พูดภาษาของตัวเองเป็นภาษาหลัก และใช้ภาษาอังกฤษคุยกัน การแต่งงานข้ามเผ่า เป็นเรื่องลำบาก
แต่ ป. สั่งเลยว่าทุกคนต้องเป็นคนไทยให้หมด ให้เป็น ไทยลาว ไทยจีน ไทยญวน และให้ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาหลัก และบังคับให้เรียนในโรงเรียนรัฐที่สอนภาษาไทย
ช่วงแรกเกิดการต่อต้าน ยกตัวอย่างกบฏที่อีสาน แต่ตัวหัวหน้าโดนประหารเรียบ ผลคือจากนั้นมาคนลาวต้องเรียกตัวเองว่าไทยอีสาน ห้ามเป็นคนลาว ผ่านมาหกสิบกว่าปีคนแถวนั้นก็ลืมไปแล้วว่าตัวเองเคยเป็นลาว
มีการบังคับให้ใช้ชื่อไทยด้วย พวกคนลาว มอญ ฯลฯ ที่ไม่มีนามสกุลไม่มีปัญหากับเรื่องนี้ แต่จีนตอนแรกก็มีคนต่อต้าน หลังๆก็ยอมกันหมด แล้วก็เปลี่ยนแซ่เป็นนามสกุลไทย ใช้ชื่อไทยกัน
คนไทยจะงงๆ ไม่เข้าใจว่าทำไมบางประเภทมีหลายเผ่าพันธ์อยู่ด้วยกัน ทำไมอยู่ในประเทศอังกฤษ ถึงไม่เป็นคนอังกฤษหมดล่ะ ทำไมแบ่งเป็นสก็อต เป็นอังกฤษด้วย คาตาลันก็สเปนมั้ย อะไรแบบนี้
.
.
3. ก่อตั้งประเพณีไทยทั้งหมด ตั้งแต่การทักทาย การแต่งกาย ค่านิยม การใช้ชีวิต
.
.
3. ก่อตั้งประเพณีไทยทั้งหมด ตั้งแต่การทักทาย การแต่งกาย ค่านิยม การใช้ชีวิต
- สมัยก่อน ป. เวลาเจอกัน ไทบ้านเขาไม่ยกมือไหว้พูดว่า "สวัสดี" นะครับ แต่ละพื้นถิ่นจะมีวิธีทักทายต่างกันไป
เท่าที่ผมอ่านงานมานุษยวิทยา คิดว่าเมื่อก่อนน่าจะเอามือแตะหูตัวเองเหมือนพยายามฟังเสียง (ยังมีทำต่อๆกันมาเป็นทำเนียมในตอนเริ่มของวงหมอลำ ซึ่งคนเข้าใจว่าเป็นการเช็คเสียง) แล้วถามว่า "กินข้าวหรือยัง?"
- จัดการแต่งกายให้ใหม่หมด สมัยก่อนไทยเราแต่งกายคือเปลือยอก (ทั้งชายและหญิง) นุ่งผ้าโจงกระเบน หรือถ้าเป็นทางเหนืออีสานขึ้นมา ผู้หญิงจะนุ่งซิ่นครับ (ไปดูแบบได้จาก พม่า และลาว)
จอมพล ป. สั่งใหม่เปลี่ยนไปใส่ กางเกง กับกระโปรงแบบยุโรป
ผู้ชายถูกบังคับให้ใส่เสื้อออกจากบ้านทุกคน ผู้หญิงก็เปลี่ยนไปใส้เสื้อ ตามแบบที่กำลังฮิตกันในยุโรป
บังคับใส่รองเท้าด้วย เมื่อก่อนไม่มีใครใส่กันหรอก
ทรงผมก็ถูกบังคับให้ตัดรองทรงแบบทหารยุโรป กับทรงบ๊อบผมสั้น หรือรวบผมยาว แบบที่กำลังฮิตในยุโรปด้วย
ทรงติ่งหูนักเรียนหญิงนี่สมัยก่อนฮิตในยุโรปเลยนะครับทันสมัยมาก ส่วนทรงนักเรียนชายนั้นเป็นแฟชั่นมาจากญี่ปุ่น
คือสมัย 60 ปี ที่แล้ว ป. เลือกเอาทรงที่ฮิตที่สุดในสมัยนั้นมาให้แล้ว แค่ว่าผ่านไป 60 ปีมันไม่ฮิตแล้วเท่านั้นเอง
- วัฒนธรรมการกินอาหาร
เมื่อก่อนคนไทยใช้มือกินข้าว ป. เป็นคนสั่งให้ใช้ช้อนส้อมเท่านั้น อย่างน้อยที่สุดต้องมีช้อน
จริงๆอันนี้เป็นการบังคับให้เลิกเป็นจีน และ ญวนด้วย ลูกคนจีนต้องเลิกใช้ตะเกียบนอกบ้าน
- ป. จัดการกับค่านิยมครอบครัวใหม่
โดยบังคับให้เชิดชูครอบครัวแบบ ผัวเดียว-เมียเดียว ผู้ชายเป็นใหญ่ เป็นผู้ทำงานเลี้ยงครอบครัว เป็นผู้ตัดสินใจเรื่องในครอบครัว
ครอบครัวต้องสามัคคีกัน เคารพผู้ใหญ่ ลูกหลานเลี้ยงดูพ่อแม่ มีประเพณีรดน้ำดำหัววันสงกรานต์ ฯลฯ
- ยกเลิกวัฒนธรรมเก่าที่ "ไร้อารยธรรม" หรือ ผิดกฎหมาย
ห้ามเคี้ยวหมาก กำจัดวัฒนธรรมเมียฉุด ห้ามเฆี่ยนลงโทษคนในปกครองเองโดยไม่ใข้เจ้าหน้าที่รัฐ ฯลฯ
แต่ ป. ก็ห้ามไปถึงอะไรที่บางทีก็ไม่ได้แย่ด้วย เช่นพวกการนั่งพื้น การนั่งพื้นเล่นดนตรี ฯลฯ
เราจะเห็นการปะทะกันของวัฒนธรรมจอมพล ป. กับ วัฒนธรรมเก่า ในหนังเรื่องโหมโรง แต่ ต้องยอมรับว่า ของเก่ามันมีส่วนที่ไม่ดีและจอมพล ป. ล้างไปเยอะอยู่เหมือนกัน
- วันหยุด ตลาดนัด ฟุตบอล งานวัด
เมื่อก่อน ชาวบ้านไม่ได้สนใจตาราง จ อ พ พฤ ศ อะไรไง ก็ไปทำนาทุกวัน
ป. จัดระบบปฏฺิทินใหม่ ใช้ตามยุโรป เปลี่ยนวันปีใหม่เป็นวันที่ 1 ม.ค. จากวนสงกรานต์
ในบ้านนอกวันหยุดมันเกิดขึ้นครั้งแรก กับข้าราชการ และโรงเรียน
นอกจากนั้น จอมพล ป. ยังกำหนดด้วยว่า วันหยุดให้ไปวัดนะ ไปเดินตลาดนะ ให้ไปเล่นกีฬาฟุตบอลนะ
วัดเลยต้องปรับเปลี่ยนตามเจ้านายข้าราชการทั้งหลาย เกิดตลาดนัด เกิดสนามฟุตบอลในโรงเรียน และหน้าสถานที่ราชการ
ฟุตบอลเลยเป็นกีฬาเดียวที่เด็กๆรู้จัก แล้วก็ฮิตมาในหมู่คนไทย
ส่วนงานวัด งานกาชาด ก็เกิดจากคำสั่งให้จัดงานวันรัฐธรรมนูญ ตามแบบคาร์นิวัลฝรั่ง มีซุ้มขายของ กาชาด ประกวดนางงามอะไรก็ว่าไป ทุกวันนี้ บางอำเภอยังมีอยู่ก็เปลี่ยนไปจัดช่วงปีใหม่แทน ของบางจังหวัดก็เปลี่ยนเป็นงานประจำจังหวัด แบบไม่กำหนดวัน
.
.
4. จอมพล ป. ก่อร่างประวัติศาสตร์ของชาติไทยใหม่
.
.
4. จอมพล ป. ก่อร่างประวัติศาสตร์ของชาติไทยใหม่
นโยบายชาตินิยมนั้น ไทยจำเป็นจะต้องมีประวัติศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ เป็นความคิดร่วมเพื่อความภูมิใจ และเป็นหนึ่งเดียวกันของไทย
ทุกเมืองต้องมีอนุเสาวรีที่สร้างความรักชาติ พร้อมตำนานเรื่องราว
หลวงวิจิตรวาทการ คือบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย เพราะประวัติศาสตร์ที่ป็อบกันอยู่ในทุกวันนี้แกเป็นคนแต่งทั้งนั้น
ประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นเช่น
- ชาวบ้านบางระจัน
- ชาวบ้านบางระจัน
- ท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร
- ย่าโม
- พ่อขุนรามคำแหงเป็นคนไทย
- แนวคิดแผนที่ประเทศไทยที่ใหญ่ๆ กินไปทั้งเขมร ลาว และประวัติศาสตร์การเสียดินแดน 10 ครั้ง ที่เรานั่งดูกันเป็นคลิป ก็เกิดขึ้นตอนที่ ป. คิดจะไปตีฝรั่งเศส
ประวัติศาสตร์ไทยในโรงเรียน ประถม - มัธยม ฝีมือ ป. ทั้งนั้นแหละ
วิธีการเลือกเขียนประวัติศาสตร์ของหลวงวิจิตรฉลาดมาก อย่างทำไมโคราช ต้องเป็นย่าโม ทำไมชัยภูมิต้องเป็นพระยาภักดีชุมพล เพราะเป็นพื้นที่ที่มีลาวเยอะ เลยต้องเลือกประวัติศาสตร์ที่ต่อต้านลาวไง ให้คนลาวเรียกว่าบรรพบุรุษตัวเองต่อต้านลาว จะได้เกลียดลาว แล้วกลายเป็นคนไทย
สุดท้ายมันจะจบที่ บรรพบุรุษเราต่อสู้หลั่งเลือดปกป้องแผ่นดินไทยมา รักชาติกันเถอะเสมอ
.
.
5. ศาสนาพุทธ
.
.
5. ศาสนาพุทธ
จริงๆทั้ง ป. และ ปรีดี เป็นคนเคร่งศาสนา
ป. รวมเอา ศาสนาพุทธเข้าสู่ความเป็นชาติไทย ในสามสีของธงชาติ ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ - ศาสน์ ที่ว่าหมายถึงพุทธ
ป. ตั้งโครงการแปลพระไตรปิฏกเป็นภาษาไทย (ก่อนนี้เป็นบาลี)
โรงเรียนของรัฐให้เด็กทุกคนสวดมนต์ และเรียนพิธีกรรม คำสอนของศาสนาพุทธ
ป. ยังจัดให้มี องค์กรสงฆ์ เพื่อร่วมพลังในการขยายศาสนา และงบประมาณในการสร้างวัดเพิ่ม
เป้าหมายหลัก ที่ ป. สู้ด้วยคือ ศาสนาถือผี และกีดกันพวกถือผีด้วยข้อหาเป็นวัฒนธรรมเก่าไม่อารยะ
ศาสนาพุทธถูกจัดเป็นเอกลักษณ์หนึ่งของคนไทย คนไทยต้องนับถือพุทธ
ในช่วงที่ ป. ทำสงครามกับฝรั่งเศส ความคิดนี้ทำให้คนไทยกดขี่ชาวคริสต์อย่างหนัก เพราะคิดว่าพวกนับถือคริสต์เนี่ยนิยมฝรั่งแน่ๆ ทำให้มีการเผาโบสถ์และมีคนโดนยิงตายเพราะไม่ยอมเปลี่ยนศาสนาไป7คน ทุกวันนี้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่โบสถ์สองคอน มุกดาหาร
วัฒนธรรมพระเครื่องยังเริ่มสมัย จอมพล ป. ด้วยครับ เพราะสมัยนั้นมีเครื่องพิมพ์แล้ว กลายเป็นของดีเมืองไทยจนทุกวันนี้
.
.
6. กองทัพไทยสมัยใหม่
.
.
6. กองทัพไทยสมัยใหม่
จอมพล ป. น่าจะเป็นแม่ทัพไทยคนเดียวที่รบชนะยุโรป จริงๆจังๆ มีอนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ตั้งเด็นเป็นสง่าฉลองชัยชนะที่มีต่อฝรั่งเศสในสงครามอินโดจีน (คนกรุงเทพผ่านแทบทุกวัน แต่ไม่ค่อยรู้กันว่าชัยสมรภูมิไหน)
แนวคิดทางยุทธศาสตร์ภาพรวมของ ป. ค่อนข้างดีจริงๆ คือรู้ว่าใครอ่อนแอให้ตี ใครแข็งแกร่งให้เป็นพันธมิตร
และด้วยการสนับสนุนของญี่ปุ่น กองทัพไทยในสมัยสงครามโลกนั้นใหญ่ขึ้นอีก 10 เท่าตัว จากก่อนหน้านั้น และค่อนข้างทันสมัย ในมาตรฐานสมัยนั้น
กองทัพไทยมีศักยภาพพอที่จะผลิตบุคลากรได้ด้วยตัวเอง เลยไม่ได้ส่งนายทหารไปเรียนเมืองนอกอีกแล้ว
พอสงครามโลกครั้งที่สองจบลง รัฐบาลพลเรือนต้องการจะยุบ แต่ทำไม่ได้ ผลคือกองทัพก็รัฐประหารเอา ป. กลับมาอีกครั้ง
แต่ ป. เองก็ควบคุมลูกน้องตัวเองที่กุมกำลังจริงๆไม่ได้ และลูกน้องรุ่นต่อๆมาๆไม่ได้จบนอกเหมือน ป.
อย่างไรก็ตาม แนวคิดชาตินิยมและประวัติศาสตร์ แบบ ป. ก็ฝังลงในกองทัพแล้ว
.
.
7. ป. พยายามสร้างวัฒนธรรม ประชาธิปไตยแบบ ป. ซึ่งไม่สำเร็จ
.
.
7. ป. พยายามสร้างวัฒนธรรม ประชาธิปไตยแบบ ป. ซึ่งไม่สำเร็จ
เป็นประชาธิปไตยที่เชิดชูรัฐธรรมนูญ พยายามทำให้เป็นสถาบันหลักทางการเมือง
อันที่จริงในสมัย ของ ป. นั้น มีรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้งเปิดทำการตลอด แม้ในสมัยสงคราม
ทุกครั้งที่ จะออกกฎหมายอะไร ป. จะเสนอต่อรัฐสภา และถ้าไม่ผ่านก็จะลาออก (ซึ่งรัฐสภาก็จะเลือก ป. กลับมา)
ป. ลาออกบ่อยมากๆ แต่ก็กลับมาทุกครั้ง
แต่ถึงแบบนั้น ป. ก็ไม่ได้ประชาธิปไตย 100% เพราะมันขัดแย้งกับความเป็นฟาสซิสม์ของแกเอง ป. เลยไปหาทางจัดการกับ ส.ส. ที่เป็นศัตรูทางการเมืองของแก มากกว่าจะปิดสภา
แต่มันก็ดีกว่าสมัยต่อๆมา ที่ไม่มีสภาซึ่งมาจากการเลือกตั้งเลย
.
.
ดังนั้นจึงเป็นไม่ได้เลย ที่จะยกเลิกมรดกของ คณะราษฎร
.
.
ดังนั้นจึงเป็นไม่ได้เลย ที่จะยกเลิกมรดกของ คณะราษฎร
คนที่คิดแบบที่ ป. สร้างขึ้น ไม่เชื่อด้วยซ้ำว่านั่นเป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้น
เพราะสุดท้ายแล้ว พวกฝ่ายที่บอกว่าตัวเองเกลียดคณะราษฎร ก็เกลียดโดยยืนอยู่บนมรดกของ ป.
