กรณีการก่อสร้างรถไฟ มีคนสงสัยว่า จะทำรางขนาดไหนดี จะทำรางขนาดเดิม 1.067 เมตร ที่ประเทศเราใช้อยู่หรือว่า 1.435 เมตร เพื่อทำเป็นรถไฟความเร็วสูง มันเหมือนจะมีคำตอบที่เราไม่ต้องเลือกว่า จะทำแบบไหนคือ รางแบบ Dual track ที่เป็นทางรถไฟที่วิ่งได้สองขนาดพร้อมกัน ทั้ง 1.067 และ 1.435 เมตร มีตัวอย่างที่ ชายแดน จีน เวียตนาม ฟังเหมือนดูดี แต่มีผู้รู้แย้งมาดังด้านล่างนี้
Lunlaius Chobphol ให้ความเห็นว่า
"แบบ นี้ไม่ดีครับ วิ่งจริงวิ่งได้ไม่เร็วมากแค่120ก็สุดแล้วมั้ง เวลาวิ่งผ่านประแจทางแยกวิ่งเร็วๆรถเสี่ยงที่จะตกราง ทางแบบนี้ที่จีน-เวียดนาม มีแค่จากเมืองชายแดนจีน-ฮานอยครับ เพราะเวียดนามใช้ราง1เมตร จีนใช้ราง1.435
ถ้าดีจริงประเทศในยุโรปเค้าใช้กันแล้ว อย่างสเปน และโปรตุเกสใช้รางขนาดกว้างกว่ารางที่ประเทศยุโรปตะวันตกใช้ หลังๆสเปนก็ต้องมาสร้างราง1.435 เพื่อเชื่อมกับฝรั่งเศส หรือรัสเซียใช้รางกว้างกว่ายุโรป เวลานั่งรถไฟจากยุโรปเข้ารัสเซีย ขบวนรถก็ต้องเปลี่ยนแคร่ล้อเสียก่อน จำไม่ได้ว่าเปลี่ยนที่เขตรัสเซียหรือโปแลนด์
ในญี่ปุ่นที่รถไฟระบบเดิมใช้ราง1.067เมตร พอสร้างรถไฟความเร็วสูงใช้ราง1.435 ก็ไม่มีโครงการไหนใช้dual track แบบนี้ครับ
อีก ตัวอย่างคืออินเดียใช้ราง2ขนาด แตกต่างกันตามแคว้นต่างๆ เป็นผลจากนโยบายแบ่งแยกกันปกครองสมัยอาณานิคม ปัจจุบันอินเดียก็ต้องมาทุ่มงบประมาณเปลี่ยนขนาดรางให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ทั่วประเทศตามโครงการunigauge ไม่ได้ใช้dual trackแบบนี้
ราง ที่รฟท.ใช้ปัจจุบัน(และที่กำลังทยอยเปลี่ยนรางเก่าทั่วประเทศอยู่) เอารถดีเซลรางมาวิ่ง วิ่งได้ถึง120ครับถ้าใช้หัวรถจักรไม่ได้พ่วงหนักมากก็วิ่งได้120 เช่นกัน
แต่ จะวิ่ง120 ต้องซื้อรถโดยสารใหม่ด้วย เพราะแคร่ล้อรถโดยสารจำนวนมากของรฟท.ในปัจจุบันยังวิ่งได้ไม่เกิน90อยู่เลย ครับ(ดูจากตัวเลขที่เขียนไว้ท้ายแต่ละตู้รถโดยสาร)
รฟท.-คมนาคม ไทยคิดช้ามากครับ มาเลเซียเค้าสร้างทางคู่(ราง1เมตร)ที เค้าลงทุนเปลี่ยนไปใช้ระบบไฟฟ้า-ระบบอาณัติสัญญาณใหม่ ตัดทางใหม่ให้ตรงขึ้นกันหลายช่วงเลย แก้ปัญหาเรื่องจุดตัดเสมอระดับ ทำอาคารสถานีใหม่ให้ทันสมัย ทำทีครบวงจรเลย แต่ก็เป็นหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นพอสมควรเช่นกัน
โครงการ ทางคู่ราง1เมตรของไทยคล้ายๆกัน แต่ไม่มีระบบไฟฟ้า ส่วนระบบอาณัติสัญญาณไฟสีแยกโครงการกัน อย่างไรก็ตามงบประมาณที่จะใช้ของไทยต่ำกว่ามาเลเซียอย่างน้อยๆครึ่งนึงครับ"
ที่มา จากความเห็นในเพจ https://www.facebook.com/terasphere?fref=nf
Lunlaius Chobphol ให้ความเห็นว่า
"แบบ นี้ไม่ดีครับ วิ่งจริงวิ่งได้ไม่เร็วมากแค่120ก็สุดแล้วมั้ง เวลาวิ่งผ่านประแจทางแยกวิ่งเร็วๆรถเสี่ยงที่จะตกราง ทางแบบนี้ที่จีน-เวียดนาม มีแค่จากเมืองชายแดนจีน-ฮานอยครับ เพราะเวียดนามใช้ราง1เมตร จีนใช้ราง1.435
ถ้าดีจริงประเทศในยุโรปเค้าใช้กันแล้ว อย่างสเปน และโปรตุเกสใช้รางขนาดกว้างกว่ารางที่ประเทศยุโรปตะวันตกใช้ หลังๆสเปนก็ต้องมาสร้างราง1.435 เพื่อเชื่อมกับฝรั่งเศส หรือรัสเซียใช้รางกว้างกว่ายุโรป เวลานั่งรถไฟจากยุโรปเข้ารัสเซีย ขบวนรถก็ต้องเปลี่ยนแคร่ล้อเสียก่อน จำไม่ได้ว่าเปลี่ยนที่เขตรัสเซียหรือโปแลนด์
ในญี่ปุ่นที่รถไฟระบบเดิมใช้ราง1.067เมตร พอสร้างรถไฟความเร็วสูงใช้ราง1.435 ก็ไม่มีโครงการไหนใช้dual track แบบนี้ครับ
อีก ตัวอย่างคืออินเดียใช้ราง2ขนาด แตกต่างกันตามแคว้นต่างๆ เป็นผลจากนโยบายแบ่งแยกกันปกครองสมัยอาณานิคม ปัจจุบันอินเดียก็ต้องมาทุ่มงบประมาณเปลี่ยนขนาดรางให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ทั่วประเทศตามโครงการunigauge ไม่ได้ใช้dual trackแบบนี้
ราง ที่รฟท.ใช้ปัจจุบัน(และที่กำลังทยอยเปลี่ยนรางเก่าทั่วประเทศอยู่) เอารถดีเซลรางมาวิ่ง วิ่งได้ถึง120ครับถ้าใช้หัวรถจักรไม่ได้พ่วงหนักมากก็วิ่งได้120 เช่นกัน
แต่ จะวิ่ง120 ต้องซื้อรถโดยสารใหม่ด้วย เพราะแคร่ล้อรถโดยสารจำนวนมากของรฟท.ในปัจจุบันยังวิ่งได้ไม่เกิน90อยู่เลย ครับ(ดูจากตัวเลขที่เขียนไว้ท้ายแต่ละตู้รถโดยสาร)
รฟท.-คมนาคม ไทยคิดช้ามากครับ มาเลเซียเค้าสร้างทางคู่(ราง1เมตร)ที เค้าลงทุนเปลี่ยนไปใช้ระบบไฟฟ้า-ระบบอาณัติสัญญาณใหม่ ตัดทางใหม่ให้ตรงขึ้นกันหลายช่วงเลย แก้ปัญหาเรื่องจุดตัดเสมอระดับ ทำอาคารสถานีใหม่ให้ทันสมัย ทำทีครบวงจรเลย แต่ก็เป็นหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นพอสมควรเช่นกัน
โครงการ ทางคู่ราง1เมตรของไทยคล้ายๆกัน แต่ไม่มีระบบไฟฟ้า ส่วนระบบอาณัติสัญญาณไฟสีแยกโครงการกัน อย่างไรก็ตามงบประมาณที่จะใช้ของไทยต่ำกว่ามาเลเซียอย่างน้อยๆครึ่งนึงครับ"
ที่มา จากความเห็นในเพจ https://www.facebook.com/terasphere?fref=nf
No comments:
Post a Comment