ที่มา https://www.facebook.com/puangthong.r.pawakapan/posts/953047504746009?fref=nf
โดย อ.Puangthong R. Pawakapan
โดย อ.Puangthong R. Pawakapan
กรณี
สหรัฐอเมริกาส่งนายกลิน เดวีส์ (Glyn Davies)
นักการทูตที่มีประสบการณ์รับมือกับปัญหายากๆ แบบเกาหลีเหนือ
มาประจำประเทศไทย ชี้ว่าสหรัฐฯให้ความสำคัญกับไทยอย่างแน่นอน
แต่ไม่ได้หมายความว่าเขากำลังจะหันมาเอาใจรัฐบาลทหารของไทยสักนิด
*****************************************
นายเดวี่ส์ เป็นนักการทูตที่มีประสบการณ์การทำงานในปัญหาด้านความมั่นคงที่สหรัฐฯให้ ความสำคัญสูง เช่น ปัญหาการสะสมอาวุธนิวเคลียร์ โดยเขาเคยเป็นผู้แทนพิเศษ (ฐานะเท่าเอกอัคราชทูต) ประจำสำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ International Atomic Energy Agency (IAEA) จึงทำให้เขาต้องเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับปัญหานิวเคลียร์ของอิหร่าน และต่อมาได้เป็น “ผู้แทนพิเศษของรัฐมนตรีต่างประเทศว่าด้วยนโยบายเกาหลีเหนือ” ซึ่งพยายามคิดค้นอาวุธนิวเคลียร์เช่นกัน
(หมายเหตุ: เขาไม่ได้มีตำแหน่งทูตประจำเกาหลีเหนือ เพราะสหรัฐฯไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการกับเกาหลีเหนือ จึงไม่มีทูตประจำ)
เป็นที่รู้กันว่าทั้งอิหร่านและเกาหลีเหนือเป็นเสมือนกระดูกชิ้นใหญ่ที่ เคี้ยวยากสำหรับสหรัฐฯ เป็นภัยคุกคามต่อนโยบายความมั่นคงของสหรัฐเสมอมา และมีปัญหาประชาธิปไตย ฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่านายเดวีส์ เป็นนักการทูตที่ได้รับมอบหมายให้ทำงานเรื่องสำคัญสำหรับสหรัฐฯ มีประสบการณ์ทำงานกับประเทศยากๆ มาแล้ว การที่สหรัฐฯส่งนายเดวีส์มาไทยจึงชี้ว่าสหรัฐฯ ให้ความสำคัญกับไทยไม่น้อย แต่ก็ต้องไม่หลงละเมอเพ้อพกไปว่า ไทยสำคัญอยู่ประเทศเดียว หรือสำคัญที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนทำให้สหรัฐฯกำลังจะโอนอ่อนผ่อนตามรัฐบาลทหารไทย เพราะกลัวอิทธิพลจีน
แน่นอนว่าสหรัฐฯ ย่อมไม่สบายใจที่เห็นรัฐบาล คสช. พยายามเล่นไพ่จีน (และรัสเซีย ซึ่งกำลังประสบปัญหาเศรษฐกิจอย่างหนัก) เพื่อตอบโต้ที่สหรัฐฯ กดดันเรียกร้องให้ไทยเคารพในหลักการประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน แต่ไม่ได้หมายความว่าความกังวลนี้จะทำให้สหรัฐฯละทิ้งแนวนโยบายของตนจากหน้า มือเป็นหลังมืออย่างทันทีทันใด เพราะอะไร
หนึ่ง ในแง่เศรษฐกิจ นับแต่สงครามเย็นยุติลง ใครๆ ก็มองว่าประเทศไทยจะกลายเป็นศูนย์กลางความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียน ซึ่งอาเซียนมีศักยภาพในการเติบโตสูงมากจนกลายเป็นสาวเนื้อหอมสำหรับนักลงทุน จากทั่วทุกภูมิภาค ความมั่นคงทางการเมืองของไทยจึงสำคัญต่อกระเป๋าเงินของทั้งภูมิภาคและนักลง ทุนทั่วโลก
แต่ความขัดแย้งทางการเมืองที่ผ่านมาจนเกือบจะครบทศวรรษ และยังไม่มีท่าทีจะยุติลงในระยะเวลาอันใกล้ แถมประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนกลับถดถอยลงนับแต่การรัฐประหารโดย คสช. ทำให้นักลงทุนทั้งหลายเริ่มเห็นว่าการฝากความหวังให้ไทยเป็นศูนย์กลาง เศรษฐกิจของภูมิภาค โดยไม่มองหาช่องทางอื่นบ้าง คงไม่ปลอดภัยสำหรับพวกเขาแน่ ฉะนั้น นับแต่ปีที่ผ่านมา เราเริ่มเห็นบรรรษัทใหญ่ๆ เริ่มย้ายฐานการลงทุนอุตสาหกรรมไปยังประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้นๆ
สอง ในแง่เศรษฐกิจ สหรัฐฯสำคัญกับไทยมากกว่าที่ไทยสำคัญต่อสหรัฐฯ สหรัฐฯเป็นหนึ่งในสามตลาดที่ใหญ่ที่สุดของสินค้าไทย แค่สหรัฐฯและอียูประกาศลดระดับสถานะประเทศที่ป้องกันการค้ามนุษย์ของไทย จากระดับ 2 ไปเป็นระดับ 3 ก็ทำให้เจ้าหน้าที่ไทยเต้นเป็นจ้าวเข้าได้
ไม่มีใครรับประกันได้ว่าหากปีหน้า ประเทศไทยยังไม่มีเลือกตั้งเสียที เราจะเจอกับมาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจจากสหรัฐฯด้วยหรือไม่ เพราะขณะนี้ทั่วโลกรู้ดีว่าเศรษฐกิจไทยกำลังวิกฤติ และเชื่อว่าจะส่งผลต่อเสถียรภาพของรัฐบาลทหาร ซึ่งที่ผ่านมา ผู้เชี่ยวชาญอเมริกัน เช่น Joshua Kurlantzick ก็ได้เสนอให้สหรัฐฯ เพิ่มมาตรการกดดันทางเศรษฐกิจต่อรัฐบาลทหารไทย เพราะเชื่อว่าจะทำให้แรงกดดันในประเทศเพิ่มสูงขึ้นแน่นอน
สาม ในแง่การทหาร ไทยกับสหรัฐฯมีความสัมพันธ์แนบแน่นมาตั้งแต่ยุคจอมพลสฤษดิ์ ในปัจจุบันก็ยังมีข้อตกลงความร่วมมือด้านการทหารหลายฉบับ หนึ่งในข้อตกลงที่สำคัญคือ คอบร้าโกลด์ อันเป็นการฝึกร่วมทางทหารที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย-แปซิฟิค โดยไทยเป็นฐานสำหรับการฝึกซ้อมร่วม แต่พอรัฐประหารปุ๊บ สหรัฐฯก็ประกาศ “ลดระดับ” การฝึกซ้อมกับไทย ให้เหลือแค่การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและภัยธรรมชาติ และยังส่งสัญญาณว่าอาจพิจารณาย้ายที่ฝึกซ้อมร่วมไปออสเตรเลียแทน
นอกจากนี้ สหรัฐมองว่าการแอบอิงจีนไม่สามารถตอบสนองความต้องการด้านอาวุธของกองทัพไทย ได้อย่างน่าพึงพอใจ เพราะเทคโนโลยี่ด้านอาวุธของสหรัฐฯนั้นมีเหนือกว่าจีนมา แง่นี้แปลว่า เราต้องการสหรัฐฯ มากกว่าที่สหรัฐฯต้องการเรา
อันที่จริงในแง่การทหาร นับแต่สงครามเย็นยุติลง บทบาทของสิงคโปร์ด้านความร่วมมือด้านการทหาร ได้โดดเด่นขึ้นมาแทนที่ฟิลิปปินส์ นับแต่ปี 1992 สิงคโปร์เปิดและพัฒนาฐานทัพของตน เป็นฐานโลจิสติคส์ให้กับกองเรือรบที่ 7 (หน่วยรบนอกประเทศที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ ทำงานประสานกับฐานทัพทหารสหรัฐฯในญี่ปุ่นและเกาหลีใต้) และกองทัพอากาศของสหรัฐฯ
นอกจากนี้ ยังมีแนวโน้มว่าฟิลิปปินส์อาจเปิดฐานทัพของสหรัฐฯ อีกครั้งหนึ่ง เพื่อคานอำนาจทางทหารกับจีน อันเนื่องมาจากข้อพิพาทเขตแดนในทะเลจีนใต้
สี่ นับแต่สงครามเย็นยุติลง ภัยคอมมิวนิสต์ยุติลง สหรัฐฯและยุโรปเริ่มใช้มาตรการสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย มาดำเนินความสัมพันธ์กับพันธมิตรทั้งเก่าและใหม่ของตนมากขึ้น เพื่อสถาปนาภาพลักษณ์ของผู้นำเสรีนิยม แต่ทั้งนี้ ไม่ได้หมายความว่าสหรัฐฯ จะต้องใช้หลักการนี้อย่างเท่าเทียมกับทุกประเทศ มันขึ้นกับการประเมินว่าแนวทางไหนกับประเทศใดที่จะทำให้เขาได้ประโยชน์สูง สุด ในกรณีของไทย ปัจจุบันยังไม่มีภัยคุกคามที่น่ากลัวจนทำให้สหรัฐฯต้องละทิ้งหลักการ ปชต.แล้วหันมาจูบปากกับรัฐบาลทหาร แบบที่เคยเกิดขึ้นในยุคคอมมิวนิสต์มาแล้ว
ห้า ความขัดแย้งทางการเมืองที่ยืดเยื้อนับแต่รัฐประหารปี 2549 ดูเหมือนจะทำให้ผู้นำสหรัฐฯ เริ่มเปลี่ยนทัศนคติที่เคยมีต่อชนชั้นนำ-กลุ่มอำนาจเก่าของไทยอย่างมีนัย สำคัญ
ในอดีต ความร่วมมือระหว่างไทยกับสหรัฐฯ กระทำผ่านกลุ่มชนชั้นอนุรักษ์นิยมเป็นหลัก เพราะมีจุดยืนต่อต้านคอมมิวนิสต์ร่วมกัน และสหรัฐฯมองว่ากลุ่มนี้คือ ผู้กุมอำนาจและกำหนดทิศทางการเมืองไทยเป็นหลัก ทำให้การเมืองมีเสถียรภาพได้อย่างน่าพอใจ แม้จะมีรัฐประหารบ่อย แต่เสถียรภาพทางการเมืองก็ไม่ได้ถูกสั่นคลอนจริงๆ การร่วมมือกับคนชนช้ำนำอนุรักษ์นิยม ไม่เพียงตอบสนองผลประโยชน์ของสหรัฐฯอย่างราบรื่น แต่ยังรับได้ในเชิงหลักการด้วย (หลักการต่อต้านคอมฯ)
แต่ปัจจุบัน สหรัฐฯ เริ่มตระหนักว่ากลุ่มอำนาจเก่าของไทยคือ หนึ่งในสาเหตุของปัญหาที่ยืดเยื้อ นั่นคือ การปฏิเสธไม่ยอมรับกติกาการเมืองประชาธิปไตย ไม่เคารพเสียงส่วนใหญ่ของประเทศ เหยียบย่ำหลักการหนึ่งสิทธิหนึ่งเสียงของประชาชน เอาชนะฝ่ายทักษิณไม่ได้ ก็หันใช้ตุลาการภิวัตน์ ก่อม๊อบปิดหน่วยราชการเพื่อสร้างภาวะ failed state ไปจนถึงทำรัฐประหาร แม้จนกำลังจะกลายเป็นคนป่วยแห่งเอเชีย ก็ยังไม่มีท่าทีว่ากลุ่มอำนาจเก่าจะยอมปรับเปลี่ยนหรือเรียนรู้ข้อผิดพลาด ของตนแต่ประการใด ยังคงเดินหน้าใช้อำนาจกดปราบประชาชน ช่วยกัน เขียนรธน. เพื่อใช้เป็นเครื่องมือกดเสียงส่วนใหญ่ของประเทศต่อไป โดยไม่ไยดีต่อความคับแค้นของประชาชนเสียงข้างมากของประเทศที่รอวันเอาคืนแต่ ประการใดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จากที่ได้เคยพูดคุยกับนักการทูตจากตะวันตกหลายประเทศ ดิฉันพบว่านี่คือมุมมองหลักที่พวกเขามีในปัจจุบัน
