Tuesday, July 14, 2015

Research makes difference

จากรีวิว ใน วารสาร Science  ฉบับ 10 กค 2015 เรื่องเศรษฐศาสตร์ ได้สรุปว่า อีลิตจำนวนน้อยที่ผลิตงานออกมามากๆ ช่วยให้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมใน คริสตศตวรรษที่ 18

INTELLECTUALS AND THE RISE OF THE MODERN ECONOMY
http://www.sciencemag.org/content/349/6244/141.full?utm_campaign=email-sci-toc&utm_src=email

เขารีวิวจาก งานวิจัย ของ  Mara P. Squicciarini และ Nico Voigtländer
http://www.nber.org/papers/w20219


งานวิจัยทางเศรษฐศาสตร์งานนี้ ศึกษา ความสัมพันธ์ของค่าต่างๆกับการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจในการปฏิวัติอุตสาหกรรมในคริสตศตวรรษที่ 18 แล้วพบว่า

ปัจจัยทางด้านมนุษย์ ที่ก่อให้เกิด ปฏิวัติอุตสาหกรรม ไม่ใช่ การที่คนทั่วไปจำนวนมาก สามารถอ่านออกเขียนได้เพิ่มขึ้น อย่างที่ มาร์กซิสต์หรือปัญญาชนส่วนใหญ่คิด แต่เป็นการที่อีลิตจำนวนน้อยที่สามารถเขียนอ่านงานซับซ้อนสร้างผลงานออกมาจำนวนมากเป็นพื้นฐานทางวัฒนธรรมสำหรับ การปฏิวัติอุตสาหกรรม

อย่างไรก็ตาม เปเปอร์นี้ก็ต้องระวังการตีความผิดไปว่า ต้องเป็นชนชั้น อีลิตเท่านั้นที่สร้างงานสร้างเศรษฐกิจ ต้องอุดหนุนชนชั้นนี้ให้มากที่สุ่ด เพราะในปัจจุบัน อีลิตมันมีแค่ 1 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น เป็น trickle-down economics ที่โครงสร้างมันผิด เอาอำนาจกับความร่ำรวยไปให้แค่ 1% ด้านบน ซึ่งรวยอยู่แล้วเก่งอยู่แล้ว โดยไม่แบ่งชนชั้นล่างลงมาบ้าง มันจะซวยเอา

สิ่งที่เรานำไปได้จากเปเปอร์นี้ คือ การพัฒนาความคิดซับซ้อน จนสร้างนวัตกรรมใหม่ๆให้ได้
ถ้าที่เปเปอร์นี้กล่าวเป็นจริง แล้วลองนำมาประยุกต์กับเหตุการณ์ปัจจุบันที่คนชั้นกลางเป็นชนชั้นมีความรู้หลักของสังคม จะพบว่า การสร้างชาติถึงขั้นเปลี่ยนคุณภาพประเทศ คือการสร้างคนที่ไม่จำเป็นต้องถึงขั้นเป็นอีลิตชั้นสูง แค่ระดับคนชั้นกลางก็พอ แต่เป็นการพัฒนาคนชั้นกลางที่มีคุณภาพ สามารถอ่านเขียน วิเคราะห์งานที่ซับซ้อนได้ ซึ่งสามารถต่อยอดสร้างสรรค์นวัตกรรมต่างๆขึ้นมา เป็นการสร้างวัฒนธรรมที่เป็นที่รองรับอนาคต ถ้าทำได้ก็จะเกิดการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดไปทุกวงการ ไม่ว่าจะเศรษฐกิจ หรือ ระบอบการปกครอง เช่น ประชาธิปไตย จะงอกงามจากสังคมอุดมปัญญาเช่นนี้เท่านั้น


มีเกร็ดที่น่าสนใจ ว่า ในสมัยพระนารายณ์มหาราช สยามเจริญเฟื่องฟู เข้มแข็งทั้งวิชาการและการเงิน จนสามารถผลิตปืนใหญ่อยุธยา ให้ได้รับการยอมรับจากโชกุนของญี่ปุ่นถึงคุณภาพและสมรรถนะ และสามารถส่งไปช่วยฝรั่งเศสปฏิวัติได้ (พอดีวันที่ 14 กค พอดี ที่เขียน)


ทั้งนี้ คงเป็นผลมาจากการเรียนรู้และการตกผลึกทางวิทยาการจากตะวันตกนั่นเอง แต่เสียดายว่า จากการรัฐประหารของ พระเพทราชา ทำให้เกิดการไล่ต่างชาติออกไป ไม่มีการต่อยอดและพัฒนาวิทยาการเหล่านี้ในช่วงอยุธยาตอนปลายและต่อมาจนต้นยุครัตนโกสินทร์จึงทำให้รัฐสยามไม่สามารถปฏิวัติตัวเองเข้าสู่ความเป็นอุตสาหกรรมอันเป็นพื้นฐานของการเป็นมหาอำนาจนั่นเองครับ

(เครดิต คุณ Danai Bawornkiattikul ในคอมเม้นต์ของ https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10152147870996954&set=a.430946001953.211467.719626953&type=1&hc_location=ufi )

ซึ่งมันก็น่าเสียดายจนถึงปัจจุบันที่เมืองไทย คนพออ่านออกเขียนได้ แต่ขาดความรู้ มีความยับยั้งชั่งใจ ดูขนาดงานของนาซ่า ที่เกี่ยวกับรายงาน
breakthrough ภาพดาวพลูโตจากยาน
New Horizon ที่ใช้เวลาถึง 9 ปีในการไปเก็บรูปนี้  คนไทยที่พอเล่นคอมได้ ยังไปเกรียนจนเละเทะมาแล้ว ดูที่ลิงก์นี้
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10204163114470105&set=a.1160978076644.2021739.1593591073&type=1&theater

ยิ่งสถานการณ์ปัจจุบัน ประเทศ โดน รัฐประหารชัทดาวน์ เพื่อแช่แข็งประเทศ เช่นเดียวกับสมัยพระเพทราชา ความอิสระทางความคิดไม่มี ความเชื่อมั่นในอนาคตไม่มี คนก็ไม่กล้าคิด ใช้ชีวิตไปวันๆ ก็ลืมได้เลยเรื่องนวัตกรรมใหม่ๆ ที่จะสร้างชาติสำหรับอนาคต ในระดับชาติจากรัฐ เราขาดจุดตรงนี้ไปแล้ว เราก็หวังว่า อย่างน้อย ภาคเอกชนไทย ชาวบ้านชาวช่องไทยจะ ไม่หลับใหล ค่อยๆกันทำงาน สร้างสรรค์นวัตกรรมขึ้นมา โดยไม่ต้องพึ่งพารัฐ เผื่อในภายภาคหน้าที่ บรรยากาศผ่อนคลาย เอื้อต่อการใช้ปัญญา ประเทศจะได้ใช้ตรงนี้ในการเติบโตได้ทันที

การที่เราต้องสร้างความรู้ไว้ เป็นสิ่งสำคัญมาก หวังว่าจะมีคนธรรมดาทั่วไป ที่หวังจะเปลี่ยนแปลงประเทศไทยเหลืออยู่ ทีทำงานกันเต็มที่ สุดท้ายนี้ขอฝากคติเตือนใจจาก
มากาเร็ต มีด นักมนุษยวิทยาชาวอเมริกัน ว่า
อย่าสงสัยเลยว่า พลเมืองที่ช่างคิดและจริงจังเท่านั้นแหละที่เปลี่ยนแปลงโลกได้ เพราะที่ผ่านมาก็ไม่มีคนกลุ่มอื่นทำได้

No comments: