"คนยากจนไม่ได้ต้องการวิตามิน แต่พวกเขาต้องการผืนดินทำกินเท่านั้น"
เสียงก้องจาก เดชา ศิริภัทร ประธานเครือข่ายเกษตรกรทางเลือกแห่งประเทศไทย
จีเอ็มโอหรือพืชสวรรค์ของบรรษัทอุตสาหกรรมการเกษตรข้ามชาติที่ว่าจะแก้ไขปัญหาการขาดแคลนอาหารและสารอาหารไม่เพียงพอของคนยากจนทั่วโลก อย่าง ข้าวสีทอง ที่อุดมด้วยวิตามินเอ หรือ กล้วยพันธุ์พิเศษที่บรรจุวัคซีนป้องกันโรคอยู่ภายใน หรือ ฝ้ายบีที ที่ทนแมลงได้มากมาย
การที่ประชาชนยากจน ขาดแคลนอาหาร หรือแม้กระทั่งขาดแคลนสารอาหาร ไม่สามารถแก้ไขที่ปลายเหตุอย่างการสร้างพืชประหลาดพวกนี้ขึ้นมาทดแทน
แต่คือการมองไปที่ต้นเหตุของปัญหาอย่างเด็ดขาด
พวกเขา(ชาวนา) ขาดสารอาหารเพราะอะไร เพราะขาดอาหารที่ครบถ้วน
แล้วพวกเขาขาดอาหารเพราะอะไร เพราะพวกเขายากจน
ทำไมพวกเขายากจน เพราะพวกเขาไม่สามารถเลี้ยงตัวเองได้
แล้วทำไมเขาเลี้ยงตัวเองไม่ได้ เพราะเขาไม่ที่ดินทำกินเป็นของตัวเอง
ถูกผู้ได้เปรียบทางสังคมยึดเอาที่ทำกินไปอย่างถูกกฎหมาย
แต่ตัวพวกเขาเองต้องเป็นลูกจ้างนายทุนพวกนั้น
ทั้งที่พวกเขาเป็นคนปลูกข้าว พวกเขากลับไม่ได้แม้แต่จะกินสิ่งที่พวกเขาปลูก
ระบบสังคมไม่ได้แจกจ่ายทรัพยากรสำคัญให้กับเขาอย่างทั่วถึง
อย่าง โอกาส และ ความรู้ที่ถูกต้อง
ที่ทำให้พวกเขาต้องสูญเสียดินแดนบรรพบุรุษให้กับนายทุนเกษตรกรรมทั้งหลาย
ปัจจุบันอาหารมีล้นโลก โลกไม่ได้ขาดแคลนอย่างที่บรรษัททั้งหลายกล่าวอ้าง
เพียงแต่คนยากจนไม่มีโอกาสได้เข้าถึงทรัพยากรนั้นอย่างเท่าเทียม
เช่น มันสำปะหลังที่เป็นอาหารหลักของคนแอฟริกา ประเทศยากจนเหล่านั้นผลิตมันสำปะหลังไปขายให้ประเทศที่ร่ำรวยเพื่อนำไปใช้เป็นอาหารสัตว์ แล้วนำผลิตภัณฑ์นั้นมาเป็นอาหารของคนรวย
ขณะที่เด็กที่แอฟริกาต้องอดตายเพราะไม่มีเงินซื้อกิน
นอกจากจะไม่เป็นการแก้ปัญหาที่ถูกจุดแล้ว การใช้พืชตัดต่อพันธุกรรมยังมีปัญหาในเรื่องลิขสิทธิ์พันธุ์
ที่บริษัทผู้คิดค้นจะเป็นเจ้าของทั้งหมด แม้ว่าบริษัทนั้นจะทำเพียงแค่เสริมยีนของไวรัสบางตัวเข้าไปเท่านั้น โดยไม่สนใจยีนที่เหลือที่เป็นต้นพืชนั้นอันเป็นสมบัติของส่วนรวมแม้แต่น้อย
อีกทั้งคนจน ชาวนา ยังต้อง หักเงินรายได้อย่างน้อยสามสิบเปอร์เซ็นต์เป็นค่าสายพันธุ์อีกด้วย
ถ้าพบว่าพืชที่ชาวนานำไปขายมีพันธุกรรมตัดต่อปนไป แม้ว่านั่นจะเป็นการปนเปื้อนตามธรรมชาติที่ชาวนาไม่ได้ต้องการอีกด้วย
นอกจากนี้ ปัญหาในเรื่องความปลอดภัยที่ยังเป็นที่ถกเถียงกันมานาน ทางชีววิทยา
ทั้งต่อร่างกาย และต่อระบบนิเวศ สิ่งแวดล้อม
แต่จากเวลาที่ผ่านมามีแต่รายงานความเสียหายของสิ่งแวดล้อมจากพืชพันธุกรรมเข้ามาทั้งนั้น
นั่นก็พอจะพิสูจน์ได้ว่า พืชตัดแต่งพันธุกรรมไม่เหมาะสมกับโลกนี้จริงๆ
ปล ชาวนา กับ แรงงานกรรมาชีพ ก็คือ กลุ่มคนเดียวกัน ที่ถูกเอาเปรียบเพียงแต่แต่งตัวคนละแบบ
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment