จากกระแสหนังตำนานพระนเรศวรมหาราช ทำให้กระแสความรักชาติ ชาตินิยม เพิ่มขึ้นมาเป็นเท่าตัว วงการหนังสือก็ออกบทความมากมายเกี่ยวกับไทยแลนด์แดนสยามมาให้อ่าน ทำให้ได้เห็นความเป็นไทยที่ไม่รู้จักมากมาย
อย่างแรกที่สุดก็เห็นจะเป็นเรื่องตำนานพระนเรศวร เป็นตำนานทั้งนั้น ในพงศาวดารจริงๆแทบไม่มีเรื่องราวใดๆเลย อย่างฉากชนไก่กับพระมหาอุปราชแห่งพม่า หรือ การที่พระเจ้าบุเรงนองทรงชุบเลี้ยงพระองค์เป็นอย่างดี รวมถึง เรื่องของพระสุพรรณกัลยาที่ยอมถวายตัวเพื่อแลกตัวกับพระองค์ดำกลับประเทศไป เรื่องราวพวกนี้ เริ่มมาจากสมัยรัชกาลที่ห้าที่พระองค์ทรงมีพระประสงค์ให้ศิลปินเขียนกลอนวาดภาพด้วยจินตนาการจากพงศาวดารสมัยอยุธยา (ที่ไม่ใช่ประวัติของคนไทย แต่เป็นของคนสยาม) และต่อมาสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงทำการศึกษาเพิ่มเติมและนิพนธ์ ประวัติสมเด็จพระนเรศวร โดยอิงจากภาพวาดและกาพย์กลอนที่ถูกเขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ห้า (อ้างจาก ชาญวิทย์ เกษตรศิริ) แต่ในความเป็นจริงหลักฐานเกี่ยวกับตัวพระองค์มีน้อยมาก ที่ชัดเจนก็คือจากบันทึกของชาวต่างชาติที่มาค้าขายกับอยุธยาในสมัยของพระองค์หรือหลังพระองค์ ที่บันทึกไว้ว่า พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่รบเก่ง มีพระปรีชาสามารถ เพียงมีพระชนพรรษา ยี่สิบ พรรษา ก็เป็นที่เลื่องลือพระนาม ทรงสามารถกอบกู้เอกราชได้ อย่างไรก็ตามตลอดเวลาประมาณยี่สิบปีที่ทรงครองราชย์ ก็ได้สังหารผู้คนไปมากกว่าแปดหมื่นคน ซึ่งส่วนมากก็เป็นผลของสงครามที่มีการรบพุ่งตลอดรัชกาล
ส่วนในเรื่องวัฒนธรรมประเพณี พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์พระองค์แรกที่บังคับให้พวกเจ๊กต้องทำตามอย่างประเพณีไทยเรื่องการหมอบคลานเข้าเฝ้าที่ปรากฏจนถึงปัจจุบัน แต่กับพวกชาวตะวันตกแล้ว พระองค์ทรงยกเว้นให้เพราะเป็นเรื่องการทูตที่พระองค์ไม่มีพระประสงค์จะเปลี่ยนแปลงประเพณีของพวกเขา พวกฝรั่งที่พระองค์ทรงคบค้าด้วยเป็นพิเศษคือพวกดัตช์ และพวกดัตช์นี้เองได้รับราชการด้วยและได้บันทึกเหตุการณ์ต่างๆไว้