สุดท้ายประเทศไทยก็เป็นการตีกันของฝ่ายขวาซึ่งเป็นมรดกที่ ป. สร้างไว้ กับ ฝ่ายซ้ายที่เป็นมรดกของ ปรีดี อยู่ดี
แต่ทั้งๆที่ ป. ยิ่งใหญ่ขนาดนี้ แต่ใครๆก็เกลียด ป. ฝ่ายขวาเขาหันไปนิยมสถาบันกษัตริย์เลยเกลียด ป. ที่เป็นคณะราษฎร ส่วนซ้ายก็เกลียดเผด็จการฟาสซิสม์มาแต่ไหนแต่ไร
ซึ่งจริงๆก็สมควรที่จะโดนทุกคนเกลียด เพราะ ป. เนี่ย ทั้งเนรเทศ ทั้งลอบสังหาร ทั้งสั่งประหาร เยอะแยะ
จริงๆตอนที่เรียนผมก็เกลียด ป. หนักอยู่เหมือนกัน ป. ทำให้ คนลาวในไทยสูญสิ้นวัฒนธรรม และความภาคภูมิใจของเผ่าพันธ์ ไม่ยอมรับว่าตัวเองเป็นลาว
แต่มันช่วยไม่ได้ ถึงเราจะเป็นลาว จีน ญวน หรืออะไร แต่เราก็ถูกทำให้เป็นไทย แบบ ป. ไปแล้ว
สิ่งนี้ทำให้เกิดวัฒนธรรมผสมผสานขึ้น (ที่เรียกว่า วัฒนธรรมอีสาน วัฒนธรรมไทยจีน ฯลฯ)
พอคิดดีๆ ผมก็ไม่ได้ชอบวัฒนธรรมเก่าขนาดนั้น
สุดท้ายแล้ว มันเลยอยู่ที่ตัวของเราในปัจจุบันเองว่าจะสร้างวัฒนธรรมอย่างไรขึ้นในอนาคต
----------------------------------------------------------------------------------------------------
----------------------------------------------------------------------------------------------------
เราน่าจะคุยเคยกับงานฝั่งอนุรักษ์นิยมอย่าง 4 แผ่นดิน ของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์
ฝ่าย ป. มี หลวงวิจิตรวาทการ พระยาอนุมานราชธน ที่อ่านงานได้ตามหนังสือเรียนสังคม
แล้วฝ่ายปรีดีล่ะ?
นักเขียนที่มีชื่อเสียงที่นิยมฝ่ายปรีดี คือ "กุหลาบ สายประดิษฐ์" ครับ
งานที่มีชื่อเสียงที่สุดในปัจจุบันคือ "ข้างหลังภาพ"
อันที่จริงเป็นหนึ่งงานเขียนคลาสสิคที่ผมชอบที่สุดของไทย
เรื่องอยู่ในช่วงสมัยคณะราษฎร
นพพร ชายหนุ่มที่ได้ทุนรัฐบาลเรียนต่อญี่ปุ่น และได้พบกับ ม.ร.ว. ชื่อกีรติ ภรรยาของท่านเจ้าคุณคนหนึ่งที่ญี่ปุ่น (เจ้าคุณอายุ 60 ปีแล้ว)
นพพรเป็นผู้ที่มีความคิดแบบสมัยใหม่(ในยุคนั้น) คือคิดแบบสุภาพบุรุษแบบฝรั่ง ที่เชิดชูความรัก
ในขณะที่ ม.ร.ว. กีรติ นั้นยึดมั่นใจเกียรติ แบบสมัยก่อน
ทั้งสองคนรักกันและกัน แต่ ม.ร.ว. กีรติ นั้นไม่อาจตอบสนองความรักของนพพรได้
ผมชอบตรง งานมันมีความละเมียดละไม ในเรื่องความรักของสมัยนั้นมาก และไม่บรรยายเยอะจนน่าเบื่อ
นพพรนั้นค่อนข้างตรงไปตรงมา แต่ ม.ร.ว.กีรติ ไม่ยอมพูดตรงๆเสียที
ท้ายสุด เรื่องจบที่ทั้งสองคนแยกจากกัน เพราะ ม.ร.ว.กีรติ ไม่ยอมตอบรับนพพร
นพพรเลยตัดใจแต่งงานกับหญิงอื่น และส่งจดหมายไปให้ ม.ร.ว.กีรติ โดยไม่เข้าใจความรู้สึกของเธอ
ตอนนั้นท่านเจ้าคุณสามีของ ม.ร.ว.กีรติตายไปแล้ว ม.ร.ว.กีรติได้จดหมายก็สะเทือนใจมากที่นพพรทิ้งเธอไปแต่งงาน ก็เลยป่วยตาย
ลองอ่านดูนะครับ
อ่านแล้วจะเข้าใจว่ามันคือ Snap ของยุคสมัยนั้นนั่นเอง
อย่างแรกเลย มันคือการปะทะกันระหว่างแนวคิดใหม่กับเก่า ที่เกิดขึ้นในยุคคณะราษฎร
และพวกอนุรักษ์นิยมเนี่ยไม่ยอมเปิดรับสิ่งดีๆเลย และยึดติดอยู่กับอะไรแก่ๆที่กำลังจะตาย โดยเชิดชูว่าการอยู่กับเรื่องแย่ๆนั้นเป็นเกียรติ
ชีวิต ม.ร.ว.กีรติ คือไหลไปตามพ่อ ตามประเพณี คือไม่อาจเลือกชีวิตด้วยตัวเองได้ คือทั้งๆที่เรารู้สึกว่า อันที่จริง ม.ร.ว.กีรติ ก็ไม่ได้อยากแต่งงานกับ ท่านเจ้าคุณเท่าไหร่ ก็บอกเองว่าไม่ได้รักเลย แต่ก็เอาแต่ยึดติดว่านั่นถือเป็นเกียรติ และเชิดชูขึ้นให้มันสูง
นพพรเนี่ยเรียกร้อง กีรติให้ทิ้งเกียรติของตัวเอง แล้วเลือกความรัก ให้ตัดสินใจเอาแต่ใจตัวเอง แต่เธอไม่ทำ
แต่ว่าเมื่อนพพรไปเลือกคนอื่น ก็ค่อยมานั่งเสียใจที่ไม่อาจทิ้งความคิดเก่าเพื่อก้าวสู่สิ่งที่ตัวเองต้องการได้ และตายไป
ฝ่ายนพพรเอง ก็เหมือนพระเอก Snap คือ ถ้าเราอ่านแบบไม่คิดอะไรจะรู้สึกว่า นพพรไม่เข้าใจคุณหญิงกีรติเลย แต่พอคิดว่ากุหลาบเขียน ผมรู้สึกว่า จงใจเขียนให้นพพร "ไม่แคร์"
เรื่องก็เลยเศร้า และดีครับ
ผู้อ่านส่วนมาก จะเศร้า และด่าว่านพพรไม่เข้าใจคุณหญิงเลย แต่อันที่จริงคือเรื่องมันสื่อว่า นพพร ไม่แคร์ และต้องก้าวไปข้างหน้าสู่อนาคตไงครับ
--------------------------------------------------------------------------------------------------------
--------------------------------------------------------------------------------------------------------
กรณีพิพาทอินโดจีน : เกียรติภูมิสูงสุดของกองทัพไทย
นี่จะเป็นซีรี่สุดท้ายของผมเกี่ยวกับ จอมพล Strange เดียวเขาจะหาว่าผมอวยฟาสซิสม์
แต่คนไทยเนี่ย มักจะรู้ประวัติศาสตร์แค่ส่วนเดียว
คือรู้เฉพาะส่วนที่หนังสือเรียนสังคมอยากให้เรารู้ ส่วนพวกที่รู้เพิ่มอีกฝ่ายก็รู้เฉพาะทางของฝ่ายปรีดี
ป. เป็นคนที่ ตัดสินใจทางยุทธศาสตร์ภาพรวมได้ดีมาก
กรณีพิพาทอินโดจีน เริ่มในปี 2483 เป็นศึกที่ไทยรบกับฝรั่งเศส
(เวลานั้นเพื่อนบ้านฝั่งตะวันออกเราคือฝรั่งเศสที่ครอบครองลาว กัมพูชา เวียดนาม - ฝั่งตะวันตก และใต้ คืออังกฤษ ที่ครอบครองพม่า มาเลเซีย)
โดยมีปัจจัยสำคัญที่เป็นโอกาสเหมาะแก่การทำสงครามคือ
.
.
1. ปารีสพึ่งถูกตีแตกโดยนาซีเยอรมัน
.
.
1. ปารีสพึ่งถูกตีแตกโดยนาซีเยอรมัน
ฮิตเลอร์ตั้งคนฝรั่งเศสที่ยอมรับใช้นาซีเป็นรัฐบาลที่เมือง วิชิ เราเรียกประเทศฝรั่งเศสตอนนั้นว่า วิชิฟรองเซ
รัฐบาลวิชินั้นเป็นพวกอักษะ เรือ ทหาร ทรัพยากรทั้งหมดถูกโอนให้พวกนาซี
ตอนนั้นฮิตเลอร์บุกตีอังกฤษแล้วแต่ตีไม่แตก บุกไม่เข้า
สถานการณ์ในยุโรปจึงเป็นการยันอยู่แบบที่ฮิตเลอร์ครอบครองภาคพื้นยุโรป ส่วนอังกฤษตรึงกำลังครอบครองน่านน้ำ และฐานอาณานิคมในแอฟริกาใต้ อินเดีย พม่า ไว้ได้ - อเมริกายังเฝ้าดูอยู่โดยยังไม่ตัดสินใจเข้าร่วมสงคราม
ในสถานการณ์นี้ อาณานิคมของฝรั่งเศสในอินโดจีน คือ ลาว กัมพูชา เวียดนาม ถูกโดดเดียว
ไม่มีทางที่ฝรั่งเศสจะส่งกำลังจากยุโรป ผ่านกองเรือมาช่วยได้
.
.
2. อังกฤษจะไม่เป็นอุปสรรคต่อการรบ และจะไม่ขนาบข้างหลัง
.
.
2. อังกฤษจะไม่เป็นอุปสรรคต่อการรบ และจะไม่ขนาบข้างหลัง
เพราะเวลานี้ วิชิ เป็นศัตรูของอังกฤษ และอังกฤษยังอยู่ในสงครามกับเยอรมันซึ่งเรื่องใหญ่กว่า อังกฤษต้องใช้อาณานิคมส่งเสบียง และยุทโธปกรณ์กลับไปที่ยุโรป ย่อมไม่อยากเปิดศึกเพิ่มอีกด้าน
.
.
3. ประชาชนไทยหนุนการทำสงครามนี้
.
.
3. ประชาชนไทยหนุนการทำสงครามนี้
ชนชั้นนำไทย และคนเมืองกรุงเทพ โกรธแค้นเรื่องเหตุการ ร.ศ.112 ในสมัย ร.5 มาก - ตอนนั้นฝรั่งเศสเอาเรือปืนมาปิดแม่น้ำเจ้าพระยา บังคับให้ไทยยอมรับการครอบครองกัมพูชาของฝรั่งเศส และจ่ายค่าเสียหายให้ฝรั่งเศส
ประชาชนย่อมหนุนเมื่อรัฐบาลคิดจะทำสงครามแก้แค้นกับฝรั่งเศส
.
.
4. กองทัพไทยในเวลานั้น พัฒนาแล้ว มีกำลังมาก (ยกเว้นทัพเรือ)
.
.
4. กองทัพไทยในเวลานั้น พัฒนาแล้ว มีกำลังมาก (ยกเว้นทัพเรือ)
กองทัพไทยใหม่เหมือนสมัย ร.5 ได้รับการพัฒนาตามแบบยุโรปหมดแล้ว มีรถถัง เครื่องบินพร้อม เหล่าแม่ทัพนายกองก็สำเร็จการศึกษามาจากยุโรปพร้อมทั้งหมด
ไทยมีรถถังประมาณ 150 คัน เครื่องบินรบอีกประมาณ 150
ในขณะที่ฝรั่งเศสมีรถถังแค่ 20 กับเครื่องบิน 100
ฝรั่งเศสไม่คิดว่าจะเกิดเรื่องแบบนี้ จึงไม่จำเป็นต้องคงทหารไว้มากขนาดนั้น จึงมีทหารฝรั่งจำนวนไม่มาก ที่เหลือเป็นกองทหารท้องถิ่น ซึ่งไม่ได้มีฝีมือ และความจงรักพักดีอะไรนัก
.
.
5. เส้นทางลำเลียงพล และยุทโธปกรณ์ฝั่งไทยดีกว่า
.
.
5. เส้นทางลำเลียงพล และยุทโธปกรณ์ฝั่งไทยดีกว่า
ถนนหนทางที่จะลำเลียงกำลังพลไปยังชายแดนของฝั่งไทยก็ดีกว่า
เนื่องจากฐานใหญ่ของฝรั่งเศสอยู่ที่ดานัง และฝรั่งเศสใช้วิธีปกครองอาณานิคมแบบรัฐในอารักขา คือปล่อยให้พวกเจ้าเมืองท้องถิ่นปกครองไปเอง ไม่ได้ยึดครองเต็มรูปแบบและไม่ได้สร้างถนนหนทางแบบอังกฤษทำในพม่า ถนนในลาว กัมพูชา เลยเลวร้าย
.
.
6. ชาวพื้นถิ่นในอินโดจีน ย่อมเลือกที่จะหนุนไทยมากกว่า
.
.
6. ชาวพื้นถิ่นในอินโดจีน ย่อมเลือกที่จะหนุนไทยมากกว่า
อย่างน้อยก็เป็นคนหน้าตา ผิดใกล้ๆกัน พูดกันรู้เรื่อง อาจชักชวนก่อการ หรือซื้อขายเสบียงได้
.
.
7. ปัจจัยทางการเมืองเป็นผลดีกับ ป. ที่จะทำสงคราม
.
.
7. ปัจจัยทางการเมืองเป็นผลดีกับ ป. ที่จะทำสงคราม
เนื่องจาก รัฐบาล คณะราษฎรยังไม่ได้รับการยอมรับจากชนชั้นสูงของไทยนัก แต่หากสามารถทำสงครามล้างอายเรื่อง ร.ศ.112 ได้ ความนิยมของรัฐบาลจะสูงขึ้น
.
+++++++++++++
.
ปลายปี 2483 ป. เริ่มโดยการจัดตั้งนักศึกษา เพื่อรณรงค์เดินขบวน เพื่อเรียกร้องดินแดนคืนจากฝรั่งเศส
.
+++++++++++++
.
ปลายปี 2483 ป. เริ่มโดยการจัดตั้งนักศึกษา เพื่อรณรงค์เดินขบวน เพื่อเรียกร้องดินแดนคืนจากฝรั่งเศส
มีการเผยแพร่เรื่องการเสียดินแดน 10 ครั้ง ในทุกที่ทั่วทั้งประเทศไทย
หนังสือพิมพ์ตีข่าวโจมตีฝรั่งเศส
มีการแต่งเพลง ปลุกใจ เปิดให้ประชาชนฟัง
.
.
รัฐบาลไทย เริ่มจากวิธีทางการทูต โดยการยื่นหนังสือ บอกฝรั่งเศสว่า "ถ้าไม่มีปัญญารักษาอาณานิคมอินโดจีน ก็มอบคืนให้ไทยเถอะ"
.
.
รัฐบาลไทย เริ่มจากวิธีทางการทูต โดยการยื่นหนังสือ บอกฝรั่งเศสว่า "ถ้าไม่มีปัญญารักษาอาณานิคมอินโดจีน ก็มอบคืนให้ไทยเถอะ"
ซึ่งเป็นข้อเรียกร้องแบบหน้าด้านๆมากๆ
(จอมพล ป. คุมกระทรวงต่างประเทศเองด้วย)
ฟังดูเป็นเหตุเป็นผลสำหรับคนไทย แต่สำหรับฝรั่งเศสนั้น ก็เหมือนสมมุติว่าจีนยื่นหนังสือบอกว่า เกาหลีเป็นของจีน ยกคืนให้จีนเถอะ
แน่นอนว่าฝรั่งเศสไม่ยอม และเคลื่อนกำลังเท่าที่เคลื่อนได้ประชิดชายแดน
จอมพล ป. ประกาศว่า ฝรั่งเศสได้รุกล้ำอธิปไตยไทย และสั่งให้เปิดฉากโจมตีในทันที โดยอ้างเหตุผลเรื่องทวงดินแดนคืน
.
.
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ฝ่ายไทยชนะคือ การต่อสู้ทางอากาศ
.
.
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ฝ่ายไทยชนะคือ การต่อสู้ทางอากาศ
หัวเมืองชายแดนไม่ได้มีการป้องกันที่ดีพอ
เมื่อควบคุมน่านฟ้าได้ ฝ่ายไทยก็โจมตีฐานที่มั่นฝรั่งเศสทางอากาศอย่างต่อเนื่อง
และเข้ายึดด้วยทัพบก
ไทยชนะแทบทุกศึก ยกเว้นศึกทางทะเล ที่ยุทธภูมิเกาะช้าง
ในศึกทางบก ฝ่ายไทยรุกเข้าอย่างรวดเร็ว ยึดเมืองได้ 4 เมือง จับเชลยได้ 200 กว่าคน
.
.
อนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิก็สร้างขึ้นเพื่อรำลึกเหตุการณ์นี้ครับ
.
.
ในที่สุด ญี่ปุ่นก็ต้องเข้ามาไกล่เกลี่ย
.
.
ตอนนั้นญี่ปุ่นกำลังยึดครองจีนอยู่
.
.
อนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิก็สร้างขึ้นเพื่อรำลึกเหตุการณ์นี้ครับ
.
.
ในที่สุด ญี่ปุ่นก็ต้องเข้ามาไกล่เกลี่ย
.
.