นอกจากนี้ สื่อมวลชนใหญ่ๆของโลกยังมีผลต่อมุมมองของรัฐบาลในประเด็นปัญหาสำคัญๆด้วย หากเรากลับไปอ่านสื่อใหญ่ๆ เช่น New York Times, BBC, the Economist, Wall Street Journal, CNN ฯลฯ เราจะพบข้อเขียนที่วิพากษ์กลุ่มอำนาจเก่าของไทยอย่างเข้มข้นมากขึ้นเรื่อยๆ
ฝ่ายอนุรักษ์นิยมมักปลอบใจตัวเองว่าสื่อพวกนี้ถูกทักษิณซื้อไปแล้ว แต่ข้อเท็จจริงคือ สื่อเหล่านี้รังเกียจทักษิณอย่างยิ่งเช่นกัน เขาอาจพูดถึงข้อดีของนโยบายต่างๆ ของทักษิณต่อคนจนและคนชนบท แต่เขามักบรรยายคุณสมบัติของทักษิณว่าเป็นพวกอำนาจนิยม คอรัปชั่นเชิงนโยบาย สงครามต่อต้านยาเสพติดทำให้คนบริสุทธิ์ตายจำนวนมาก ฯลฯ
หก เวลาสหรัฐฯต้องดีลกับประเทศยากๆ สหรัฐฯไม่ใช้วิธีโอ๋เอาใจ แต่จะใช้ทั้งไม้นวมและไม้แข็ง โดยอีกฝ่ายมักต้องแสดงท่าทียอมอ่อนให้ก่อน สหรัฐฯจึงจะใช้ไม้นวมตาม เช่น กรณีเกาหลีเหนือ ยื่นเงื่อนไขการเจรจาว่าเกาหลีเหนือจะยกเลิกการวิจัยนิวเคลียร์เพื่อแลกกับ การที่สหรัฐฯและโลกตะวันตกยกเลิกการคว่ำบาตรทางการทูตและเศรษฐกิจ และให้ความช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจแก่เกาหลีเหนือ แต่เมื่อเกาหลีเหนือปฏิเสธไม่ให้ผู้แทนภายนอกเข้าไปตรวจสอบการดำเนินการของ ตนตามการเงื่อนไขของสหรัฐฯ สหรัฐฯ ก็พร้อมจะยุติการเจรจาเช่นกัน
นอกจากนี้ เมื่อปีที่แล้ว เกาหลีเหนือยังเจรจาทำนองขู่ว่าตนจะยินดียกเลิกการทดลองนิวเคลียร์ หากสหรัฐฯกับเกาหลีใต้ยกเลิกการฝึกซ้อมทางทหารร่วมกัน สหรัฐฯ บอกไม่สน เดินหน้าซ้อมรบกับเกาหลีใต้ต่อไป
สุดท้าย สิ่งที่สหรัฐฯ กังวลเกี่ยวกับไทยก็คือ คนป่วยคนนี้ยังมองหาสาเหตุความเจ็บป่วยของตนเองไม่เจอ แถมยังงมงายอยู่กับแนวทางเผด็จการปนไสยศาสตร์พ่อมดหมอผี หากเป็นที่แน่ชัดว่า ไทยจะไม่มีการเลือกตั้งภายในต้นปีหน้า มีการละเมิดสิทธิของประชาชนด้วยมาตรา 44 อย่างกว้างขวางมากขึ้น ก็อย่าหวังเลยว่าสหรัฐฯ ภายใต้นายเดวีส์ จะหันมาฮันนีมูนกับไทย การกดดันเป็นเครื่องมือเพื่อเข้าถึงจุดหมายที่สหรัฐฯใช้มากกว่าการโอ้โลม ปฏิโลม
คนจำนวนไม่น้อยในประเทศนี้ยังหวังลมๆ แล้ง ๆ ว่าที่ผ่านมาประเทศไทยเจอปัญหามามากมาย ก็เอาตัวรอดมาได้ด้วยดี พระสยามเทวาธิราชจะยังช่วยเราต่อไปแน่ๆ ยังไงเราก็เอาตัวรอด ทะยานกลับมายิ่งใหญ่ได้อีกเหมือนเดิม แต่คนที่เขามองมาจากข้างนอก เขาเชื่อว่า “โชค” ที่ว่านั้น หมดไปนานแล้วค่ะ
เพิ่มเติม
ความเห็นของ อ.พอล แชมเบอร์
ท่านบอกว่า การเสนอให้แต่งตั้งเอกอัครราชทูตตอนนี้ ไม่ว่าจะเป็นใครมาดำรงตำแหน่งก็ตาม เป็นการแสดงการยอมรับความชอบธรรมของคณะรัฐประหารในไทย ไม่ใช่ข่าวดีอะไร อาจารย์หวังว่าทาง Senate ที่มีรีพับลิกันเป็นเสียงส่วนใหญ่ จะไม่รับรองชื่อของเขา
ที่มา https://www.facebook.com/paul.chambers.319/posts/10205245344385943?fref=nf&pnref=story
*****************************************
นายเดวี่ส์ เป็นนักการทูตที่มีประสบการณ์การทำงานในปัญหาด้านความมั่นคงที่สหรัฐฯให้ ความสำคัญสูง เช่น ปัญหาการสะสมอาวุธนิวเคลียร์ โดยเขาเคยเป็นผู้แทนพิเศษ (ฐานะเท่าเอกอัคราชทูต) ประจำสำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ International Atomic Energy Agency (IAEA) จึงทำให้เขาต้องเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับปัญหานิวเคลียร์ของอิหร่าน และต่อมาได้เป็น “ผู้แทนพิเศษของรัฐมนตรีต่างประเทศว่าด้วยนโยบายเกาหลีเหนือ” ซึ่งพยายามคิดค้นอาวุธนิวเคลียร์เช่นกัน
(หมายเหตุ: เขาไม่ได้มีตำแหน่งทูตประจำเกาหลีเหนือ เพราะสหรัฐฯไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการกับเกาหลีเหนือ จึงไม่มีทูตประจำ)
เป็นที่รู้กันว่าทั้งอิหร่านและเกาหลีเหนือเป็นเสมือนกระดูกชิ้นใหญ่ที่ เคี้ยวยากสำหรับสหรัฐฯ เป็นภัยคุกคามต่อนโยบายความมั่นคงของสหรัฐเสมอมา และมีปัญหาประชาธิปไตย ฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่านายเดวีส์ เป็นนักการทูตที่ได้รับมอบหมายให้ทำงานเรื่องสำคัญสำหรับสหรัฐฯ มีประสบการณ์ทำงานกับประเทศยากๆ มาแล้ว การที่สหรัฐฯส่งนายเดวีส์มาไทยจึงชี้ว่าสหรัฐฯ ให้ความสำคัญกับไทยไม่น้อย แต่ก็ต้องไม่หลงละเมอเพ้อพกไปว่า ไทยสำคัญอยู่ประเทศเดียว หรือสำคัญที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนทำให้สหรัฐฯกำลังจะโอนอ่อนผ่อนตามรัฐบาลทหารไทย เพราะกลัวอิทธิพลจีน
แน่นอนว่าสหรัฐฯ ย่อมไม่สบายใจที่เห็นรัฐบาล คสช. พยายามเล่นไพ่จีน (และรัสเซีย ซึ่งกำลังประสบปัญหาเศรษฐกิจอย่างหนัก) เพื่อตอบโต้ที่สหรัฐฯ กดดันเรียกร้องให้ไทยเคารพในหลักการประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน แต่ไม่ได้หมายความว่าความกังวลนี้จะทำให้สหรัฐฯละทิ้งแนวนโยบายของตนจากหน้า มือเป็นหลังมืออย่างทันทีทันใด เพราะอะไร
หนึ่ง ในแง่เศรษฐกิจ นับแต่สงครามเย็นยุติลง ใครๆ ก็มองว่าประเทศไทยจะกลายเป็นศูนย์กลางความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียน ซึ่งอาเซียนมีศักยภาพในการเติบโตสูงมากจนกลายเป็นสาวเนื้อหอมสำหรับนักลงทุน จากทั่วทุกภูมิภาค ความมั่นคงทางการเมืองของไทยจึงสำคัญต่อกระเป๋าเงินของทั้งภูมิภาคและนักลง ทุนทั่วโลก