เยเรเมียส ฟาน ฟลีต ชาวดัตช์ซึ่งคนไทยเรียกว่านาย วันวลิต หัวหน้าสถานีการค้าฮอลันดาได้เขียนพงศาวดาร พรรณาเรื่องอาณาจักรสยาม โดยเฉพาะได้วิจารณ์นิสัยคนไทยไว้อย่างละเอียด และเจ็บแสบ เอาที่เฉพาะแย่ๆคือ "การทหาร โดยทั่วไปชาวสยามรักความสงบ รักการค้าขาย และกสิกรรม ...ตามที่กล่าวมาแล้ว พวกสยามเป็นพวกที่ขี้ขลาด ไม่มากก็น้อย และไม่ใช่พวกนักรบมาโดยกำเนิด แต่มีอาวุธยุทโธปกรณ์มาก ทำให้สามารถโจมตีได้ทั้งทางน้ำและทางบก ในเรื่องความกล้าหาญ ทหารที่ขลาดและกลัว...แต่โหดร้ายกับข้าศึกที่ปราบได้แล้ว ต่อพวกที่พระเจ้าแผ่นดินไม่ยอมรับ และคนที่ศาลพบว่ามีความผิด" ซึ่งสาเหตุนายวันวลิตได้กล่าวไว้ประมาณว่าเป็นเพราะผู้นำของคนไทย คนไทยจะดีจะเลวอย่างไร ขึ้นกับผู้นำเสมอ
นอกจากนั้น นายวันวลิตยังได้กล่าวว่าคนไทยเป็นคนหยิ่งและอวดดี "พวกเขาหยิ่งและคิดว่า ไม่มีชาติไหนๆ สามารถเท่าเทียมพวกเขาได้ กฎหมายขนบธรรมเนียมและความรู้ของพวกเขาดีกว่าที่ไหนๆ ในโลกนี้ ท่าทางและใบหน้าดุ หยิ่ง พวกเขาสุภาพในการสนทนา นิสัยพวกเขาร่าเริง ขลาดกลัว ไว้ใจไม่ได้ ปิดบังอำพราง หลอกลวง ช่างพูด และเต็มไปด้วยการโกหก...เราไม่สามารถเชื่อใจในประเทศนี้ และไม่มีใครเป็นที่ไว้วางใจ หรือเชื่อถือได้เลย" แม้ภาพลักษณ์ของคนไทยในสายตาของนายวันวลิตจะดูแย่แค่ไหน แต่นี่ก็เป็นเรื่องธรรมดาของคนที่เป็นกันทุกยุคทุกสมัย โดยเฉพาะการปฏิบัติต่อคนต่างชาติ คนที่ไม่ใช่พวกตน ย่อมต้องถูกกีดกันออกไปเป็นธรรมดา เราคงได้แต่นำมันมาเป็นบทเรียนอีกบทนึงกระมัง
นอกจากเรื่องสมัยพระนเรศวร เรายังได้ไปพบเรื่องแปลกๆในสมัยรัตนโกสินทร์ว่า คนสมัยก่อนที่อยู่อย่างเรียบง่าย สบายๆ มี กลับมีการละเล่นที่แปลก พิศดาร อย่าง การล่อช้างตกมันที่ชอบวิ่งไล่แทงคน ทุกปีในหน้าหนาว โดยให้ช้างตกมันออกมาวิ่งบนถนนหน้าพระลาน ให้ชาวบ้านมาล่อ ช้างให้วิ่งไล่ไป วิ่งไล่มา ให้มันมาไล่แทง จนมันเหนื่อย ซึ่งเป็นเกมกีฬาที่สนุกสนานของทั้งชาวบ้านและชาววัง เกมกีฬานี้มีประจำทุกปีจนถึงรัชกาลที่เจ็ดจึงยกเลิก นับว่าเป็นที่น่าเสียดายนักกับความบันเทิงรุ่นคุณปู่คุณย่าที่น่าหวาดเสียวเช่นนี้ พอมีเรื่องแบบนี้ก็ชวนให้คิดถึงพวกเพื่อนต่างชาติที่ชอบถามว่าคนไทยสมัยนี้ยังขี่ช้างไปทำงานหรือเปล่า ถ้าตอบว่าใช่และเล่าเรื่องนี้ให้ฟังคงจะเป็นที่ชวนหวัวพิลึก (บางทีเราก็เห็นพวกฝรั่งขี่ม้าไปโรงเรียนเช่นกัน แต่ไม่ยักกะมีใครว่าอะไร)