ตอนนั้นญี่ปุ่นกำลังยึดครองจีนอยู่
ญี่ปุ่นและวางแผนจะยึดภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ก่อนแล้ว
รัฐบาล วิชิฝรั่งเศสนั้น เป็นฝ่ายอักษะ ญี่ปุ่นสามารถเคลื่อนทัพผ่านไปได้เลย
แต่ไทยกำลังจะทำให้ญี่ปุ่นเสียแผน
ญี่ปุ่นเลยเข้ามาเป็นตัวกลางในการเจรจา
9 พ.ค. 2484 ไทยจึงลงนามสนธิสัญญาโตเกียว
ฝรั่งเศสยอมยกดินแดนที่ไทยยึดได้ 4 เมือง
ตั้งเป็น จังหวัดนครจัมปาศักดิ์ จังหวัดลานช้าง จังหวัดพิบูลสงครามและจังหวัดพระตะบอง ร่วม 24,000 ตารางกิโลเมตร กว่าๆ
.
.
จากนั้นความนิยมของ จอมพล ป. เลย โหดสัสมากๆ
.
.
จากนั้นความนิยมของ จอมพล ป. เลย โหดสัสมากๆ
ลองคิดดูว่า "ชนะฝรั่ง" นั้นเป็นสิ่งที่เหนือจริงในความคิดของคนไทยยุคนั้นมากๆ ประมาณเหมือนบอกให้ฟุตบอลทีมชาติไทยชุด10ปีก่อนไปแข่งชนะทีมชาติฝรั่งเศส
มันเป็นความฝันของชนชั้นนำไทย ที่รัฐบาลขุนนางไม่เคยแม้จะคิด แต่จอมพล ป. ทำสำเร็จ
จากนั้นเป็นต้นมา ความภูมิใจในความเป็นไทยก็พุ่งสูง รวมถึงความเชื่อมั่นในท่านผู้นำ เหมือนวลีว่า"ไม่ว่าท่านผู้นำไปไหนฉันจะไปด้วย"
.
++++++++++
.
สถานการณ์มันเปลี่ยนไปในวันที่ 7 ธ.ค. 2484 เมื่อจู่ๆญี่ปุ่นก็ยกพลขึ้นบกโจมตีไทยโดยไม่คาดฝัน
.
.
ส่วนตัวผมนับถือการตัดสินใจของ ครม. ในวันนั้นนะ การตัดสินใจว่าสงครามไหนจะแพ้ ไม่ควรสู้ นั้นยากกว่าการตัดสินใจว่าสงครามไหนจะชนะ
.
++++++++++
.
สถานการณ์มันเปลี่ยนไปในวันที่ 7 ธ.ค. 2484 เมื่อจู่ๆญี่ปุ่นก็ยกพลขึ้นบกโจมตีไทยโดยไม่คาดฝัน
.
.
ส่วนตัวผมนับถือการตัดสินใจของ ครม. ในวันนั้นนะ การตัดสินใจว่าสงครามไหนจะแพ้ ไม่ควรสู้ นั้นยากกว่าการตัดสินใจว่าสงครามไหนจะชนะ
ลองคิดดูว่าถ้าหากเราอยู่ในสถานการณ์นั้น จะตัดสินใจอย่างไร
ญี่ปุ่นสมัยนั้นนี่มันจีนทุกวันนี้ดีๆนี่เอง ถ้าเราโดนกองทัพแบบนั้นบุกจะทำยังไง
ผมว่า ส่วนมากเลือกสู้ แล้วก็คงตายกันฉิบหายย่อยยับ
ส่วนน้อยอาจจะยอมแพ้ แล้วก็ยอมโดนประนามว่าขี้ขลาด
แต่จะมีใครบ้างที่จะคิดออกว่า "ไหนๆก็สู้ไม่ได้แล้ว เราก็มาเป็นพวกมันกันเถอะ"
.
.
กองทัพไทยใหญ่ขึ้นสิบเท่าตัว จากการสนับสนุนของญี่ปุ่น
.
.
กองทัพไทยใหญ่ขึ้นสิบเท่าตัว จากการสนับสนุนของญี่ปุ่น
สำหรับญี่ปุ่น การผลักภาระเรื่องกองทัพ ทางด้านยุทโธปกรณ์ และเสบียง ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปให้ไทยนั้นต้นทุนถูกกว่า
ป. ก็ไม่ค่อยอยากรบเองเท่าไหร่ เลยเต็มใจทำบทบาทสนับสนุนญี่ปุ่นในแนวหลัง และเน้นผลประโยชน์ที่ได้จากเงินญี่ปุ่น
+++++++++++
.
สิ่งที่แสบ และเป็นปราฏิหาริย์ที่สุดทางการเมืองระหว่างประเทศคือเกมส์การเล่นไพ่สองมือ ระหว่าง ป. กับปรีดี
.
สิ่งที่แสบ และเป็นปราฏิหาริย์ที่สุดทางการเมืองระหว่างประเทศคือเกมส์การเล่นไพ่สองมือ ระหว่าง ป. กับปรีดี
คนหนึ่งเป็นฝ่ายรัฐบาลเข้าข้างญี่ปุ่น ส่วนคนหนึ่งเป็นฝ่ายสถาบันกษัตริย์แอบเข้าข้างสัมพันธมิตร
.
.
ถ้าญี่ปุ่นชนะ เราก็เป็นมหามิตร ครองพื้นทวีปอินโดจีน
.
.
ถ้าญี่ปุ่นชนะ เราก็เป็นมหามิตร ครองพื้นทวีปอินโดจีน
แต่ญี่ปุ่นแพ้ เราก็เลยถูกญี่ปุ่นบังคับ ความผิด ป. คนเดียว ผู้สำเร็จราชการตัวแทนในหลวงไม่เอาด้วย เห็นมั้ยว่าเรามีเสรีไทย
เย้!
ไทยเป็นประเทศอักษะประเทศเดียวที่ไม่แพ้สงคราม
แต่ผลของความพยายามเจรจาสันติภาพ ก็ทำให้เราต้องยอมยกเลิกสนธิสัญญาโตเกียวทิ้งไป และมอบดินแดนทั้ง 24,000 ตร.กม. คืนให้กับฝรั่งเศส
จริงๆฝรั่งเศสก็ไม่ค่อยพอใจหรอก อยากเอาให้หนักกว่านี้
แต่เกมส์การทูตของปรีดีเก่งจริงๆ ไปล็อบบี้ทั้ง อเมริกา ทั้งโซเวียต ไว้ได้ และฝรั่งเศสเวลานั้นก็ต้องฟังอเมริกา
จากนั้นมาประวัติศาสตร์ไทยก็ไม่ค่อยอยากพูดถึงเรื่องนี้ เดี๋ยวจะไปสะกิดความรู้สึกอยากเอาคืนของฝรั่งเศส
ถึงเราจะสูญเสียทุกอย่างที่ได้มาจากกรณีพิพาทอินโดจีน แต่ก็แลกมากับการรักษาเอกราช ซึ่งคุ้มมากแล้ว
แต่ปัญหาภายในที่เกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สองผ่านไปคือ กองทัพไทยที่ใหญ่ขึ้นสิบเท่าจากก่อนหน้า ทำให้มันทรงอำนาจกว่าเดิม และต้องใช้ค่าใช้จ่ายในการดูแลมหาศาล
รัฐสภาของปรีดีที่ขึ้นมาแทน ป. นั้นเต็มไปด้วยพวกเสรีไทยที่ขาดความจัดเจนทางการเมืองไปหน่อย จึงได้ทำอะไรที่ไม่ค่อยเห็นหัวอกกองทัพ
เช่นสั่งให้ ถอนกำลังจากทั้ง 4 จังหวัด โดยให้เดินเท้ากลับบ้านเองแบบผู้แพ้ แถมยังประนามด่าเหมือนเป็นคนผิดทั้งหมด เป็นต้น
เพราะเหตุนี้พวกทัพบกเลยเกลียดปรีดีมาจนทุกวันนี้ และเป็นเหตุให้ปรีดีถูกรัฐประหารถูกไล่ออกจากประเทศไทยไป
ในยุคต่อจากนี้ กองท้พไทยจะถูกใช้ในบริบทของสงครามเย็น และมีอำนาจจนแม้แต่จอมพล ป. ก็ควบคุมไม่ได้อีกต่อไป และนำไปสู่การจบสิ้นของยุค ป. ที่เป็นเผด็จการฟาสซิสม์แบบยุโรป แต่เปลี่ยนเป็นยุคเผด็จการแบบไทยๆ
++++++++++++
.
โดยสรุป การทหาร และ การทูต นั้นเป็นสองด้านของเรื่องเดียวกัน การรักษาเอกราชและผลประโยชน์ของประเทศชาติ ยิ่งในบริบทของสงครามโลกด้วย มันไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ว่าจะประนามว่าใครเลว ใครผิด
.
โดยสรุป การทหาร และ การทูต นั้นเป็นสองด้านของเรื่องเดียวกัน การรักษาเอกราชและผลประโยชน์ของประเทศชาติ ยิ่งในบริบทของสงครามโลกด้วย มันไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ว่าจะประนามว่าใครเลว ใครผิด
สงครามที่ดีคือสงครามที่ชนะ สงครามที่ดีที่สุดคือสงครามที่ชนะโดยไม่มีใครตาย
และในความพ่ายแพ้ จะมีวิธีแพ้อะไรที่ดีกว่านี้อีก?
ไม่ว่าด้วยวิธีใด แต่เวลานี้เราก็รักษาเอกราชได้ โดยไม่มีการเสียเลือดเนื้อ สูญสิ้นสถาบันกษัตริย์ หรือสิ้นชาติ ดังหลายๆประเทศ
นั่นเป็นเรื่องที่บรรพบุรุษของเราทำได้ดีที่สุดแล้ว
เราถูกทำให้ลืม และไม่ได้เรียนรู้อะไรจากความสำเร็จ และความผิดพลาดของ ป. กับปรีดี ทั้งสองคนเป็นมนุษย์ที่ต่างผิดพลาด แต่ก็มีสิ่งที่ทำได้ดีมากๆ
ทุกวันนี้เราขาดทัศนคติการเล่นการเมืองกันแบบ ป. กับ ปรีดี ที่แม้ว่าทั้งสองคนจะอยู่คนละฝั่งของไม้บรรทัด แต่ก็สนับสนุนประเทศชาติในแบบของตัวเอง และขึ้นมามีบทบาทในช่วงเวลาที่เหมาะสมกับตัวเอง นั่นเป็นสิ่งที่คนรุ่นคณะราษฎรเรียกว่า "สุภาพบุรุษ"
เราเอาแต่สาดเทโจมตีกัน จนสุดท้ายก็ทำลายกันทั้งสองฝ่าย สุดท้ายแล้วผลเสียก็ไปตกอยู่กับประเทศชาติ
ประเทศเรามาอยู่ตรงนี้เพราะพวกเราไม่เคยเรียนรู้จากประวัติศาสตร์เลย และถ้ายังเป็นแบบนี้อยู่ ประเทศไทยก็จะเหมือนคนความจำเสื่อม ทำเรื่องเดิมๆซ้ำแล้วซ้ำอีก แต่จำไม่ได้ว่าเคยทำไปแล้ว ก็เลยวนอยู่ที่เดิมตลอดกาล
No comments:
Post a Comment