แต่ความขัดแย้งทางการเมืองที่ผ่านมาจนเกือบจะครบทศวรรษ และยังไม่มีท่าทีจะยุติลงในระยะเวลาอันใกล้ แถมประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนกลับถดถอยลงนับแต่การรัฐประหารโดย คสช. ทำให้นักลงทุนทั้งหลายเริ่มเห็นว่าการฝากความหวังให้ไทยเป็นศูนย์กลาง เศรษฐกิจของภูมิภาค โดยไม่มองหาช่องทางอื่นบ้าง คงไม่ปลอดภัยสำหรับพวกเขาแน่ ฉะนั้น นับแต่ปีที่ผ่านมา เราเริ่มเห็นบรรรษัทใหญ่ๆ เริ่มย้ายฐานการลงทุนอุตสาหกรรมไปยังประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้นๆ
สอง ในแง่เศรษฐกิจ สหรัฐฯสำคัญกับไทยมากกว่าที่ไทยสำคัญต่อสหรัฐฯ สหรัฐฯเป็นหนึ่งในสามตลาดที่ใหญ่ที่สุดของสินค้าไทย แค่สหรัฐฯและอียูประกาศลดระดับสถานะประเทศที่ป้องกันการค้ามนุษย์ของไทย จากระดับ 2 ไปเป็นระดับ 3 ก็ทำให้เจ้าหน้าที่ไทยเต้นเป็นจ้าวเข้าได้
ไม่มีใครรับประกันได้ว่าหากปีหน้า ประเทศไทยยังไม่มีเลือกตั้งเสียที เราจะเจอกับมาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจจากสหรัฐฯด้วยหรือไม่ เพราะขณะนี้ทั่วโลกรู้ดีว่าเศรษฐกิจไทยกำลังวิกฤติ และเชื่อว่าจะส่งผลต่อเสถียรภาพของรัฐบาลทหาร ซึ่งที่ผ่านมา ผู้เชี่ยวชาญอเมริกัน เช่น Joshua Kurlantzick ก็ได้เสนอให้สหรัฐฯ เพิ่มมาตรการกดดันทางเศรษฐกิจต่อรัฐบาลทหารไทย เพราะเชื่อว่าจะทำให้แรงกดดันในประเทศเพิ่มสูงขึ้นแน่นอน
สาม ในแง่การทหาร ไทยกับสหรัฐฯมีความสัมพันธ์แนบแน่นมาตั้งแต่ยุคจอมพลสฤษดิ์ ในปัจจุบันก็ยังมีข้อตกลงความร่วมมือด้านการทหารหลายฉบับ หนึ่งในข้อตกลงที่สำคัญคือ คอบร้าโกลด์ อันเป็นการฝึกร่วมทางทหารที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย-แปซิฟิค โดยไทยเป็นฐานสำหรับการฝึกซ้อมร่วม แต่พอรัฐประหารปุ๊บ สหรัฐฯก็ประกาศ “ลดระดับ” การฝึกซ้อมกับไทย ให้เหลือแค่การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและภัยธรรมชาติ และยังส่งสัญญาณว่าอาจพิจารณาย้ายที่ฝึกซ้อมร่วมไปออสเตรเลียแทน
นอกจากนี้ สหรัฐมองว่าการแอบอิงจีนไม่สามารถตอบสนองความต้องการด้านอาวุธของกองทัพไทย ได้อย่างน่าพึงพอใจ เพราะเทคโนโลยี่ด้านอาวุธของสหรัฐฯนั้นมีเหนือกว่าจีนมา แง่นี้แปลว่า เราต้องการสหรัฐฯ มากกว่าที่สหรัฐฯต้องการเรา
อันที่จริงในแง่การทหาร นับแต่สงครามเย็นยุติลง บทบาทของสิงคโปร์ด้านความร่วมมือด้านการทหาร ได้โดดเด่นขึ้นมาแทนที่ฟิลิปปินส์ นับแต่ปี 1992 สิงคโปร์เปิดและพัฒนาฐานทัพของตน เป็นฐานโลจิสติคส์ให้กับกองเรือรบที่ 7 (หน่วยรบนอกประเทศที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ ทำงานประสานกับฐานทัพทหารสหรัฐฯในญี่ปุ่นและเกาหลีใต้) และกองทัพอากาศของสหรัฐฯ
นอกจากนี้ ยังมีแนวโน้มว่าฟิลิปปินส์อาจเปิดฐานทัพของสหรัฐฯ อีกครั้งหนึ่ง เพื่อคานอำนาจทางทหารกับจีน อันเนื่องมาจากข้อพิพาทเขตแดนในทะเลจีนใต้
สี่ นับแต่สงครามเย็นยุติลง ภัยคอมมิวนิสต์ยุติลง สหรัฐฯและยุโรปเริ่มใช้มาตรการสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย มาดำเนินความสัมพันธ์กับพันธมิตรทั้งเก่าและใหม่ของตนมากขึ้น เพื่อสถาปนาภาพลักษณ์ของผู้นำเสรีนิยม แต่ทั้งนี้ ไม่ได้หมายความว่าสหรัฐฯ จะต้องใช้หลักการนี้อย่างเท่าเทียมกับทุกประเทศ มันขึ้นกับการประเมินว่าแนวทางไหนกับประเทศใดที่จะทำให้เขาได้ประโยชน์สูง สุด ในกรณีของไทย ปัจจุบันยังไม่มีภัยคุกคามที่น่ากลัวจนทำให้สหรัฐฯต้องละทิ้งหลักการ ปชต.แล้วหันมาจูบปากกับรัฐบาลทหาร แบบที่เคยเกิดขึ้นในยุคคอมมิวนิสต์มาแล้ว
ห้า ความขัดแย้งทางการเมืองที่ยืดเยื้อนับแต่รัฐประหารปี 2549 ดูเหมือนจะทำให้ผู้นำสหรัฐฯ เริ่มเปลี่ยนทัศนคติที่เคยมีต่อชนชั้นนำ-กลุ่มอำนาจเก่าของไทยอย่างมีนัย สำคัญ
ในอดีต ความร่วมมือระหว่างไทยกับสหรัฐฯ กระทำผ่านกลุ่มชนชั้นอนุรักษ์นิยมเป็นหลัก เพราะมีจุดยืนต่อต้านคอมมิวนิสต์ร่วมกัน และสหรัฐฯมองว่ากลุ่มนี้คือ ผู้กุมอำนาจและกำหนดทิศทางการเมืองไทยเป็นหลัก ทำให้การเมืองมีเสถียรภาพได้อย่างน่าพอใจ แม้จะมีรัฐประหารบ่อย แต่เสถียรภาพทางการเมืองก็ไม่ได้ถูกสั่นคลอนจริงๆ การร่วมมือกับคนชนช้ำนำอนุรักษ์นิยม ไม่เพียงตอบสนองผลประโยชน์ของสหรัฐฯอย่างราบรื่น แต่ยังรับได้ในเชิงหลักการด้วย (หลักการต่อต้านคอมฯ)
แต่ปัจจุบัน สหรัฐฯ เริ่มตระหนักว่ากลุ่มอำนาจเก่าของไทยคือ หนึ่งในสาเหตุของปัญหาที่ยืดเยื้อ นั่นคือ การปฏิเสธไม่ยอมรับกติกาการเมืองประชาธิปไตย ไม่เคารพเสียงส่วนใหญ่ของประเทศ เหยียบย่ำหลักการหนึ่งสิทธิหนึ่งเสียงของประชาชน เอาชนะฝ่ายทักษิณไม่ได้ ก็หันใช้ตุลาการภิวัตน์ ก่อม๊อบปิดหน่วยราชการเพื่อสร้างภาวะ failed state ไปจนถึงทำรัฐประหาร แม้จนกำลังจะกลายเป็นคนป่วยแห่งเอเชีย ก็ยังไม่มีท่าทีว่ากลุ่มอำนาจเก่าจะยอมปรับเปลี่ยนหรือเรียนรู้ข้อผิดพลาด ของตนแต่ประการใด ยังคงเดินหน้าใช้อำนาจกดปราบประชาชน ช่วยกัน เขียนรธน. เพื่อใช้เป็นเครื่องมือกดเสียงส่วนใหญ่ของประเทศต่อไป โดยไม่ไยดีต่อความคับแค้นของประชาชนเสียงข้างมากของประเทศที่รอวันเอาคืนแต่ ประการใดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จากที่ได้เคยพูดคุยกับนักการทูตจากตะวันตกหลายประเทศ ดิฉันพบว่านี่คือมุมมองหลักที่พวกเขามีในปัจจุบัน
นอกจากนี้ สื่อมวลชนใหญ่ๆของโลกยังมีผลต่อมุมมองของรัฐบาลในประเด็นปัญหาสำคัญๆด้วย หากเรากลับไปอ่านสื่อใหญ่ๆ เช่น New York Times, BBC, the Economist, Wall Street Journal, CNN ฯลฯ เราจะพบข้อเขียนที่วิพากษ์กลุ่มอำนาจเก่าของไทยอย่างเข้มข้นมากขึ้นเรื่อยๆ