หลังจากอ่านเรื่องโบราณๆพวกนี้ เรายังได้ไปอ่านเจอบทความของอาจารย์สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ในบล๊อกของอาจารย์ เรื่องเกี่ยวกับกรณีสวรรคตของรัชกาลที่แปด ซึ่งยังเป็นความลับมาจนถึงวันนี้ ที่พอสรุปได้คือ สาเหตุการสวรรคตยังไม่กระจ่าง แต่ จำเลยสามคนที่ถูกประหารชีวิตคือ นายเฉลียว ปทุมรส นายชิต สิงหเสนี และ นายบุศย์ ปัทมศริน เป็นเพียงแพะที่ถูกกระบวนการศาลแบบมั่วๆตัดสิน และที่เสริมไปเสริมมาจากบทความจนทำให้คิดเอาเองว่า คนที่ทำเป็นคนที่ไม่สามารถพูดถึงได้ ทั้งการฆาตกรรมและการปรักปรำจำเลยทั้งสาม รวมทั้ง รัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์ ก็ไม่ทราบว่าอาจารย์แกมีความมั่นใจแค่ไหนกับหลักฐานที่แกมีซึ่งก็มีส่วนขัดเเย้งกันตลอด แต่จากการเขียนก็พอให้ทราบว่าแกมีความในใจว่าอย่างไร อยากรู้ก็ชวนให้อ่านเอง ใน http://somsakwork.blogspot.com
ทั้งหมดนี่ก็เป็นเรื่องไทยๆที่เพิ่งรู้และน่าสนใจ ตลก เสียดสี เจ็บปวด ก็ขอแบ่งปันในวันนี้
สวัสดี
อ่านมาจาก
บทวิจารณ์ภาพยนตร์ตำนานสมเด็จพระนเรศวร โดย Subhatra Bhumiprabhas ในหนังสือพิมพ์ the Nation (จำวันที่ไม่ได้)
คอลัมน์ สโมสร โดย จำนง เทพหัสดิน ณ อยุธยา และ ยุทธนาวรากร แสงอร่าม ใน ศิลปวัฒนธรรม เดือน มกราคม ๒๕๕๐
http://somsakwork.blogspot.com
อย่างแรกที่สุดก็เห็นจะเป็นเรื่องตำนานพระนเรศวร เป็นตำนานทั้งนั้น ในพงศาวดารจริงๆแทบไม่มีเรื่องราวใดๆเลย อย่างฉากชนไก่กับพระมหาอุปราชแห่งพม่า หรือ การที่พระเจ้าบุเรงนองทรงชุบเลี้ยงพระองค์เป็นอย่างดี รวมถึง เรื่องของพระสุพรรณกัลยาที่ยอมถวายตัวเพื่อแลกตัวกับพระองค์ดำกลับประเทศไป เรื่องราวพวกนี้ เริ่มมาจากสมัยรัชกาลที่ห้าที่พระองค์ทรงมีพระประสงค์ให้ศิลปินเขียนกลอนวาดภาพด้วยจินตนาการจากพงศาวดารสมัยอยุธยา (ที่ไม่ใช่ประวัติของคนไทย แต่เป็นของคนสยาม) และต่อมาสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงทำการศึกษาเพิ่มเติมและนิพนธ์ ประวัติสมเด็จพระนเรศวร โดยอิงจากภาพวาดและกาพย์กลอนที่ถูกเขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ห้า (อ้างจาก ชาญวิทย์ เกษตรศิริ) แต่ในความเป็นจริงหลักฐานเกี่ยวกับตัวพระองค์มีน้อยมาก ที่ชัดเจนก็คือจากบันทึกของชาวต่างชาติที่มาค้าขายกับอยุธยาในสมัยของพระองค์หรือหลังพระองค์ ที่บันทึกไว้ว่า พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่รบเก่ง มีพระปรีชาสามารถ เพียงมีพระชนพรรษา ยี่สิบ พรรษา ก็เป็นที่เลื่องลือพระนาม ทรงสามารถกอบกู้เอกราชได้ อย่างไรก็ตามตลอดเวลาประมาณยี่สิบปีที่ทรงครองราชย์ ก็ได้สังหารผู้คนไปมากกว่าแปดหมื่นคน ซึ่งส่วนมากก็เป็นผลของสงครามที่มีการรบพุ่งตลอดรัชกาล
ส่วนในเรื่องวัฒนธรรมประเพณี พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์พระองค์แรกที่บังคับให้พวกเจ๊กต้องทำตามอย่างประเพณีไทยเรื่องการหมอบคลานเข้าเฝ้าที่ปรากฏจนถึงปัจจุบัน แต่กับพวกชาวตะวันตกแล้ว พระองค์ทรงยกเว้นให้เพราะเป็นเรื่องการทูตที่พระองค์ไม่มีพระประสงค์จะเปลี่ยนแปลงประเพณีของพวกเขา พวกฝรั่งที่พระองค์ทรงคบค้าด้วยเป็นพิเศษคือพวกดัตช์ และพวกดัตช์นี้เองได้รับราชการด้วยและได้บันทึกเหตุการณ์ต่างๆไว้
เยเรเมียส ฟาน ฟลีต ชาวดัตช์ซึ่งคนไทยเรียกว่านาย วันวลิต หัวหน้าสถานีการค้าฮอลันดาได้เขียนพงศาวดาร พรรณาเรื่องอาณาจักรสยาม โดยเฉพาะได้วิจารณ์นิสัยคนไทยไว้อย่างละเอียด และเจ็บแสบ เอาที่เฉพาะแย่ๆคือ "การทหาร โดยทั่วไปชาวสยามรักความสงบ รักการค้าขาย และกสิกรรม ...ตามที่กล่าวมาแล้ว พวกสยามเป็นพวกที่ขี้ขลาด ไม่มากก็น้อย และไม่ใช่พวกนักรบมาโดยกำเนิด แต่มีอาวุธยุทโธปกรณ์มาก ทำให้สามารถโจมตีได้ทั้งทางน้ำและทางบก ในเรื่องความกล้าหาญ ทหารที่ขลาดและกลัว...แต่โหดร้ายกับข้าศึกที่ปราบได้แล้ว ต่อพวกที่พระเจ้าแผ่นดินไม่ยอมรับ และคนที่ศาลพบว่ามีความผิด" ซึ่งสาเหตุนายวันวลิตได้กล่าวไว้ประมาณว่าเป็นเพราะผู้นำของคนไทย คนไทยจะดีจะเลวอย่างไร ขึ้นกับผู้นำเสมอ
นอกจากนั้น นายวันวลิตยังได้กล่าวว่าคนไทยเป็นคนหยิ่งและอวดดี "พวกเขาหยิ่งและคิดว่า ไม่มีชาติไหนๆ สามารถเท่าเทียมพวกเขาได้ กฎหมายขนบธรรมเนียมและความรู้ของพวกเขาดีกว่าที่ไหนๆ ในโลกนี้ ท่าทางและใบหน้าดุ หยิ่ง พวกเขาสุภาพในการสนทนา นิสัยพวกเขาร่าเริง ขลาดกลัว ไว้ใจไม่ได้ ปิดบังอำพราง หลอกลวง ช่างพูด และเต็มไปด้วยการโกหก...เราไม่สามารถเชื่อใจในประเทศนี้ และไม่มีใครเป็นที่ไว้วางใจ หรือเชื่อถือได้เลย" แม้ภาพลักษณ์ของคนไทยในสายตาของนายวันวลิตจะดูแย่แค่ไหน แต่นี่ก็เป็นเรื่องธรรมดาของคนที่เป็นกันทุกยุคทุกสมัย โดยเฉพาะการปฏิบัติต่อคนต่างชาติ คนที่ไม่ใช่พวกตน ย่อมต้องถูกกีดกันออกไปเป็นธรรมดา เราคงได้แต่นำมันมาเป็นบทเรียนอีกบทนึงกระมัง
นอกจากเรื่องสมัยพระนเรศวร เรายังได้ไปพบเรื่องแปลกๆในสมัยรัตนโกสินทร์ว่า คนสมัยก่อนที่อยู่อย่างเรียบง่าย สบายๆ มี กลับมีการละเล่นที่แปลก พิศดาร อย่าง การล่อช้างตกมันที่ชอบวิ่งไล่แทงคน ทุกปีในหน้าหนาว โดยให้ช้างตกมันออกมาวิ่งบนถนนหน้าพระลาน ให้ชาวบ้านมาล่อ ช้างให้วิ่งไล่ไป วิ่งไล่มา ให้มันมาไล่แทง จนมันเหนื่อย ซึ่งเป็นเกมกีฬาที่สนุกสนานของทั้งชาวบ้านและชาววัง เกมกีฬานี้มีประจำทุกปีจนถึงรัชกาลที่เจ็ดจึงยกเลิก นับว่าเป็นที่น่าเสียดายนักกับความบันเทิงรุ่นคุณปู่คุณย่าที่น่าหวาดเสียวเช่นนี้ พอมีเรื่องแบบนี้ก็ชวนให้คิดถึงพวกเพื่อนต่างชาติที่ชอบถามว่าคนไทยสมัยนี้ยังขี่ช้างไปทำงานหรือเปล่า ถ้าตอบว่าใช่และเล่าเรื่องนี้ให้ฟังคงจะเป็นที่ชวนหวัวพิลึก (บางทีเราก็เห็นพวกฝรั่งขี่ม้าไปโรงเรียนเช่นกัน แต่ไม่ยักกะมีใครว่าอะไร)
หลังจากอ่านเรื่องโบราณๆพวกนี้ เรายังได้ไปอ่านเจอบทความของอาจารย์สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ในบล๊อกของอาจารย์ เรื่องเกี่ยวกับกรณีสวรรคตของรัชกาลที่แปด ซึ่งยังเป็นความลับมาจนถึงวันนี้ ที่พอสรุปได้คือ สาเหตุการสวรรคตยังไม่กระจ่าง แต่ จำเลยสามคนที่ถูกประหารชีวิตคือ นายเฉลียว ปทุมรส นายชิต สิงหเสนี และ นายบุศย์ ปัทมศริน เป็นเพียงแพะที่ถูกกระบวนการศาลแบบมั่วๆตัดสิน และที่เสริมไปเสริมมาจากบทความจนทำให้คิดเอาเองว่า คนที่ทำเป็นคนที่ไม่สามารถพูดถึงได้ ทั้งการฆาตกรรมและการปรักปรำจำเลยทั้งสาม รวมทั้ง รัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์ ก็ไม่ทราบว่าอาจารย์แกมีความมั่นใจแค่ไหนกับหลักฐานที่แกมีซึ่งก็มีส่วนขัดเเย้งกันตลอด แต่จากการเขียนก็พอให้ทราบว่าแกมีความในใจว่าอย่างไร อยากรู้ก็ชวนให้อ่านเอง ใน http://somsakwork.blogspot.com
ทั้งหมดนี่ก็เป็นเรื่องไทยๆที่เพิ่งรู้และน่าสนใจ ตลก เสียดสี เจ็บปวด ก็ขอแบ่งปันในวันนี้
สวัสดี
อ่านมาจาก
บทวิจารณ์ภาพยนตร์ตำนานสมเด็จพระนเรศวร โดย Subhatra Bhumiprabhas ในหนังสือพิมพ์ the Nation (จำวันที่ไม่ได้)
คอลัมน์ สโมสร โดย จำนง เทพหัสดิน ณ อยุธยา และ ยุทธนาวรากร แสงอร่าม ใน ศิลปวัฒนธรรม เดือน มกราคม ๒๕๕๐
http://somsakwork.blogspot.com
No comments:
Post a Comment