ฝ่ายอนุรักษ์นิยมมักปลอบใจตัวเองว่าสื่อพวกนี้ถูกทักษิณซื้อไปแล้ว แต่ข้อเท็จจริงคือ สื่อเหล่านี้รังเกียจทักษิณอย่างยิ่งเช่นกัน เขาอาจพูดถึงข้อดีของนโยบายต่างๆ ของทักษิณต่อคนจนและคนชนบท แต่เขามักบรรยายคุณสมบัติของทักษิณว่าเป็นพวกอำนาจนิยม คอรัปชั่นเชิงนโยบาย สงครามต่อต้านยาเสพติดทำให้คนบริสุทธิ์ตายจำนวนมาก ฯลฯ
หก เวลาสหรัฐฯต้องดีลกับประเทศยากๆ สหรัฐฯไม่ใช้วิธีโอ๋เอาใจ แต่จะใช้ทั้งไม้นวมและไม้แข็ง โดยอีกฝ่ายมักต้องแสดงท่าทียอมอ่อนให้ก่อน สหรัฐฯจึงจะใช้ไม้นวมตาม เช่น กรณีเกาหลีเหนือ ยื่นเงื่อนไขการเจรจาว่าเกาหลีเหนือจะยกเลิกการวิจัยนิวเคลียร์เพื่อแลกกับ การที่สหรัฐฯและโลกตะวันตกยกเลิกการคว่ำบาตรทางการทูตและเศรษฐกิจ และให้ความช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจแก่เกาหลีเหนือ แต่เมื่อเกาหลีเหนือปฏิเสธไม่ให้ผู้แทนภายนอกเข้าไปตรวจสอบการดำเนินการของ ตนตามการเงื่อนไขของสหรัฐฯ สหรัฐฯ ก็พร้อมจะยุติการเจรจาเช่นกัน
นอกจากนี้ เมื่อปีที่แล้ว เกาหลีเหนือยังเจรจาทำนองขู่ว่าตนจะยินดียกเลิกการทดลองนิวเคลียร์ หากสหรัฐฯกับเกาหลีใต้ยกเลิกการฝึกซ้อมทางทหารร่วมกัน สหรัฐฯ บอกไม่สน เดินหน้าซ้อมรบกับเกาหลีใต้ต่อไป
สุดท้าย สิ่งที่สหรัฐฯ กังวลเกี่ยวกับไทยก็คือ คนป่วยคนนี้ยังมองหาสาเหตุความเจ็บป่วยของตนเองไม่เจอ แถมยังงมงายอยู่กับแนวทางเผด็จการปนไสยศาสตร์พ่อมดหมอผี หากเป็นที่แน่ชัดว่า ไทยจะไม่มีการเลือกตั้งภายในต้นปีหน้า มีการละเมิดสิทธิของประชาชนด้วยมาตรา 44 อย่างกว้างขวางมากขึ้น ก็อย่าหวังเลยว่าสหรัฐฯ ภายใต้นายเดวีส์ จะหันมาฮันนีมูนกับไทย การกดดันเป็นเครื่องมือเพื่อเข้าถึงจุดหมายที่สหรัฐฯใช้มากกว่าการโอ้โลม ปฏิโลม
คนจำนวนไม่น้อยในประเทศนี้ยังหวังลมๆ แล้ง ๆ ว่าที่ผ่านมาประเทศไทยเจอปัญหามามากมาย ก็เอาตัวรอดมาได้ด้วยดี พระสยามเทวาธิราชจะยังช่วยเราต่อไปแน่ๆ ยังไงเราก็เอาตัวรอด ทะยานกลับมายิ่งใหญ่ได้อีกเหมือนเดิม แต่คนที่เขามองมาจากข้างนอก เขาเชื่อว่า “โชค” ที่ว่านั้น หมดไปนานแล้วค่ะ
เพิ่มเติม
ความเห็นของ อ.พอล แชมเบอร์
ท่านบอกว่า การเสนอให้แต่งตั้งเอกอัครราชทูตตอนนี้ ไม่ว่าจะเป็นใครมาดำรงตำแหน่งก็ตาม เป็นการแสดงการยอมรับความชอบธรรมของคณะรัฐประหารในไทย ไม่ใช่ข่าวดีอะไร อาจารย์หวังว่าทาง Senate ที่มีรีพับลิกันเป็นเสียงส่วนใหญ่ จะไม่รับรองชื่อของเขา
ที่มา https://www.facebook.com/paul.chambers.319/posts/10205245344385943?fref=nf&pnref=story
No comments:
Post a Comment